ฟรี! “คลินิกโรคจากการทำงาน” จากประกันสังคม เพื่อวัยทำงาน

Human of Office ชีวิตมนุษย์เงินเดือน

แม้ว่าผู้ประกันตนจะทราบถึงสิทธิประกันสังคมกันดีอยู่แล้วว่าสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลฟรีได้ในสถานพยาบาลที่เลือกไว้ในแต่ละปี โดยสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลหรือเช็กรพ.ที่ว่างได้หลากหลายช่องทาง ทั้งยื่นเรื่องด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม เลือกผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th) หรือเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านแอปพลิเคชั่น SSO Connect

แต่หลายคนยังไม่ทราบว่านอกจากสถานพยาบาลที่เราเลือกไว้ในแต่ละปีแล้ว ผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับการรักษาจาก “คลินิกโรคจากการทำงาน” ซึ่งเป็นบริการสำหรับลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานโดยเฉพาะได้อีกด้วย

รู้จัก “คลินิกโรคจากการทำงาน”

คลินิกโรคจากการทำงานเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีการดูแลลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการทำงานอย่างเป็นระบบ ทั้งการตรวจรักษา วินิจฉัยโรค และให้การรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน รวมถึงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดอุบัติเหตุจากการทำงาน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและส่งเสริมงานด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานแก่สถานประกอบการ และยังสนับสนุนดำเนินการด้านการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานด้วย

เงื่อนไขไม่ซับซ้อน ฟรีทุกขั้นตอน

ลูกจ้างที่สงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยได้ที่คลินิกโรคจากการทำงานได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากให้บริการฟรีในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวินิจฉัยโรค จนถึงกระบวนการดูแลรักษา

และหากผลการตรวจพบว่าลูกจ้างไม่ได้เจ็บป่วยจากการทำงาน จะไม่มีการเรียกเก็บเงินในการตรวจวินิจฉัยแต่อย่างใด เนื่องจากกองทุนเงินทดแทนให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่โรงพยาบาลแล้ว

ขั้นตอนเข้ารับบริการ

  • กรณีผู้ประกันตนถือบัตรรับรองสิทธิของโรงพยาบาลที่ให้บริการคลินิกโรคจากการทำงาน สามารถเข้ารับบริการได้ โดยติดต่อคลินิกประกันสังคมเพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น หากพยาบาลที่คัดกรองโรค หรือแพทย์ผู้ทำการตรวจวินิจฉัยสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน จะส่งต่อไปยังคลินิกโรคจากการทำงาน
  • กรณีผู้ประกันตนถือบัตรรับรองสิทธิกองทุนประกันสังคมของโรงพยาบาลอื่น หากสงสัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงาน สามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด และทำหนังสือส่งตัวมายังคลินิกโรคจากการทำงาน เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยด้วยโรคจากการทำงานหรือไม่

ทั้งนี้ หากวินิจฉัยแล้วเป็นโรคเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างแจ้งยื่นแบบการประสบอันตราย (กท.16) ต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน 15 วัน และมีหนังสือส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล (กท.44) ไปยังโรงพยาบาล ให้โรงพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในส่วนของกองทุนเงินทดแทนจากสำนักงานประกันสังคมโดยตรง

สถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการปี 2564

ปัจจุบัน มีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการคลินิกโรคจากการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดในปี 2564 มีสถานพยาบาลทั้งสิ้น 118 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 6 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 1 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 111 แห่งทั่วประเทศ ดังนี้

ภาคกลาง 24 แห่ง

1. โรงพยาบาลรามาธิบดี  (กรุงเทพมหานคร)

2. สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (สมุทรปราการ)

3. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (กรุงเทพมหานคร)

4. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา (พระนครศรีอยุธยา)

5. โรงพยาบาลสระบุรี (สระบุรี)

6. โรงพยาบาลพระพุทธบาท (สระบุรี)

7. โรงพยาบาลปทุมธานี (ปทุมธานี)

8. โรงพยาบาลนครนายก (นครนายก)

9. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า (นนทบุรี)

10. โรงพยาบาลสิงห์บุรี (สิงห์บุรี)

11. โรงพยาบาลอ่างทอง (อ่างทอง)

12. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช (ลพบุรี)

13. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (สุพรรณบุรี)

14. โรงพยาบาลราชบุรี (ราชบุรี)

15. โรงพยาบาลโพธาราม (ราชบุรี)

16. โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (กาญจนบุรี)

17. โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 (สุพรรณบุรี)

18. โรงพยาบาลสมุทรสาคร (สมุทรสาคร)

19. โรงพยาบาลนครปฐม (นครปฐม)

20. โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเพชรบุรี (เพชรบุรี)

21. โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า (สมุทรสงคราม)

22. โรงพยาบาลกระทุ่มแบน (สมุทรสาคร)

23. โรงพยาบาลหัวหิน (ประจวบคีรีขันธ์)

24. โรงพยาบาลอินทร์บุรี (สิงห์บุรี)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 28 แห่ง

1. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ขอนแก่น)

2. โรงพยาบาลขอนแก่น (ขอนแก่น)

3. โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ (กาฬสินธุ์)

4. โรงพยาบาลมหาสารคาม (มหาสารคาม)

5. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด (ร้อยเอ็ด)

6. โรงพยาบาลสิรินธร (ขอนแก่น)

7. โรงพยาบาลอุดรธานี (อุดรธานี)

8. โรงพยาบาลนครพนม (นครพนม)

9. โรงพยาบาลเลย (เลย)

10. โรงพยาบาลสกลนคร (สกลนคร)

11. โรงพยาบาลหนองคาย (หนองคาย)

12. โรงพยาบาลกุมภวาปี (อุดรธานี)

13. โรงพยาบาลวานรนิวาส (สกลนคร)

14. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (นครราชสีมา)

15. โรงพยาบาลชัยภูมิ (ชัยภูมิ)

16. โรงพยาบาลสุรินทร์ (สุรินทร์)

17. โรงพยาบาลนางรอง (บุรีรัมย์)

18. โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา (นครราชสีมา)

19. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ (อุบลราชธานี)

20. โรงพยาบาลมุกดาหาร (มุกดาหาร)

21. โรงพยาบาลยโสธร (ยโสธร)

22. โรงพยาบาลศรีสะเกษ (ศรีสะเกษ)

23. โรงพยาบาลอำนาจเจริญ (อำนาจเจริญ)

24. โรงพยาบาลวารินชำราบ (อุบลราชธานี)

25. โรงพยาบาลหนองบัวลำภู (หนองบัวลำภู)

26. โรงพยาบาลบึงกาฬ (บึงกาฬ)

27. โรงพยาบาลปราสาท (สุรินทร์)

28. โรงพยาบาลบ้านผือ (อุดรธานี)

ภาคเหนือ 25 แห่ง

1. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (เชียงใหม่)

2. โรงพยาบาลลำปาง (ลำปาง)

3. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (เชียงราย)

4. โรงพยาบาลนครพิงค์ (เชียงใหม่)

5. โรงพยาบาลน่าน (น่าน)

6. โรงพยาบาลพะเยา (พะเยา)

7. โรงพยาบาลแพร่ (แพร่)

8. โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ (แม่ฮ่องสอน)

9. โรงพยาบาลลำพูน (ลำพูน)

10. โรงพยาบาลแม่เมาะ (ลำปาง)

11. โรงพยาบาลห้างฉัตร (ลำปาง)

12. โรงพยาบาลแม่จัน (เชียงราย)

13. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว (น่าน)

14. โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (อุตรดิตถ์)

15. โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตาก)

16. โรงพยาบาลแม่สอด (ตาก)

17. โรงพยาบาลสวรรคโลก (สุโขทัย)

18. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์)

19. โรงพยาบาลสุโขทัย (สุโขทัย)

20. โรงพยาบาลพิจิตร (พิจิตร)

21. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (นครสวรรค์)

22. โรงพยาบาลอุทัยธานี (อุทัยธานี)

23. โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร (ชัยนาท)

24. โรงพยาบาลกำแพงเพชร (กำแพงเพชร)

25. โรงพยาบาลศรีสังวร (สุโขทัย)

ภาคใต้ 25 แห่ง

1. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (สงขลา)

2. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี)

3. โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช)

4. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (ภูเก็ต)

5. โรงพยาบาลกระบี่ (กระบี่)

6. โรงพยาบาลเกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี)

7. โรงพยาบาลตะกั่วป่า (พังงา)

8. โรงพยาบาลระนอง (ระนอง)

9. โรงพยาบาลพังงา (พังงา)

10. โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ชุมพร)

11. โรงพยาบาลท่าโรงช้าง (สุราษฎร์ธานี)

12. โรงพยาบาลหาดใหญ่ (สงขลา)

13. โรงพยาบาลตรัง (ตรัง)

14. โรงพยาบาลพัทลุง (พัทลุง)

15. โรงพยาบาลสงขลา (สงขลา)

16. โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ (นราธิวาส)

17. โรงพยาบาลปัตตานี (ปัตตานี)

18. โรงพยาบาลยะลา (ยะลา)

19. โรงพยาบาลสตูล (สตูล)

20. โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก (นราธิวาส)

21. โรงพยาบาลเบตง (ยะลา)

22. โรงพยาบาลจะนะ (สงขลา)

23. โรงพยาบาลทุ่งสง (นครศรีธรรมราช)

24. โรงพยาบาลสะบ้าย้อย (สงขลา)

25. โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ (สุราษฎร์ธานี)

ภาคตะวันออก 16 แห่ง

1. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา (ชลบุรี)

2. โรงพยาบาลระยอง (ระยอง)

3. โรงพยาบาลพุทธโสธร (ฉะเชิงเทรา)

4. โรงพยาบาลชลบุรี (ชลบุรี)

5. โรงพยาบาลสมุทรปราการ (สมุทรปราการ)

6. โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี (จันทบุรี)

7. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ปราจีนบุรี)

8. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว (สระแก้ว)

9. โรงพยาบาลพานทอง (ชลบุรี)

10. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (ระยอง)

11. โรงพยาบาลตราด (ตราด)

12. โรงพยาบาลบ้านฉาง (ะยอง)

13. สถาบันราชประชาสมาสัย  รพ.พระประแดง (สมุทรปราการ)

14. โรงพยาบาลแกลง (ระยอง)

15. โรงพยาบาลบางพลี (สมุทรปราการ)

16. โรงพยาบาลอรัญประเทศ (สระแก้ว)

โดยผู้ประกันตนสามารถ เช็กโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครทั้ง 12 แห่ง รวมถึงตามจังหวัดต่างๆ หรือ โทร. 1506 ซึ่งให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม