ฮือฮา!! นักโบราณฯ ขุดพบฐานวิหารลายคำเดิมวัดยางกวง ขณะบูรณะวิหารหลังใหม่
-
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 2 ก.ค. พระครูปลัดสุรเดช สิริสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดยางกวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งวัดดังกล่าวอยู่หน้าตลาดก้อม หรือ กาดก้อม แจ้งว่า เมื่อวานนี้ ทางเจ้าหน้าที่นักโบราณคดีกรมศิลปากรได้ขุดค้นพบฐานวิหารลายคำเดิมวัดยางกวงในขนาดที่กำลังฟื้นฟูและบูรณะวิหารหลังใหม่ หลวงพ่อพระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 7 ได้เดินทางมาตรวจสอบ พร้อมแจ้งให้ทางวัดเปิดแถลงข่าวในเช้าวันนี้
พระครูปลัดสุรเดช กล่าวอีกว่า สำหรับวัดยางกวง อดีตเป็นวัดร้าง มีชื่อเดิมคือ วัดรั้วหน่างและปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดน่างรั้ว ในอดีตสมัยพระเจ้ากาวิละได้เข้ามาฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ สภาพเมืองเชียงใหม่ก่อนหน้านี้เป็นป่ารก มีกลุ่มคนต่างๆ อพยพเข้ามาอยู่อาศัยภายหลัง จากการกวาดต้อนเข้ามาของพระเจ้ากาวิละ ตามนโยบาย เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ที่เป็นการเอาคนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และเป็นแรงงานฟื้นฟูบูรณะเมืองเชียงใหม่อีกรอบ
ภายหลังการบูรณะให้เมืองกลับมารุ่งเรือง ผลัดเปลี่ยนเวลาไปตามยุคสมัย วัดวาอาราม หลายแห่งก็กลับมาเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางแห่งด้วยกัน ที่ถูกทิ้งไว้รกร้าง เพราะขาดการดูแลไปในบางช่วงเวลา ก่อนต่อมาจะได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นแบบดั้งเดิม
วัดยางกวง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นหนึ่งในวัดที่สร้างในยุคสมัยนั้น วัดยางกวง หรือบางครั้งก็เรียกว่า วัดหน่างรั้ว ที่ตามพจนานุกรมล้านนาให้ความหมาย “หน่างรั้ว” ว่าเป็น รั้ว หรือแนวกัน ที่ทำให้คนหรือสัตว์เข้ามาติดแล้วออกไปไม่ได้ สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นในยุคต้นของราชวงศ์มังรายดังกล่าว
จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งพญามังรายทรงออกแสวงหาชัยภูมิเพื่อสร้างเมืองใหม่ พระองค์เสด็จออกจากเวียงกุมกาม และทรงแวะตั้งค่ายพักแรม ณ บริเวณแห่งนี้ โดยให้ทหารและเสนาอำมาตย์สร้างหน่างรั้ว กั้นรอบล้อมค่ายพักแรมไว้ เพื่อป้องกันภัยอันตรายทั้งมวล ในเวลาต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า วัดหน่างรั้ว แต่ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัด ว่าวัดนี้สร้างในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง มีเพียงหลักฐานปรากฏในนิราศหริภุญชัย (พ.ศ. 2060)
หลังล้านนาถูกพม่ายึดครอง เป็นเวลา 200 กว่าปี ทำให้วัดวาอารามต่างๆ ในเมืองเชียงใหม่ถูกละทิ้งตกอยู่ในสภาพวัดร้างเป็นจำนวนมาก วัดยางกวงก็ถือเป็นหนึ่งในจำนวนวัดร้างทั้งหลายเหล่านั้น จวบจนปี พ.ศ. 2339 พระเจ้ากาวิละได้ยกทัพกลับมาขับไล่พม่าครั้งสุดท้ายออกจากล้านนา และได้กวาดต้อนเอาชนเผ่าไทยจากเขตเชียงรุ้งสิบสองปันนา และเชียงตุงให้มาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ หรือที่เรียกกันว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ซึ่งผู้คนทั้งหลายที่ถูกกวาดต้อนมาจากทางเหนือ มีกลุ่มหนึ่งเป็นชาวไทยเขินมาจากบ้านยางกวงเมืองเชียงตุงเข้ามาอยู่รอบๆ วัดหน่างรั้ง จากนั้นก็ได้ช่วยกัน ฟื้นฟูบูรณะวัดแห่งนี้จนเจริญรุ่งเรือง และภายหลังได้เปลี่ยนชื่อวัดนี้เป็น วัดยางกวง เหมือนในเชียงตุง เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพวกเขามาจากบ้านนายางกวงเชียงตุง และภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดยางกวงแห่งนี้กับกลายเป็นวัดร้างอีกรอบ
ต่อมาปี พ.ศ. 2549 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 60 ปี พระเทพวรสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 7 เห็นว่าวัดยางกวง (ร้าง) แห่งนี้ยังมีหลักฐานหลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ คือ พระเจดีย์ และพระพุทธรูป จึงเห็นสมควรทำการฟื้นฟู และบูรณะขึ้นใหม่
ตามตำนานที่ได้ศึกษากันก็พอจะประมาณได้ว่า องค์พระเจดีย์ประธาน สร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ล้านนาเป็นเอกราชคือ ในระยะตั้งแต่ ปี พ.ศ. 1839-2100 หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งอยู่ในรัชกาลของพญาติโลกราช (พ.ศ. 1985 – 2030) และมีการบูรณะเจดีย์อีกครั้งในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 หรือราวต้นรัตนโกสินทร์ (ตรงกับสมัยพระเจ้ากาวิละ) ต่อมาได้ทำการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งได้รับเมตตาจากพระเดชพระคุณพระเทพวรสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นประธานในการบูรณะจนแล้วเสร็จ ปัจจุบันมีพระครูปลัดสุรเดช หรือพระครูบายางกวง เป็นเจ้าอาวาสที่อายุน้อยที่สุด
- รู้จัก Matichon Academy
- Course น่าสนใจ
- ตารางเรียน
- ทัวร์สนุกไปกับเรา
- Content พาเพลิน
- Food Story อาหาร
- Review พาชิมพาส่อง
- Recipes สูตรอาหาร
- Tips & Tricks สารพันเกร็ดน่ารู้
- Travel ท่องเที่ยว
- Culture ศิลปวัฒนธรรม
- Journal ข่าวสาร
- Talk with Matichon Academy บทสัมภาษณ์
- Business ธุรกิจ
- Human of Office ชีวิตมนุษย์เงินเดือน
- Money เงินทองต้องรู้
- Lifestyle ไลฟ์สไตล์
- Health สุขภาพดีๆ
- Technology
- Entertainment บันเทิง
- Event อีเวนต์
- Promotion โปรโมชั่น
- บริการของเรา
- ติดต่อเรา