ซีพีจับมือสหรัฐฯ ดันไทย “ครัวของโลก” ภาค 2

ประชาสัมพันธ์

นโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งสมัยนั้นรัฐบาลไทยเชื่อว่าจะสามารถผลักดันให้สินค้าเกษตรมีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ โดยกำหนดเป้าหมายสำคัญคือ “การเป็นครัวของโลก” เนื่องจากไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ และอาหารไทยยังมีชื่อเสียงระดับโลก เป็นที่นิยมของคนต่างชาติ  อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวยังไม่ประสบผลสำเร็จมากเท่าที่ควร และรัฐบาลยังคงหาทางผลักดันเพื่อให้ไทยบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดสถานการณ์โรคโควิด-19 ไม่เพียงแต่เศรษฐกิจในประเทศหยุดชะงัก เศรษฐกิจโลกก็ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า

ดังนั้น  เพื่อรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังดิ่งลดต่ำลงเรื่อยๆ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดเสวนาเรื่อง  “Select USA: Helping Thai Companies Go Global” โดยเชิญภาคเอกชนไทยที่มีบทบาทลงทุนในต่างประเทศมาร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะ และประสบการณ์ในการเข้าไปดำเนินธุรกิจในสหรัฐอเมริกา งานดังกล่าวจัดขึ้นที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ทั้งยังรับชมผ่านระบบออนไลน์ ได้ด้วย

นายบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต ประธานธุรกิจ-สหรัฐอเมริกา เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมเสวนา “Case Studies of Global Expansion – Lessons Learned” ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนการขยายตัวของภาคเอกชนไทยสู่การลงทุนระดับโลก โดยมี นายไมเคิล จอร์จ ดีซอมบรี เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายไมเคิล กล่าวเบื้องต้นถึงการจัดเสวนา ว่าองค์กรธุรกิจไทยจำนวนไม่น้อยได้ขยายการลงทุนไปสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงอยากเชิญธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จ มีวิสัยทัศน์ และมีบทบาทในระดับโลก ร่วมกันนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ของภาคเอกชนไทยมาแลกเปลี่ยนมุมมองหลังวิกฤตโควิด-19 เพื่อจะได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนธุรกิจในระดับโลก ควบคู่ไปกับความยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งเป็นความหวังในปี ค.ศ. 2021 นี้ 

จากนั้นนายบุญชัย โอภาสเอี่ยมลิขิต จากซีพี กล่าวว่า ตัวเลขการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2549-2562 ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จาก 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นเป็น 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับบริษัทไทยในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจในระดับโลก  สหรัฐฯ มีหลายมลรัฐและมีกฎกติกาข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันไป  จึงเป็นเรื่องที่นักลงทุนจำเป็นต้องให้ความสนใจ เพราะนำมาซึ่งการขยายการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ จากประสบการณ์ของซีพีในการกระจายการลงทุนใน 23 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานมากกว่า 350,000 คน  สิ่งสำคัญคือจะต้องวิเคราะห์การลงทุนทั้งก่อนและหลังที่จำเป็นทั่วโลก รวมทั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรจะต้องสอดคล้องกับการขยายการลงทุนในธุรกิจต่างแดนนั้นด้วย โดยเครือซีพี เลือกลงทุนในสหรัฐฯ ด้วยเหตุผลหลัก

 

03

คือ 1.สหรัฐเป็นประเทศที่มี GDP มากที่สุดในโลก และส่งผลให้มีตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก 2.เมื่อมองถึงอุตสาหกรรมอาหารที่เป็นธุรกิจหลักของซีพี สอดคล้องกับในพื้นที่แถบตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ที่มีการปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองมาก ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับอุตสาหกรรมอาหารของซีพี  3.สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งซีพีให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีและเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ขององค์กร

นายบุญชัย กล่าวต่อว่า ซีพีได้เข้าไปลงทุนในสหรัฐโดย บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  เข้าซื้อหุ้น 100% ด้วยเม็ดเงิน 38,000 ล้านบาท ของบริษัท เบลลิซิโอ ฟู้ด อิ้งค์ (Bellisio) ผู้นำด้านการผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2559  และเป็นการรองรับเทรนด์อาหารแช่แข็งทั่วโลก ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของซีพี และเป็นหนึ่งในเป้าหมาย Kitchen of The World ที่นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพี ประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2542

นอกจากการเข้าซื้อกิจการแล้ว ซีพียังได้สร้างธุรกิจใหม่อีก 2 แห่งในรัฐเท็กซัสและฟลอริด้าอีกด้วย ซึ่งรูปแบบดำเนินธุรกิจของซีพีในสหรัฐฯ นั้น ให้ความสำคัญกับการต้องเข้าใจวิถีคนอเมริกัน ทำความเข้าใจด้านพฤติกรรม ทัศนคติและวัฒนธรรมอเมริกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจการทำธุรกิจแบบอเมริกัน อย่างกรณีเบลลิซิโอนั้น ซีพีจ้างพนักงานสัญชาติอเมริกันทั้งหมด 2,000 คน  มีคนไทยเพียง 5 คนเท่านั้น ซึ่งทีมงานนี้สามารถช่วยเราสร้างธุรกิจใหม่ หรือ Greenfield Business ได้  ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนไปยังต่างประเทศของซีพีได้ปรับใช้มาจากประสบการณ์ในไทยก่อน ด้วยการขยายธุรกิจให้เติบโต

จากนั้นเร่งสปีดเพื่อให้เกิดการขยายตลาดอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ คือการเข้าไปสร้างประโยชน์ต่อประเทศที่เราเข้าไปดำเนินธุรกิจ ลำดับต่อมาคือประโยชน์ต่อประชาชนในประเทศนั้นๆ และสุดท้ายจึงเป็นประโยชน์ต่อองค์กร