จากรายงานพิเศษจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ปีที่ 19 ฉบับที่ 228 โดย ซินเทีย กอร์นีย์ กล่าวว่า “ยามเผชิญช่วงเวลาวิกฤติ แรงกระตุ้นจากเบื้องลึกที่สุดของมนุษย์ คือการขยับเข้ามาอยู่ใกล้กัน แต่นี่กลับเป็นสิ่งที่เราถูกห้ามทำ”
โดยสถานการณ์ของโรคโควิด-19นี้ มันปรากฏไปทั่วถึงในเรื่องราวการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวัน ผู้เขียนจึงพิมพ์ถามเพื่อนในที่อื่นๆแล้วก็ได้คำตอบที่มากมาย ในบราซิลใช้ว่า Distancia-mento sociale ในฝรั่งเศส Distanciation sociale ส่วนนอร์เวย์ใช้ว่า To meters avstand หรือ ห่างกัน2เมตร และในข้อความของเพื่อนคนหนึ่งในบอสตันยืนยันว่าวลี เว้นระยะห่าง นี้ผิดมาตั้งแต่ต้น สิ่งที่โควิด-19 กะเกณฑ์โลกนี้ไม่ใช่ระยะห่าง “ทางสังคม” เลย เพราะใครก็ตามที่เข้าถึงคอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็สามารถเข้าหาคนอื่นๆ ได้ อย่างรวดเร็วทันใจ แต่ระยะห่างที่ว่านั่นก็ เป็นเรื่องการเว้นระยะห่างทางกายภาพต่างหาก
เพื่อนคนนี้ยังบอกอีกว่าเราก็ยังสามารถเชื่อมต่อกันได้ เพียงแค่เราสัมผัสกันไม่ได้ก็แค่นั้น ซึ่งเราไม่สามารถเข้าไปโอบกอดได้เหมือนดั่งที่เคยทำกันมาได้อีกสักชั่วขณะ เราไม่อาจเดินเบียดกันเข้าไปศาสนสถานต่างๆ หรือโห่ร้องด้วยกันในสนามบอลได้ คำแนะนำด้านสาธารณสุขแถวบ้านฉันอาจเหมือนสาธารณสุขทั่วไปเป็นต้นว่า ห้ามสวมกอด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ไม่สัมผัสกันสักพัก กราฟผู้ติดเชื้อ จะได้กดต่ำลง
โดยให้มาตรการว่า ให้ห่างกันอย่างน้อย2เมตร แต่ปรากฏว่า2เมตรก็อาจจะไม่พอแล้ว จากการเสิร์ชหาทางอินเตอร์เน็ตว่า โควิด-19 ติดเชื้อทางอากาศ ก็จะเห็นได้ว่ามีการถกเถียงไม่รู้จบ ว่าละอองจิ๋วที่เรียกว่าไวรัสโควิด-19 นี้ ที่คนหายใจเขา-ออก จะหาทางเข้าสู่จมูกของคนทั่วๆไปได้ไหม หรือเราควรอยู่ห่างจากคนอื่นสัก6เมตร หรือบางทีเราไม่ควรเดินออกจากประตูบ้านเลยด้วยซ้ำ เพื่อเป็นการป้องกันเชื้ออย่างแท้จริง
จากการพูดคุยก็ยังมีการกล่าวอีกว่า เราต้องอยู่ในสภาพนี้กันไปอีกนานไหม คำตอบก็คงไม่มีใครรู้ เพราะในสถานการณ์ของโรคโควิด-19 นี้ มักจะเกิดขึ้นตามในพื้นที่ชนบท และเชื้อโรคนี้มีการกระจายตัวส่งผลกระทบให้กับคนรอบตัวติดเชื้อกันไปอย่างรวดเร็ว โดยในการพูดคุยของนักเขียนนี้ก็มีอีกหลายๆเสียงที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น ว่าในสถานการณ์แบบนี้ทำให้คนรักหรือครอบครัวหรือแม้แต่เหล่าเพื่อนๆ ต้องห่างกันไป อยู่กันคนละเมืองหรือคนละสถานที่
แต่มันก็จะมีเทคโนโลยีที่เป็นตัวเชื่อมต่อกันให้เรายังสามารถคุยกันได้ติดต่อกันได้และเห็นกันได้ อาจจะไม่ได้ดีเหมือนการที่มานั่งร่วมโต๊ะกินข้าวด้วยกัน แต่ก็ยังดีที่แม้จะเห็นเพียงรอยยิ้มบนหน้าจอสี่เหลี่ยมเล็กๆและเสียงผ่านมือถือ ก็ยังได้พูดคุยและรักษาระยะห่าง เพื่อไม่พาให้เกิดการแพร่เชื้อระลอกใหม่ขึ้นอีก โดยปกติแล้วแรงกระตุ้นเบื้องลึกที่สุดของคนเราในชีวิต ปกติการให้กำลังใจกันในช่วงสถานการณ์ที่วิกฤติก็จะเป็นการได้อยู่ใกล้ชิดกัน กอดและให้กำลังใจกัน แต่ในเมื่อเกิดสถานการณ์ของโรคนี้ขึ้นทุกอย่างจึงมีการปรับเปลี่ยนไปเพื่อที่จะไม่ให้สัมผัสกันแต่เป็นเพียงแค่เสียงผ่านมือให้ได้มีการพูดคุยและให้กำลังใจ จึงให้ส่งผลดีต่อคนที่รักไปได้ในทุกๆฝ่าย
โดยบทสรุปสุดท้ายของนักเขียนได้กล่าวไว้ว่า “ขอพวกเราจงอย่าให้ไวรัสนี้ทำให้วิญญานของพวกเราติดเชื้อ” ที่นักเขียนกล่าวไว้นี้เพราะตัวของเขาได้ยินบาทหลวงแถวแคลิฟเนีย เทศน์ในพิธีเมื่อเดือนก่อนเขากำลังเรียนรู้วิธีเทศน์ออนไลน์ผ่านทางซูม เพราะในช่วงสถานการณ์โควิด-19 นี้ ส่งผลกระทบให้ถึงขั้นการเลิกจ้างงาน ส่งผลกระทบให้กับคนอีกหลายๆคนที่มีการว่างงาน โดยผู้เขียนอยากให้ทุกคนต่างใช้ชีวิตที่ตื่นเช้าเดินออกกำลังกาย ชมสวนชมดอกไม้หน้าบ้านที่กำลังผลิบาน แม้อาจจะต้องออกไปเจอผู้คน ก็จะหมั่นรักษาระยะห่างระหว่างกันไปมา เพื่อเป็นการเตือนกันให้เราอย่าวิตกแค่เพียงเราเริ่มต้นจากการดูแลตัวเอง ก็ยังจะส่งผลดีมีคลื่นที่สามารถบรรเทากันได้ คอยให้กำลังใจกัน แม้หากจะต้องห่างกันไปไกลก็ยังดีที่ในช่วงยุคสมัยนี้ยังมีอุปกรณ์เทคโนโลยีเหล่านี้ ทำให้เราเห็นกันได้ ต่อให้เราจะอยู่กันไกลถึงคนละซีกโลก ซึ่งจะทำให้คนเรามักจะเห็นคุณค่าของเวลากันมากขึ้นในการใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างมีความหมาย
ที่มา : เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ปีที่ 19 ฉบับที่ 228