แน่นอนว่าในการทำอาหารพวกปิ้ง ย่าง ทั้งหลาย ที่ขาดไม่ได้เลยคือ “ถ่านไม้” โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ถ่านไม้ยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญ อีกทั้งในประเทศยังมีจังหวัดที่ผลิตถ่านไม้ขายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนจำนวนมาก
ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ถ่านเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาแง่มุมที่หลากหลายของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่อาหารและการผลิตสาเก ไปจนถึงการตีดาบ ยารักษาโรค และการแต่งหน้า เป็นแหล่งพลังงานที่กระตุ้นให้เกิดการสำแดงวัฒนธรรมทางวัตถุที่งดงามที่สุดของญี่ปุ่น เช่น พระใหญ่สำริดที่วัดโทไดจิในนารา ซึ่งเชื่อว่าการหล่อต้องใช้ถ่านในปริมาณมากที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์
ในชีวิตประจำวันมักใช้ถ่านในการให้ความร้อนและปรุงอาหาร จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ บ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมเคยเป็นห้องส่วนกลางที่มีเตาผิงแบบเปิดโล่ง (อิโรริ) ซึ่งครอบครัวจะรวมตัวกันเพื่อทำอาหาร รับประทานอาหาร และพบปะสังสรรค์ มีการพัฒนาเตาอั้งโล่แบบพกพา หรือแม้แต่เตาถ่านแบบเปิดที่ทำจากไม้ (ฮิบาชิ) “ถ่านไม้” จึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของคนญี่ปุ่นทุกชนชั้น
การทำถ่านเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาในจังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น(เดิมคือจังหวัด Kaga และ Noto มารวมกันเป็น Ishikawa) เป็นที่รู้จักกันดีว่าผลิตถ่านที่มีคุณภาพในช่วงสมัย Muromachi (ค.ศ.1336-1573) และในสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1868) นำโดยตระกูลคางะ ซึ่งปกครองพื้นที่บริเวณดังกล่าว นอกจากให้ความอบอุ่นในฤดูหนาวและให้ความร้อนในการทำอาหาร ถ่านยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในพิธีชงชา ซึ่งเฟื่องฟูในหมู่ซามูไรในคานาซาว่า ซึ่งเป็นศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลายกลุ่มในญี่ปุ่นสนับสนุนอุปถัมภ์ ในพิธีชงชาเทคนิคการทำถ่านเปรียบเหมือนงานศิลปะ มีคุณค่าทั้งในด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม “ถ่านชา” (โอชาซูมิ) ที่มีลวดลายคล้ายดอกเบญจมาศ ละเอียดอ่อน ถือเป็นผลงานชิ้นเอกของการทำถ่านของญี่ปุ่น หลังการปฏิรูปเมจิในปี พ.ศ. 2411 อุตสาหกรรมและมาตรฐานการครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้มีความต้องการถ่านเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มีการริเริ่มของรัฐบาลระดับชาติและระดับท้องถิ่นในการปรับปรุงการผลิตถ่านด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตถ่านลดลงอย่างมากเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าและก๊าซโพรเพนในพื้นที่ชนบท
การทำ “ถ่านไม้” ในญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเรียกว่า “Shou Sugi Ban” เริ่มต้นบนเกาะนาโอชิมะ จากการที่คนพื้นที่ได้ใช้ไม้เพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างและทำประมงตามแบบหมู่บ้าน จึงต้องพัฒนาความรู้การซ่อมแซมและรักษาไม้จากการกัดเซาะของทะเล กระทั่งมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาในเวลาต่อมา
“ถ่านไม้ขาวญี่ปุ่น” เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำอาหาร เมืองบินาเบะ ในจังหวัดวาคายามะ เป็นเมืองที่ผลิตถ่านไม้ขาวทำมาจากต้นโอบามะโอ๊ค ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี มีความหนาแข็งและหนัก เผาด้วยความร้อนสูงและใช้เวลานานจึงได้ถ่านที่มีคุณภาพ เตาเผาถ่านไม้ทำมาจากธรรมชาติ วิธีการคือจะใส่ไม้เป็นท่อนๆ เข้าไปในเตา ปิดสนิทด้วยดินโคลนและอิฐ ใช้เวลาในการเผา 3 วัน คืนวันที่ 3 ค่อยเปิดปากเตาเผาทีละเล็กละน้อยให้อากาศภายในถ่ายเทออกมา แล้วอบอีกครั้งโดยใช้ความร้อนที่พอเหมาะ เพราะถ้าอุณหภูมิในการอบต่ำเกินไป สิ่งสกปรกในเนื้อถ่านจะยังคงอยู่ แต่ถ้าเพิ่มความร้อนเร็วเกินไปถ่านก็จะแตกละเอียดไม่เป็นก้อน การอบจึงต้องควบคุมอย่างระมัดระวัง พอถึงวันที่ 4 จึงเปิดปากปล่องเตาเผาออกทั้งหมด ใช้ที่เขี่ย-เขี่ยถ่านไม้ทั้งหมดออกจากเตา จากนั้นเอาขี้เถ้ากลบทันที เพื่อทำให้ถ่านเย็นลง และได้ถ่านไม้ที่มีคุณภาพ
ถ่านไม้ขาวบริสุทธิ์มาก ทำให้เผาไหม้ได้ดี ไม่มีกลิ่นและควัน และให้ความร้อนทนนาน จังหวัดมิกะตะ เป็นหมู่บ้านที่ทำถ่านไม้ขาว
ถ่านไม้ที่ใช้ในญี่ปุ่นมี 3 แบบ คือ
1.ถ่านดำ เป็นถ่านทั่วไปที่มีสีดำ เก็บไฟได้ง่ายที่สุด
2.ถ่านไม้ขาว ไม่ได้เป็นสีขาวแต่จะมีสีค่อนข้างเทา มีจุดด่างๆ สีขาว ซึ่งมาจากเถ้าถ่านของการผลิตถ่าน
3.ถ่านไม้ไผ่ เป็นถ่านอีกชนิดที่นิยม เพราะที่ญี่ปุ่นมีป่าไผ่มากมายและเติบโตเร็วมาก
นอกจากนี้ ยังสามารถทำถ่านจากลูกเกาลัด เมล็ดกาแฟ ได้ด้วย