ผ่อนปรนมาตรการต่างๆ ให้เหล่าคนรักสุขภาพ ได้ออกไปวิ่ง หรือ ออกกำลังกาย ทั้งที่ฟิตเนส และสวนสาธารณะได้แล้ว
แน่นอนว่า เพื่อลดความเบื่อหน่ายในการออกกำลังกายของใครหลายคน ส่วนใหญ่ก็มักจะใส่หูฟังรูปแบบต่างๆ เป็นอุปกรณ์ยอดฮิต พกติดตัว ให้เสียงเพลงเป็นเพื่อนในการฟิต แอนด์ เฟิร์ม
แต่การฟังเพลงขณะออกกำลังกาย มีประโยชน์มากกว่านั้น
การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนอกจากจะช่วยลดความเบื่อหน่ายแล้ว ยังช่วยพัฒนาคุณภาพในการออกกำลังกาย โดยการเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย
มีงานวิจัยที่ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง Electroencephalogram (EEG) ในขณะฟังเพลงพบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นช่วยลดคลื่นธีต้า (Theta waves) ชนิดความถี่ 4-7 เฮิร์ต (Hz) ได้2ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระงับอาการเมื่อยล้าต่างๆ นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนบอกว่า หากวิ่งพร้อมฟังเพลงไปด้วย จะทำให้วิ่งได้นานขึ้นก็เป็นได้
เมื่อดูผลของการฟังเพลงที่มีต่อระบบการทำงานของร่างกายขณะออกกำลังกาย พบว่า การฟังเพลงที่ทำให้เรารู้สึกสนุกสนานจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงข้าม หากฟังเพลงที่ฟังแล้วหดหู่ การไหลเวียนโลหิตก็จะลดลงไปถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ร่างกายนำออกซิเจนไปใช้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน
ถึงตอนนี้หลายคนคงพอจะทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงไปบ้างแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วต้องเลือกเพลงแบบไหนมาใช้ฟังขณะออกกำลังกายกันนะ
การเลือกระดับความเร็วของเพลงที่ฟังขณะออกกำลังกายก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้ มีงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว จะส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกาย เมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลาง
โดยที่การออกกำลังกายแต่ละชนิดก็จะมีระดับความเร็ว ของจังหวะเพลงที่เหมาะสมแตกต่างกัน เช่น หากต้องการปั่นจักรยานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 125 – 140 BPM6 หรือเวลาวิ่งบนลู่วิ่งสายพานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 123-131 BPM7
แต่ทั้งนี้ร่างกายของแต่ละบุคคลก็จะตอบสนองต่อระดับจังหวะความเร็วของเพลงที่แตกต่างกัน ลองเลือกเพลงที่คุณชอบ ที่สามารถทำให้การออกกำลังกายของคุณสนุกสนาน มาจัดเพลย์ลิสต์ให้เหมาะสม แล้วไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอกันเถอะ
ที่มา สสส.