หลายคนรู้จัก ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ หรือ มาดามฟอลคอน จากละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งเธอคนนี้นี่เองเป็นผู้คิดค้นสูตรขนมไทย ตระกูลทอง ไม่ว่าจะเป็นทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง แล้วรู้หรือไม่สูตรขนมตระกูลทองที่ว่านี้ ไม่ได้มีต้นกำเนิดในประเทศไทย
เว็บไซต์ www.silpa-mag.com เผยแพร่เรื่อง สูตรขนมไทย ท้าวทองกีบม้าไม่ได้กำเนิดในสยาม? ความตอนหนึ่งระบุว่า ปรามินทร์ เครือทอง เขียนเรื่อง “ท้าวทองกีบม้า ได้ “สูตรขนมไทย” ทองหยิบ ฝอยทองจากโปรตุเกส หรือญี่ปุ่น?” ไว้ในหนังสือการเมืองในประวัติศาสตร์ “ขนมหวาน” ของ ท้าวทองกีบม้า “มาดามฟอลคอน” “ขนมไทย” หรือ “ขนมเทศ” สำนักพิมพ์มติชน ๒๕๔๖ ไว้ว่า ชีวิตช่วงหนึ่งของท้าวทองกีบม้าตกอับ จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๒๓๓ ได้รับอนุญาตให้มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านโปรตุเกส และถูกบังคับให้ทำอาหารหวานส่งเข้าวังตามอัตราที่กำหนด เรื่องนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกด้วยเนื้อหาที่แตกต่างกันในออกไป
แม้บันทึกในช่วงนี้จะไม่ตรงกันนัก แต่ก็รับได้ว่า ท้าวทองกีบม้าเคยไปทำงานในวังจริง และเป็นคนทำขนมหวานตำรับโปรตุเกส เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง จนเป็นสูตรให้คนทำสืบเนื่องต่อกันมาถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ เรโกะ ฮาดะ (Reiko Hada) ตั้งข้อสังเกตโดยเขียนบทความชื่อ Madame Marie Guimard Under the Ayudhya Dynasty of the Seventeenth Century ลงในวารสารสยามสมาคม (J.S.S., V.80, Part I,1992) ว่า ที่จริงท้าวทองกีบม้าได้สูตร หรือถูกสอนให้ทำขนมมาจากแม่ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น เนื่องจากเมื่อครั้งที่ชาวโปรตุเกสเข้าไปในญี่ปุ่นมากขึ้น ก็ได้สอนให้ชาวญี่ปุ่นหัดทำขนมโปรตุเกส ซึ่งปัจจุบันขนมญี่ปุ่นหลายชนิดก็เป็นตำรับโปรตุเกส ขนมญี่ปุ่นบางอย่างมีลักษณะเหมือนฝอยทอง ยังคงทำกันอยู่ที่เกียวโตและคิวชู ในประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ซึ่งตามความเห็นของฮาดะน่าจะหมายถึงขนมที่มีชื่อว่า “เครันโชเมน”
หากเป็นเช่นนี้จริง เท่ากับว่าขนมไทยสูตรท้าวทองกีบม้า คือสูตรขนมญี่ปุ่นตำรับโปรตุเกส ที่ญาติพี่น้องของท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดสืบต่อกันมา ไม่ใช่ถิ่นกำเนิดในสยาม!
ส่วนใครที่อยากได้สูตรอร่อย ขนมไทยตำรับท้าวทองกีบม้าต้องเรียน หลักสูตรขนมเครื่องทองไทยมงคล (ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน) สอนโดย อ.เต็มสิริ รังหอม วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565 ราคา 2,140 บาท
รายละเอียด : https://bit.ly/3FcJ55y
📌 สนใจติดต่อ มติชนอคาเดมี
📱 08-2993-9097
📱 08-2993-9105
💻Inbox Facebook : Matichon Academy – มติชนอคาเดมี
✳️ line : @matichonacademy