ถ้าพูดถึงประกันสังคม คนที่เป็นพนักงานประจำอาจจะคุ้นชินกันอยู่แล้ว แต่อาจมีหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่าที่เราโดนหักเงินไปในแต่ละเดือนเราจะได้อะไรบ้างและมีประโยชน์กับเราอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวม 7 ข้อที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้จากสิทธิประกันสังคมมาฝากกันค่ะ
ก่อนอื่นเรามาทำงานรู้จักกับประกันสังคมกันก่อน ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ที่มีรายได้ประจำ เพื่อให้ผู้ประกันตนมีหลักประกันความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย การคลองบุตร ชราภาพ หรือเสียชีวิต โดยได้รับการทดแทนอย่างต่อเนื่อง
สิทธิที่จะได้จากประกันสังคม
- กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ : ต้องจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
สิทธิประโยชน์
เจ็บป่วยทั่วไป | โรงพยายามตามบัตรรับรองสิทธิ์ | ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้น 14 โรค) |
เจ็บป่วยฉุกเฉิน | โรงพยายามตามบัตรรับรองสิทธิ์หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด | สำรองจ่ายก่อนแล้วนำหลักฐานมาเบิกได้ตามที่กำหนด |
อุบัติเหตุ | โรงพยายามตามบัตรรับรองสิทธิ์หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด | สำรองจ่ายก่อนแล้วนำหลักฐานมาเบิกได้ตามที่กำหนด |
สถานพยาบาลต่างๆจะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า การบริการจากสถานพยาบาลเครือข่าย คือ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
- กรณีคลอดบุตร
- จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร
- จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วันสำหรับการใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน
- กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง
- กรณีทุพพลภาพ
ทุพพลภาพ คือ การสูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะหรือของร่างกายหรือสูญเสียภาวะปกติของจิตใจ จนทำให้ความสามารถในการทำงานลดลงถึงขนาดไม่อาจประกอบการงานตามปกติได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด โดยผู้ประกันตนจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ซึ่งในกรณีที่รุนแรงผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทนในอัตรา 50% ของค่าจ้างตลอดชีวิต แต่หากเป็นกรณีไม่รุนแรงจะได้รับเงินทดแทนตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่กำหนด - กรณีเสียชีวิต
- กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย
- สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกันตนที่จงใจทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพและตาย หรือยินยอมให้ผู้อื่นก่อให้เกิดขึ้น ประโยชน์ทดแทนกรณีตาย ได้แก่ ค่าทำศพ 40,000 บาท โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ ใครคือผู้จัดการศพ และ เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต
- กรณีสงเคราะห์บุตร
การได้สิทธิสงเคราะห์บุตรนี้ ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น โดยได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์ - กรณีชราภาพ
ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แล้วจะส่งประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำเหน็จ โดยได้เงินก่อนเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าในกรณีที่ส่งไม่น้อยกว่า 180 เดือน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญ ซึ่งเป็นเงินที่ได้ทุกๆเดือนตลอดชีวิต - กรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ก่อนการว่างงานกับนายจ้างรายสุดท้ายหรือกรณีผู้ประกันตนว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย โดยมีระยะเวลาการว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป และต้องลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต เมื่อถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ยปีละไม่เกิน 180 วัน (ประมาณปีละไม่เกิน 45,000 บาท) แต่หากเป็นการลาออกหรือสิ้นสุดงาน จะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตรา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยแทนครัว
ทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับจากกองทุนประกันสังคม ซึ่งในการขอรับสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมทุกครั้งต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ทีนี้ก็หมดข้อสงสัยแล้วว่าเงินที่เราถูกหักทุกเดือนนี้เราสามารถนำไปใช้สิทธิอะไรได้บ้าง ก็อย่าลืมไปใช้สิทธิกันนะคะ ซึ่งเราก็ควรวางแผนสำหับการดูแลสุขภาพไว้เพราะหากเจ็บป่วยแล้วไม่มีประกันใดใดเลย ค่ารักษาพยาบาลอาจทำให้ล้มละลายได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : www.sso.go.th
ที่มา : มติชนออนไลน์