รู้จัก Refeeding Syndrome กินเยอะหลังอดอาหาร อันตรายถึงชีวิต

Content พาเพลิน

จากข่าวที่พบคนขโมยอาหารกินเป็นจำนวนมาก แต่หนีไปไม่กี่ก้าวก็ล้มลงเสียชีวิต หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นอาการจุกหรือช็อคจนเสียชีวิต อันที่จริงแล้วมีความเป็นไปได้ว่าเขาอาจประสบปัญหา Refeeding Syndrome

Refeeding Syndrome คืออะไร?

ข้อมูลจาก สมาคมโภชนาการเด็ก ระบุว่า Refeeding syndrome เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังการให้อาหารผู้ป่วยขาดสารอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ขาดสารอาหารเฉียบพลันรุนแรง ทําให้ร่างกายเปลี่ยนจาก catabolic state (ภาวะร่างกายย่อยสลายกล้ามเนื้อ) เข้าสู่ anabolic state (ภาวะร่างกายสร้างกล้ามเนื้อ) อย่างเร็ว ทําให้แร่ธาตุและวิตามินลดต่ำลง โดยเฉพาะแร่ธาตุที่อยู่ในเซลล์ (intracellular ions) ได้แก่ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และวิตามินบี มีการคั่งของน้ำและโซเดียม

ทำไมกินอาหารมากๆ ทันทีหลังอดอาหาร ถึงอันตรายต่อร่างกาย?

ในผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารหรืออดอาหาร ร่างกายต้องสลายเนื้อเยื่อไขมันและโปรตีน มาใช้เป็นพลังงาน การหลั่งอินซูลินลดลง แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ ในร่างกายมีระดับต่ำลง เมื่อร่างกายได้รับอาหารไม่ว่าจะเป็นการกินทางปาก ให้ทางสายผ่านทางเดินอาหาร หรือแม้แต่สารน้ำที่มีน้ำตาลทางหลอดเลือด ดํา ทําให้ร่างกายเปลี่ยนกลับมาใช้กลูโคสเป็นพลังงาน ระดับอินซูลินเพิ่มสูงขึ้นนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ ยับยั้งการสลายไขมัน และอินซูลินยังออกฤทธิ์เก็บน้ำและโซเดียม (salt and water retention) เมตาบอลิซึมของกลูโคส ต้องการฟอสฟอรัสจํานวนมาก ระดับฟอสฟอรัสในเลือดจึงต่ำลงอย่างรวดเร็ว โพแทสเซียมและแมกนีเซียมเคลื่อนเข้าสู่เซลล์ ทําให้ระดับในเลือดต่ำลง ร่างกายต้องการวิตามินบี 1 ซึ่งเป็น cofactor ของเมตาบอลิซึมของกลูโคสเพิ่มขึ้น

อาการที่พบในผู้ป่วย Refeeding Syndrome

ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงได้ แตกต่างกันตามความรุนแรงของแร่ธาตุที่ผิดปกติ ตั้งแต่ตรวจเลือดพบระดับแร่ธาตุต่างๆต่ำลงแต่ยังไม่มีอาการแสดง จนถึงมีความผิดปกติในระบบต่างๆ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบเลือด ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และรุนแรงจนเสียชีวิตได้

ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดต่ำ

  • อ่อนแรง ชา
  • กล้ามเนื้อกะบังลมทำงานผิดปกติ
  • ระบบหายใจล้มเหลว
  • เกิดการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (hemolysis)
  • การทำงานของหัวใจผิดปกติ
  • เกิดอาการของโรคสมอง (encephalopathy)
  • สับสน ซึม ชัก

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการสลายของกล้ามเนื้อ
  • ระบบหายใจล้มเหลว
  • กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ

  • อ่อนแรง กล้ามเนื้อ กระตุก
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ถ่ายเหลว
  • ระดับโพแทสเซียม และแคลเซียมต่ำ
  • คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • สับสน เกร็ง ชัก ซึม

ภาวะขาดวิตามินบี 1

  • เลือดเป็นกรดจากการคั่งของกรดแลคติก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หัวใจวาย
  • สับสน ซึม
  • เกิดอาการของโรคสมอง (encephalopathy)

ระดับเกลือแร่และแร่ธาตุทั้งฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่ต่ำลงมีผลต่อการเต้นของหัวใจ ทําให้เต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบหายใจล้มเหลว มีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) คลื่นไส้ อาเจียน ซึม ชัก การขาดวิตามินบี 1 ที่พบร่วมด้วยทําให้หัวใจวาย ซึม สับสน มีภาวะเลือดเป็นกรดจาก กรดแลคติก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่วมกับการคั่งของน้ำและเกลือโซเดียม ทําให้ผู้ป่วยอาการทรุดลง และเสียชีวิต ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นได้ใน 2-3 วันแรกหลังผู้ป่วยเริ่มได้รับอาหาร

วิธีป้องกันภาวะ Refeeding Syndrome

ทีมแพทย์และพยาบาลจะดูแลผู้ป่วยภาวะ Refeeding Syndrome ด้วยความตระหนักว่าผู้ป่วย โรคขาดสารอาหารรุนแรงหรือผู้ป่วยที่อดอาหารหรือได้รับอาหารไม่พอในระยะหนึ่งล้วนเสี่ยงต่อภาวะ Refeeding Syndrome ได้ จึงต้องให้อาหารและเฝ้าระวังดังนี้

  1. เริ่มให้โภชนบําบัดโดยค่อยๆ เพิ่มพลังงานที่ผู้ป่วยได้รับจากร้อยละ 20-25 ของความต้องการ พลังงาน จนเพียงพอกับความต้องการพลังงานทั้งหมดในปลายสัปดาห์แรก
  2. ติดตามระดับอิเลกโทรไลต์และแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และ แคลเซียมเมื่อแรกรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล และติดตามอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ในสัปดาห์แรกที่เริ่มให้ โภชนบําบัด หากผิดปกติให้รักษาและติดตามผลอย่างใกล้ชิด
  3. ติดตามปริมาณสารน้ำที่ผู้ป่วยได้รับ ปริมาณปัสสาวะและการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
  4. ให้วิตามินบี 1 ขนาด 25-100 มก./วัน ทางปากหรือทางหลอดเลือดดํา ก่อนเริ่มให้อาหารและให้ ต่อเนื่องอีก 7-10 วัน

ที่มา : Sanook