ลงทะเบียนมาตรการคนละครึ่ง หรือ ช้อปดีมีคืน โครงการไหนคุ้มกว่ากัน ?
มาตรการกรตุ้นเศรษฐกิจที่คณะรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบอนุมัติ 3 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ บรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน และช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ร้านค้ารายย่อย รวมถึงเป็นการสนับสนเศรษฐกิจฐานรากและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
- โครงการเติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน คนละ 1,500 บาท
- โครงการคนละครึ่ง กระตุ้นค่าใช้จ่ายโดยประชาชนออกครึ่งหนึ่งและรัฐบาลออกอีกครึ่ง (Co-pay)
- โครงการช้อปดีมีคืน กระตุ้นการบริโภคประชาชนประเทศในกลุ่มที่เสียภาษี โดยคืนภาษีสูงสุด 30,000 บาทมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สำหรับ โครงการคนละครึ่ง ได้เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2563 เพื่อรับสิทธิ จำนวน 10 ล้านคน หรือจนกว่าสิทธิจะหมด และสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 23 ตุลาคม 2563
- เปิดรายชื่อ ร้านค้า-ร้านอาหาร “คนละครึ่ง” ในห้างเซ็นทรัลทั่วประเทศ
- ลงทะเบียน “คนละครึ่ง” รับเงินรัฐช่วยจ่ายวันละ 150 บาท
ทั้งนี้ เงื่อนไขสำคัญของการรับสิทธิ์ของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั้ง 3 คนโครงการ สามารถเลือกเข้าร่วมได้เพียง 1 มาตรการเท่านั้น เช่น
“เมื่อเลือกลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งไปแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโครงการ ช้อปดีมีคืนได้อีก เมื่อเลือกรับสิทธิ์โครงการช้อปดีมีคืน จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโครงการคนละครึ่งเช่นกัน รวมถึงผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ในโครงการ ทั้ง “คนละครึ่ง” และ “ช็อปดีมีคืน” เช่นกัน”
ดังนั้นควรจะเลือกเข้าร่วมมาตรการที่ตอบโจทย์แก่เราที่มากที่สุด
ช้อปดีมีคืน VS คนละครึ่ง เลือกมาตรการไหนดี?
เนื่องจากทั้ง 2 มาตรการดังกล่าว ประชาชนสามารถเลือกเข้าร่วมโครงการได้เพียงแค่โครงการเดียวเท่านั้น ทำให้ต้องศึกษาถึงเงื่อนไขของมาตรการดังกล่าวอย่างถี่ถ้วน เพื่อรับประโยชน์ของโครงการให้มากที่สุด สำหรับรายละเอียดมีดังนี้
คนละครึ่ง
คุณสมบัติ
- สัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป
- ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- จำนวน 10 ล้านคนหรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด
การลงทะเบียน
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ คนละครึ่ง.com
สิทธิประโยชน์
- รัฐจะช่วยจ่ายสินค้าค่าอาหารเครื่องดื่ม ให้ 50%
- คนละ 3,000 บาทจำกัดสิทธิ์ไม่เกิน 150 บาทต่อวัน
- ชำระเงินผ่านแอปเป๋าตัง (วิธีโหลดแอป “เป๋าตัง”)
สามารถใช้จ่ายกับอะไรได้บ้าง
- สินค้าอาหารเครื่องดื่มกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ
(ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยาสูบลอตเตอรี่และบริการ)
ระยะเวลาในการใช้จ่าย
- 23 ตุลาคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563
เหมาะกับใคร
- ผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี
- สินค้าซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็กตลาดหรือร้านโชห่วย
- มีค่าลดหย่อน ภาษีในส่วนอื่นๆอยู่แล้วทำให้ไม่ต้องเสียภาษี
โครงการช้อปปี้มีคืน
คุณสมบัติ
- ผู้เสียภาษีปี 2563
- ไม่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
การลงทะเบียน
ไม่ต้องลงทะเบียน มีเพียงใบกำกับภาษี
สิทธิประโยชน์
- นำใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการไปรถหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 30,000 บาท
สามารถใช้จ่ายกับอะไรได้บ้าง
- สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
- สินค้าโอทอป
- หนังสือ
(ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บุหรี่ลอตเตอรี่น้ำมันค่าที่พักตั๋วเครื่องบิน)
ระยะเวลาในการใช้จ่าย
- 23 ตุลาคมถึง 31 ธันวาคม 2563
เหมาะกับใคร
- เหมาะกับผู้ที่มีรายได้สุทธิเกิน 500,000 บาท
- ซื้อของในห้างที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าราคาเพิ่ม
- มีแผนที่จะซื้อของราคาสูงปลายปี
- “ศูนย์วิจัยกสิกรฯ” ประเมิน “คนละครึ่ง” หนุนค้าปลีก Q4 หดตัวลดลงเหลือ 7.2%
- แนะรัฐนำมาตรการ “ชิมช้อปใช้-คนละครึ่ง” กระตุ้นเศรษฐกิจการบริโภคในประเทศ
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์