วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2565 (1) | |
06.00 น. | คณะพร้อมกันที่มติชนอคาเดมี ลงทะเบียนพร้อมรับประทานอาหารเช้า |
07.00 น. | ออกเดินทางสู่ จ.กำแพงเพชร |
12.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านบ้านริมน้ำ |
13.00 น. | เดินทางไปยัง ป้อมทุ่งเศรษฐี |
13.10 น. | ถึง ป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ชมป้อมกำแพงศิลาแลงที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป ที่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา สะท้อนถึงการเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ |
13.45 น. | เดินทางต่อไปยัง วัดพระบรมธาตุ |
14.00 น. | ถึง วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่กลางเมืองนครชุม สักการะ “พระบรมธาตุเจดีย์” ที่ในปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เป็นเจดีย์แบบพม่า เพราะมีเศรษฐีชาวกะเหรี่ยงที่เป็นพ่อค้าไม้ในเมืองนครชุมมีศรัทธาทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมฟังเรื่องราวของ “เมืองนครชุม” เมืองโบราณในวัฒนธรรมของสุโขทัย ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของน้ำปิงตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร |
15.10 น. | เดินทางไปยัง วัดพระธาตุ-วัดพระแก้ว |
15.30 น. | ถึง วัดพระธาตุ โบราณสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว ชมเจดีย์ประธานที่มีรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร อันเกิดจากการผสมผสานศิลปะล้านนาและอยุธยาเข้าไว้ด้วยกันจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแบบของตนเอง |
16.20 น. | ชม วัดพระแก้ว พระอารามขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร โดยมีตำนานท้องถิ่นว่าที่นี่เคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตในอดีต ชมจุดสำคัญต่างๆ เช่น ฐานไพทีขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง บนฐานมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน, เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ที่ฐานมีสิงห์ปูนปั้นล้อมรอบ, พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ 3 องค์ และเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบ |
18.00 น. | เข้าพักที่ โรงแรมพีพาราไดซ์ หรือเทียบเท่า**** จากนั้นรับประทานอาหารเย็นที่ห้องอาหารของโรงแรม |
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565 (2) | |
07.00 น. | รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารของโรงแรม |
08.00 น. | เดินทางไปยัง อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร |
08.30 น. | ถึง อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เมืองโบราณกำแพงเพชร พร้อมฟังบรรยายเรื่อง “เมืองโบราณกำแพงเพชร” เมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการทำสงคราม และยังเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาและล้านนา โดยโบราณสถานส่วนใหญ่นิยมสร้างจากศิลาแลงและมีขนาดใหญ่โต ชมโบราณสถานสำคัญ ดังนี้ – ป้อม-แนวกำแพงเมือง แต่เดิมเป็นคูน้ำคันดินสามชั้น ต่อมาในสมัยอยุธยาได้มีการก่อกำแพงจากศิลาแลง บนชั้นเชิงเทินตอนบนก่อเป็นรูปใบเสมาและมีป้อมประตูโดยรอบ – วัดพระนอน ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือหรือบริเวณที่เรียกว่า ‘อรัญญิก’ ชมวิหารซึ่งเดิมประดิษฐานพระนอนเป็นประธาน เสาวิหารใช้ศิลาแลงแท่งเดียวที่มีขนาดสูงใหญ่ปักเรียงรายอยู่ ถัดจากฐานวิหารไปเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมแบบสกุลช่างกำแพงเพชร – วัดพระสี่อิริยาบถ ชมพระมณฑปทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด ลักษณะเป็นแบบจตุรมุขส่วนกึ่งกลาง ผนังแต่ละด้านประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน คือ เดิน นั่ง ยืนและนอน โดยพระพุทธรูปประทับยืนทางด้านทิศตะวันตกมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดและพระพักตร์แสดงลักษณะศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร – วัดช้างรอบ ชมเจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ซึ่งยอดหักพังหมดแล้ว ฐานล่างประดับช้างปูนปั้นครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลวดลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขาและข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงรูปพันธุ์พฤกษา ทั้งยังพบหลักฐานว่ามีการประดับงานปูนปั้นภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติและประดับประติมากรรมดินเผารูปเทวดา นางฟ้า กินนร-กินรี และหงส์ – วัดอาวาสใหญ่ สันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ด้านหน้าก่อเจดีย์รายรูปทรงต่างๆ บนฐานขนาดใหญ่ข้างละ 8 องค์ นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเป็นเขตสังฆาวาส ซึ่งมีฐานกุฏิสงฆ์เป็นจำนวนมาก รวมทั้งพบร่องรอยของอาคารศาลา บ่อน้ำ และห้องส้วม (เวจกุฎี) ด้านหน้าวัดมีบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เรียกว่า “บ่อสามแสน” |
12.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านมั่นบะหมี่ชากังราว |
13.00 น. | เดินทางไปยัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร |
13.15 น. | เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร แหล่งรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบภายในเมืองโบราณกำแพงเพชร เช่น เทวรูปพระอิศวรสำริด ศิลปะอยุธยา ขนาดสูงกว่า 2 เมตร ที่เกือบถูกลักลอบออกนอกประเทศไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ถูกอายัดกลับมาได้, พระพุทธรูปสำริดปางลีลา ศิลปะสุโขทัย และเศียรพระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัย หมวดกำแพงเพชร ฯลฯ |
15.00 น. | เดินทางไปยัง วัดวังพระธาตุ |
15.30 น. | ถึง วัดวังพระธาตุ วัดสำคัญและเก่าแก่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองไตรตรึงษ์ เข้าสักการะหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลางที่มีอิทธิพลศิลปะล้านนา ชมเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร พร้อมฟังเรื่องราวของ “เมืองไตรตรึงษ์” เมืองโบราณที่ปรากฏชื่อทั้งในตำนานสิงหนวัติ จารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ |
16.00 น. | เดินทางไปยัง จ.นครสวรรค์ |
17.30 น. | รับประทานอาหารเย็น ที่ภัตตาคารเล่งหงษ์ นครสวรรค์ |
18.30 น. | เดินทางกลับกรุงเทพฯ |
22.00 น. | ถึง มติชนอคาเดมี โดยสวัสดิภาพพร้อมความประทับใจ |
***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า***