อ.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลที่มีคุณูปการมากมายเหลือคณานับ เป็นบุคคลแรกที่ได้รับการยกย่องเป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎร ผู้ก่อตั้งเสรีไทย อดีตรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้สร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทัวร์ “120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 จึงน่าติดตามไปอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รู้จัก อ.ปรีดี มากขึ้นในด้านที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อน
ที่สระบุรีและลพบุรี เกี่ยวข้องกับอ.ปรีดี ตรงที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร โดยเฉพาะหนึ่งในคณะราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกและใกล้ชิดกับ อ.ปรีดี คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม อยากไปสร้างอนุสรณ์2500ปี เรียกว่าพุทธมณฑลขึ้นที่สระบุรี เพราะมีพระพุทธบาท แต่มตินี้แพ้โหวตในรัฐสภา พุทธมณฑลจึงไปสร้างที่นครปฐม จนเกิดพระปฐมเจดีย์
กษัตริย์อยุธยา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม ราชประเพณีต้องเสด็จพระพุทธบาทเป็นพระราชกรณียกิจ กษัตริย์ที่เสด็จไปจะต้องนั่งอยู่บนหลังช้าง เป็นระบำหลังช้าง กษัตริย์ต้องฟ้อนบนหลังช้างถวายเป็นพระพุทธบูชาแก่พระพุทธบาท เป็นงานใหญ่มาก เพราะฉะนั้นจากแนวความคิดของคณะราษฎร ถึงอยากจะกลับไปพุทธบาทอีก เราจะไปเริ่มต้นกันที่พระพุทธบาท
หลังจากนั้นเราจะไปที่ลพบุรี เขาบอกว่าเป็นเวสปอยท์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือสร้างเป็นเมืองทหาร พูดง่ายๆคือไอเดียความคิดของจอมพล ป.และอ.ปรีดี ซึ่งเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศสก็เอามาสร้างเป็นเมืองอุดมคติ ประมาณว่าเราจะสร้างเมืองไทยให้เป็นอย่างนี้ คล้ายๆกับลพบุรีตั้งเป็นเมืองในอุดมคติ มีการวางผังเมือง มีการแบ่งโซน วงเวียนในเมืองไทยครั้งแรกที่ลพบุรี เป็นการจัดการจราจรแบบฝรั่งเศส ไม่มีสัญญาณไฟ สถาปัตยกรรมในสมัยจอมพลป.พิบูลสงคราม จะเป็นวงเวียน เวลาจะเข้าถึงเกาะอยุธยา จะผ่านเจดีย์สามปลื้มเป็นวงเวียน เป็นผลงานของคณะราษฎร เราไปที่ลพบุรี ก็จะเห็นผลงานของคณะราษฎร
จากนั้นกลับมาอยุธยา บ้านเกิด อ.ปรีดี ไปวัดพนมยงค์ ตระกูล อ.ปรีดี อุปัฏฐากวัดนี้ ไปอนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี ณ จุดนี้ มีกิมมิคเล็กๆ เราจะกินอาหารกลางวันกันที่อนุสรณ์สถาน อ.ปรีดี โดยเสิร์ฟเมนูที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบหลายอย่าง กระซิบให้ฟัง 1 เมนู คือ ทอดมันปลากราย
พูดง่ายๆว่า นอกจากตามรอย อ.ปรีดี แล้ว ยังตามรอยอาหารที่ อ.ปรีดี ชื่นชอบทั้งคาวและหวานด้วย
จากนั้นจะไปที่วัดมงคลบพิตร ที่นี่เกิดเหตุการณ์สำคัญ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง อ.ปรีดี กับสถาบันกษัตริย์ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในการถวายความปลอดภัยแก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง โดยเฉพาะในพระบรมมหาราชวัง เพื่อความปลอดภัยจึงทูลเชิญเสด็จไปประทับอยู่ที่บางปะอิน อ.ปรีดี ได้ตามไปดูแล หนึ่งในนั้นคือพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จไปวัดมงคลบพิตรเพื่อปิดทองและเกิดเหตุการณ์สำคัญมาก ซึ่งต้องไปฟังให้ได้
สุดท้ายเราจะไป ป้อมเพชร เป็นป้อมใหญ่ที่สุดที่รักษาเมืองอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยาที่มาจากปากอ่าวจะมาเจอป้อมเพชรก่อน แต่อีกนามหนึ่งนามป้อมเพชรกลายเป็นนามสกุลของบุคคลสำคัญ และหนึ่งในนั้นคือภรรยาของอ.ปรีดี เราจะไปดูว่าป้อมเพชรคืออะไร ทำไมจึงมีนามสกุล ณ ป้อมเพชร มีใครบ้าง แล้วใครอยู่หลังป้อมเพชร เป็นการพาไปตามรอยหลังบ้านอ.ปรีดี คือ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ด้วย
ทั้งหมดเป็นแค่ออเดิฟ ที่ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา หนึ่งในวิทยากรทริปนี้ เล่าให้ฟัง
ถ้าอยากไปฟังรายละเอียดเบื้องลึก อ.ปรีดี ที่หลายคนยังไม่เคยรู้ ต้องไปกับทัวร์“120 ปีชาตกาล อ.ปรีดี พนมยงค์” จ.สระบุรี-ลพบุรี-พระนครศรีอยุธยา ของมติชนอคาเดมี เดินทางวันที่ 14-15 มีนาคม 2563 ราคา 5,500 บาท
นำชมและบรรยายโดย ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ อ.สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์
**หมายเหตุ : เรามีระบบฆ่าเชื้อโรคและทำความสะอาดตลอดทริปการเดินทาง**
ติดต่อสอบถามรายละเอียด หรือสำรองที่นั่งได้ที่
inbox เฟซบุ๊กเพจมติชนอคาเดมี
โทร 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
Mobile : 08-2993-9097, 08-2993-9105
line : @matichon-tour
line : @matichonacademy