ขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค (คลิป)

Clip คลิปชวนดู

ขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ที่เว้นว่างมาเกือบ100ปี เป็นการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค ที่เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

การจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลที่4 ปี 2394 ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จากนั้นมีการจัดมาเป็นราชประเพณีต่อมาในสมัยรัชกาลที่5-7 และเว้นว่างในรัชกาลที่8และรัชกาลที่9 ถึงแม้จะมีขบวนพยุหยาตราทางชลมารคหลายครั้ง แต่การจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารคนั้นไม่มี

เชิญชวนมาร่วมชมขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค(วันซ้อมใหญ่) พร้อมเรียนรู้ ประวัติของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค โดย รศ.ดร.ศานติ ภักดีคำ อาจารย์สาขาวิชาภาษาเขมร คณะมนุษยศาสตร์ มศว.ประสานมิตร เกี่ยวกับแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีการจัดตั้งแต่สมัยไหนอย่างไรบ้าง รวมถึงเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนมาถึงรัชกาลปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00 น.(รอบซ้อมใหญ่) ที่ห้องอาหารต้นมะกอก โรงแรมบ้านวังหลัง ริเวอร์ไซด์

ราคา 3,500 บาท

คลิกดูโปรแกรม : https://www.matichonacademy.com/tour/ขบวนพยุหยาตราเลียบพระน

 

สนใจติดต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่งได้ที่ inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี 

โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124

Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105

line : @matichon-tour หรือ line : @matichonacademy 

__________________

ข้อมูลขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค

 

การจัดขบวนพยุหยาตราเลียบพระนครทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย เรือทั้งหมด 52 ลำ ใช้กำลังพลประจำเรือรวม 2,311 นาย แบ่งเป็น กำลังพลฝีพาย 2,200 นาย และกำลังพลที่เกี่ยวข้อง เช่น กำลังพลจากสำนักพระราชวัง และนักดนตรีประจำเรือ 111 นาย สำหรับการจัดรูปขบวนพยุหยาตราทางชลมารค แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้

ริ้วสายกลาง เป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ นอกจากนี้มี เรืออีเหลือง (เรือกลองนอก) เรือแตงโม (เรือกลองใน) ซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือ พร้อมด้วยเรือตำรวจ 3 ลำ และเรือแซง 1 ลำ รวมเป็นจำนวน 10 ลำ

ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง ประกอบด้วย เรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้า เรือเสือทะยานชลและเรือเสือคำรณสินธุ์ เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 8 ลำ ปิดท้ายสายในด้วย เรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก รวมเป็นจำนวน 14 ลำ

ริ้วสายนอก ประกอบด้วย เรือดั้ง 22 ลำ และเรือแซง 6 ลำ แบ่งเป็นริ้วละ 14 ลำ รวมเป็นจำนวน 28 ลำ