อาจเป็นปัญหาที่หลายคนประสบอยู่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก
- การสะสมของแบคทีเรียและเชื้อราในปริมาณที่มากกว่าปกติ จากความอับชื้นจากเหงื่อและละอองจากการหายใจ ไอ จาม ที่กระจายอยู่ในหน้ากาก
- การเสียดสี ระคายเคือง ของหน้ากากอนามัยที่ถูไถไปกับผิวหน้า
วิธีการดูแล
- ลดการเอามือมาสัมผัสกับหน้ากากอนามัยมากเกินไป พยายามไม่ขยับ หรือจับหน้ากากอนามัยบ่อยๆ
- ล้างมือให้สะอาดก่อนถอดหรือใส่หน้ากากอนามัย โดยจับที่สายคล้อง
- ถอดหน้ากากอนามัยบ้างระหว่างวัน เพื่อระบายอากาศ ให้ผิวได้หายใจในที่ๆ ไม่มีผู้คนแออัด
- เปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน หากเป็นแบบผ้าซักทำความสะอาดทุกวัน
- ใช้ทิชชูผิวนุ่มสำหรับเช็ดใบหน้า รองใส่หน้ากากอนามัยก่อนหนึ่งชั้น ช่วยลดอาการระคายเคืองจากหน้ากากอนามัย
- เมื่อกลับจากที่ทำงานถึงบ้านให้รีบล้างหน้าให้สะอาด โดยใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาด (cleansing) เครื่องสำอาง ครีมกันแดด สิ่งสกปรกก่อนหนึ่งรอบ ตามด้วยเจลหรือโฟมล้างหน้าตามปกติ
- งดแต่งหน้า
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์เนื้อบางเบาและอ่อนโยนต่อผิว อาจเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน (oil-free) หรือ ไม่ก่อให้เกิดสิว (non-comedogenic)
- พักการสครับผิว ขัดหน้า ในช่วงที่ผิวหน้าแพ้ง่าย ระคายเคือง
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่อากาศร้อน
- หากเหงื่อออกมาให้ถอดหน้ากาก เพื่อให้กระดาษทิชชูซับเหงื่อ
- ดูแลความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้อื่นๆ ด้วย เช่นอุปกรณ์แต่งหน้า ปลอกหมอน
- ดูแลความสะอาดของหน้าแล้ว เส้นผมก็สำคัญ หากระหว่างวันเผชิญกับฝุ่น มลภาวะ หรือเหงื่อออกมาก ควรสระผมทุกวัน
- หากมีอาการของสิวหรือผื่นรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับยารักษาที่ตรงรอยโรค เช่น บางครั้งสิวอาจจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ตัวยารักษาจะแตกต่างกัน ไม่ควรซื้อยาทาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร โดยเฉพาะการใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์
ขอบคุณข้อมูลจาก ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ คอลัมน์ คนงามเพราะแต่ง อภัยภูเบศรสาร ปีที่ 17 ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2563
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์