คอลัมน์ ตามรอยพ่อไปชิม : ‘บ้านตาเรือง’ อาหารไทยพื้นบ้าน รสมือคุณยาย ขายเป็นสำรับตามใจแม่ครัว

Business ธุรกิจ
น้ำพริกปลาทูผัด

อาทิตย์นี้ไปเจอะเจอร้านอาหารไทยพื้นบ้านสุดแสนประทับใจจนอยากรีบบอกต่อ เพิ่งเปิดมาปีกว่า คุณยายคนทำอายุรวมกันมากกว่า 250 ปี ขายเป็นสำรับเมนูตามใจแม่ครัว ไปแล้วเหมือนได้กินข้าวกับญาติผู้ใหญ่ใจดี ร้านนี้มีชื่อว่า บ้านตาเรือง ขอขอบคุณ น้องแทนไร้เทียมทาน ที่แนะนำร้านดีมีเอกลักษณ์เช่นนี้นะครับ

ตาเรืองคือชื่อคุณทวดของน้องหวาย สมิทธิ เกษสกุล ตาเรืองมีลูกๆ มากถึง 10 คน แต่ก่อนนั้นบ้านนี้มีที่ทางมากมาย (ตาพัน พ่อตาเรืองคือเจ้าของที่แถวแฟลตดินแดงในตอนนี้) ทำนาอยู่บริเวณลำรางนาซอง คือซอยสถานทูตจีนในปัจจุบัน สมัยก่อนจูงควายไปเลี้ยงใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิได้

ตัดภาพมายุคไทยแลนด์ 4.0 น้องหวาย เหลนของตาเรือง ลาออกจากงานประจำเพื่อมาดูแลคุณยายคนอื่นๆ เนื่องจากคุณยายขจรคนสุดท้องได้จากน้องหวายไป ก็เลยคิดได้ว่าเวลาของครอบครัวมีค่ามากกว่าสตางค์

หลังจากลาออกมาสักพัก น้องหวายเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดีว่า ภายหลังรู้ว่าสตางค์ก็มีค่าพอๆ กับครอบครัว จึงเปิดบ้านให้คุณยายขายขนม ทำไปทำมาช่วงแรกจึงเพิ่มเป็นสำรับอาหาร 2 อย่าง คิดแค่ 100 บาท ขายไปสักพักกลัวว่าคุณยายจะเหนื่อยจึงเปิดขายเหลือแค่ วันเสาร์-อาทิตย์เท่านั้น

การมาร้านบ้านตาเรืองต้องโทรจองล่วงหน้าเป็นวันๆ กับ น้องหวาย ที่ เบอร์ 06-3551-6554 โดยจะขายเป็นสำรับอาหารไทยพื้นบ้าน 4 อย่าง (สำรับหนึ่งกินได้ 2-4 คน) หมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละวัน (มีประมาณเกือบ 30 อย่าง) ไม่มีเมนูให้สั่งนะจ๊ะ ซึ่งคิวจองไม่ยุ่งยากอะไร (ณ ตอนนี้)

ตัวบ้านจุคนได้หลายสิบคน เปิดขายตั้งแต่ 11 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ขอแนะนำว่าให้ไปตั้งแต่ร้านเปิด หรือไปหลังบ่ายโมงกว่าจะสะดวกสบายไม่แน่นจนเกินไป

พอได้วันนัดแล้ว ให้มาที่ ซอยสถานทูตจีน รัชดาภิเษก 3 ที่อยู่เลยห้างฟอร์จูนไปเพียงเล็กน้อย เลี้ยวเข้าซอยไปแล้วให้มองทางขวาหา ซอยรัชดา 3 แยก 14 จุดสังเกตปากซอยแยกคือร้านสะดวกซื้อ 7-11 ร้านที่ 3 นับจากถนนใหญ่ และมีศาลพระพรหมตั้งอยู่ปากซอยด้วย

ซอยรัชดาฯ 3 แยก 14 นี้เป็นซอยตันสั้นๆ ไม่พลุกพล่าน เข้าไปเกือบท้ายซอยจะเห็นร้านบ้านตาเรืองอยู่ในเรือนหลังคาทรงจั่วใต้ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นทางซ้ายมือ มีป้ายชื่อร้านเล็กๆ ติดอยู่ จอดรถริมซอยได้เลย (ถามกับที่ร้านได้) แถวนั้นเป็นบ้านญาติพี่น้องกันทั้งละแวก

เข้ามาในร้านรู้สึกผ่อนคลายเหมือนอยู่บ้านสวน มีต้นไม้ใหญ่น้อย ตกแต่งด้วยไม้และกระเบื้องดินเผา ประดับประดาด้วยกระด้ง ข้อง หมวกชาวนา ตะกร้าจักสาน โมบายล์ปลาตะเพียนสาน ผ้าขาวม้า และรูปภาพตาเรืองตอนหนุ่มและลูกๆ ตั้งโต๊ะทั้งในห้องปรับอากาศและระเบียงด้านนอก ตรงฝ้าเพดานเหนือเคาน์เตอร์เขียนชื่อคุณตาคุณยายทั้ง 10 คนไว้ด้วย

พอมาถึงร้านก็แจ้งชื่อเราที่จองได้เลย ก่อนอื่นให้สั่งเครื่องดื่มชื่อเก๋ๆ จากในเมนูแผ่นใหญ่ เช่น ชาดำจี๊ดจ๊าด (45 บาท) น้ำมะขามพริกเกลือ (59 บาท) น้ำดอกบ๊วยบานแฉ่ง (59 บาท) จากนั้นเขาก็จะเริ่มเสิร์ฟอาหารเป็นสำรับมี 4 อย่างกับข้าวกล้อง 1 หม้อเล็ก

ในวันนั้นประกอบด้วย น้ำพริกปลาทูผัด เสิร์ฟมาบนกระจาดสาน คล้ายแจ่วแต่ไม่มีปลาร้า ปรุงรสจัดๆ เค็มเปรี้ยวหอม มีมะนาวให้บีบเพิ่ม แกล้มด้วยไข่ต้มยางมะตูม หมูสวรรค์หอมลูกผักชี และผักสด

ครอบครัวตาเรือง
ผัดพริกกุ้งมะพร้าวขูด

ส่วนกับข้าวอีก 3 ชนิดจะเสิร์ฟในจานวางอยู่บนถาดสังกะสีเคลือบ มีตั้งแต่ ต้มไก่ใบมะขามอ่อน เปรี้ยวเค็มหอมรสพื้นบ้านแท้ๆ ชื่นใจ ผัดเขียวหวานสันคอหมู ที่ถูกใจมาก รสมือเหมือนที่ผมกินตอนเด็ก เครื่องแกงหอมๆ นั้นคุณยายซื้อมาปรุงเพิ่ม เติมลูกผักชียี่หร่า ไม่มีรสหวาน ส่วนสันคอหมูจะรวนกับกะทิและน้ำปลา นุ่มหอมมีรสชาติเข้าเนื้อ

และอย่างสุดท้ายในสำรับคือเมนูยอดนิยม กุ้งทอดน้ำปลาหวาน จะมีมาร่วมสำรับบ่อยๆ น้ำปลาหวานปรุงด้วยน้ำตาลปี๊บ ใส่หอมเจียวซึ่งเจียวกับน้ำมันหมู (ซึ่งสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะใช้น้ำมันหมูกันเกือบทั้งนั้น) สนนราคาสำรับประจำวันนี้คือ 560 บาท กินได้ 2-4 คน ซึ่งไม่แพงเลย

ปิ่นโตเถาเล็กขอร้องล่วงหน้าให้คุณยายทำอาหารอื่นๆ ในสำรับมาเป็นตัวอย่างอีกหลายจาน มีตั้งแต่ กะปิคั่วแนมด้วยผักสด (ไม่หวานถูกใจมาก) ใช้กะปิสองคลองจากบางปะกงเท่านั้น ผัดพริกกุ้งมะพร้าวขูด คืออาหารของครอบครัว พริกแกงเน้นผิวมะกรูด ใส่กุ้งบุบกับครกเป็นชิ้นเล็กๆ กับมะพร้าวแก่ขูด รสชาติไม่หวานเช่นกัน อีกอย่างคือ หมูตุ๋นซีอิ๊ว หมูสันคอกับสามชั้นติดมัน (คุณยายชอบ) ทำคล้ายต้มเค็มรสเข้มๆ น่าเสียดายที่วันนั้นไม่มีหมูกรอบจึงไม่ได้ลิ้มลอง หมูกรอบคั่วใบกะเพราพริกแห้ง

สำรับอีก3อย่างประจำวัน

สนนราคาสำรับอื่นๆ ก็มีตั้งแต่ 580-600-610-640 บาท (ราคาแพงสุดมีปลากะพงเป็นวัตถุดิบด้วย) เมนูในสำรับหมุนเวียนอื่นๆ ก็มีเช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงเผ็ดฟักทอง ต้มกะทิสายบัวใส่ปลาทู

ลืมบอกไปว่าแม่ครัวอาหารคาวคือคุณยายศิริ อายุ 80 ปี (ตอนนี้น้องหวายกับคุณแม่มาช่วยทำอาหารด้วย) การเตรียมวัตถุดิบพิถีพิถันสุดสุด ซื้อมะพร้าวมาคั้นกะทิเอง ปลาดุก ปลาช่อน จะซาวด้วยน้ำมะขามหลายครั้งจนหมดคาว ไม่มีเมือก

นอกจากนี้ยังมีเมนูจานเดียวนอกสำรับ เผื่อสำหรับผู้ที่ยังไม่จุใจ คือ ผัดหมี่ศิริมงคล หมี่ผัดซอสที่ทำจากมะขามเปียก พริกแห้ง หอมแดง น้ำตาลมะพร้าว โปรดสังเกตว่าใช้ชื่อเมนู ศิริมงคล ไม่ใช่สิริมงคล เพราะตั้งชื่อตามคุณยายศิริ ที่ผัดหมี่ให้หวายได้กินตั้งแต่ยังเล็ก

3.ตัวช่วยคนช่างกิน เพราะจิงจูฉ่ายมีสรรพคุณช่วยในเรื่องของการขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยลดอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ เพราะอาหารไม่ย่อยจากมื้ออาหารแบบจัดหนักได้

4.ต้านมะเร็งร้าย ขอย้ำว่าไม่ใช่การรักษาโรคมะเร็ง! เพียงแต่มีการวิจัยที่นำใบจิงจูฉ่ายประมาณ 1 กำมือ มาปั่นหรือตำคั้นน้ำเพื่อรับประทานเช้า-เย็นก่อนมื้ออาหารสัก 1 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 2–3 เดือน ว่ากันว่าจะสามารถช่วยต้านทานต่อเซลล์มะเร็งได้ แต่ยังไงก็ต้องดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารที่ดีด้วย

5.สรรพคุณทางยาอื่นๆ ที่น่าสนใจ ว่ากันว่าจิงจูฉ่ายมีสรรพคุณช่วยขับพิษ แก้อาการอักเสบของผิวหนัง ช่วยลดอาการผดผื่นคัน นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่มีโซเดียมต่ำเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคไต และยังช่วยในการฆ่าไวรัส เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมาลาเรียได้อีกทาง

อิ่มของคาวแล้ว ที่ร้านยังมีขนมไทยอีกด้วย ทำเปลี่ยนไปเรื่อยๆ วันนั้นมี ครองแครงน้ำกะทิ ข้าวเหนียวสังขยา กล้วยบวชชี (22 บาทรวด) ตะโก้ (35 บาท) ข้าวเหนียวมะม่วง (80 บาท) และที่ไม่เหมือนใครคือ แตงโมหมูหยองผัด (55 บาท) ซึ่งก็คือปลาแห้งแตงโม แต่คุณยายทวี (พี่ใหญ่สุดอายุ 87 ปี) เปลี่ยนจากปลาแห้งเป็นหมูหยองผัดเพื่อไม่ให้มีรสคาว ส่วนตะโก้นั้นเป็นฝีมือคุณยายสมจิตต์

น้องหวายฝากบอกมาว่าต่อไปอาจจะขยายเวลาเปิดไปจนถึงทุ่ม 2 ทุ่มอีกด้วย จากประสบการณ์ส่วนตัว ใครอยากไปชิมให้รีบตามไป อย่าปล่อยให้เนิ่นนาน เพราะของดีอย่างนี้จะมีคนบอกต่อ ยกโขยงกันไปชิม แต่ตอนนี้ยังจองง่ายอยู่นะจ๊ะ

หมูตุ๋นซีอิ๊ว
คุณยายทวี อายุ 87 ปี
คุณยายทวี อายุ 87 ปี
กะปิคั่ว
กะปิคั่ว
ขนมไทยประจำวัน

บ้านตาเรือง

โดย สมิทธิ (หวาย) เกษสกุล

ที่ตั้ง 1151/3 รัชดาภิเษก ซอย 3 แยก 14 เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

โทร 06-3551-6554

เปิดบริการ 11.00-17.00 น. เสาร์-อาทิตย์

หยุด จันทร์-ศุกร์ และวันนักขัตฤกษ์

แนะนำ อาหารไทยพื้นบ้านรสมือคุณยาย เป็นสำรับ 4 อย่าง และมีขนมไทยขายเพิ่มต่างหากด้วย

ที่มาอาทิตย์สุขสรรค์ มติชนรายวัน
ผู้เขียนปิ่นโตเถาเล็ก (ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์)