“อย่ารับประทานของทอดของมัน เดี๋ยวคอเลสเตอรอลขึ้น” ท่านผู้อ่าน ทุกท่านเคยได้ฟังมาทุกคน แต่ในทางปฏิบัติ นั้นยากเหลือเกินที่จะหลีกเลี่ยงมื้ออาหารลักษณะนี้
มีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่า หากลดระดับคอเลสเตอรอลลง 10% สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ถึง 50%
นอกจากนั้น จากการสํารวจพบอีกว่า กลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำซึ่งสาเหตุหลัก คือ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลมากเกินไปและอาหารจําพวกไขมันส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็อาจมาจากยาบางชนิด โรคบางชนิด กรรมพันธุ์ของผู้ป่วยก็เป็นไปได้เช่นกัน
โดยปกติแล้วระยะต้นของการมีคอเลสเตอรอลสูง ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อระดับคอเลสเตอรอลสูงไปเป็นระยะเวลานาน จะทําให้เกิดการสะสมและอุดตันของไขมันตามหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดในสมองตีบได้การรักษา ปัจจุบันก็จะให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงออกกําลังกาย ซึ่งหากผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาลดไขมันร่วมด้วยเช่นกัน
สําหรับสรรพคุณของกระเทียมในการลดไขมันนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสรรพคุณของกระเทียม แต่งานวิจัยมากมายเหล่านั้นอาจให้ผลการศึกษาแตกต่างกัน บางฉบับสรุปว่าได้ผล บางฉบับสรุปว่าไม่ได้ผล จึงเป็นที่มาของการศึกษางานวิจัยอย่างเป็นระบบโดยประมวลผลการทดลองจากงานวิจัยหลายๆ ฉบับ เพื่อยืนยันฤทธิ์ของกระเทียมในการลดคอเลสเตอรอล
ซึ่งการรวบรวมครั้งนี้ได้รวมงานวิจัยทั้งหมด 26 ชิ้น เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ.1981 พบว่า การรับประทานกระเทียม (ในรูปแบบสารสกัดกระเทียมผง) สามารถลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างมีนัยสําคัญ แต่ไม่สามารถลด LDL (ไขมัน ตัวร้าย) ได้
คําถามต่อมาที่หลายท่านอาจสงสัยว่า ต้องรับประทานนานแค่ไหน และปริมาณเท่าไร?
จากงานวิจัยสรุปไว้ว่า ยิ่งรับประทาน ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็จะลดได้มากยิ่งขึ้นตั้งแต่ 1 เดือนเป็นต้นไป โดยควรรับประทานครั้งละ 600-900 มิลลิกรัมต่อวัน (ในรูปแบบผงแห้ง) ซึ่งหากท่านผู้อ่าน อยากจะรับประทานแบบสดๆ อาจจะต้องรับประทานวันละ 1-2 หัว เพื่อจะได้ฤทธิ์ในการลดคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์
โดยสรุปแล้ว “กระเทียม” สามารถลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ดีกว่า ยาอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ ทั้งยังเป็นสมุนไพรคู่บ้านของเรา หาซื้อรับประทานได้ในทุกๆ มื้อ แต่ก็อย่าลืมการควบคุมอาหารให้เหมาะสม เพราะเป็นสิ่งสําคัญมากทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของกระเทียมนั้นก็มีเช่นกัน
ผศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความเป็นพิษของกระเทียม เมื่อบริโภคมากเกินไปและต่อเนื่อง อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีแผลในกระเพาะอาหาร กลิ่นปากไม่พึงประสงค์ รวมถึงทำให้เลือดแข็งตัวช้า เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงไม่ควรรับประทานควบคู่กับยากลุ่มที่มีฤทธิ์ทำให้เลือดแข็งตัวช้า เช่น ยาเฮพาริน (heparin) ยาวาร์ฟาริน (warfarin) แอสไพริน (aspirin) เป็นต้น เพราะจะเป็นการเสริมการออกฤทธิ์ของยา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาในกลุ่มนี้เป็นประจำ และชื่นชอบการบริโภคกระเทียมควรระมัดระวังเพราะจะเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคซีดหรือโรคโลหิตจางได้ นอกจากนี้ ไม่ควรรับประทานกระเทียมสดขณะท้องว่าง เพราะอาจทำให้ทางเดินอาหารผิดปกติ
ที่มา | อภัยภูเบศรสาร ปีที่ 12 ฉบับที่ 151 ,เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์ |
---|---|
ผู้เขียน | ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ |