คนจีนนิยมนำมาเป็นเครื่องบวงสรวงในพิธีไหว้บรรพบุรุษในวันตรุษ วันสารท วันไหว้เทวดา หรืองานรับขวัญเด็กเกิดใหม่ ตามความหมายในภาษาจีน อังคือสีแดง เป็นสีแห่งความเป็นมงคล ส่วนกู๊คือเต่า อังกู๊จึงหมายถึง “อายุมั่นขวัญยืน” อังกู๊ มี 2 ชนิดหลักคือ อังกู๊จากแป้งข้าวเหนียว ข้างในเป็นไส้ถั่วเขียวกวน อันนี้เราจะเห็นกันบ่อยมาก โดยเขาจะใช้แป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำ น้ำมันพืช น้ำตาล เติมสีผสมอาหารเล็กน้อยให้เนื้อแป้งมีสีแดงอ่อนๆ ในส่วนของไส้ใช้ถั่วทองที่หุงสุกกวนกับน้ำตาลจนแห้งปั้นเป็นลูกกลมๆ ห่อด้วยแป้งข้าวเหนียวที่เตรียมไว้ นำไปกดลงในพิมพ์รูปเต่า เคาะออกมาเป็นตัวแล้วนำไปนึ่งจนสุก นอกจากสีแดงแล้ว สามารถทำได้อีกหลากหลายสีตามความต้องการของผู้ทำ แต่หากเป็นงานอวมงคล (งานไหว้หน้าศพ) จะต้องใช้ขนมเต่าที่มีสีขาวเท่านั้น ส่วนอังกู๊อีกอย่างนั้นทำจากแป้งสาลี เรียกว่า ตั๋วกู๊ วิธีการทำคล้ายกัน แต่นำไปอบในเตาแล้วจึงนำมาทาด้วยสีแดง
ที่มา : แม่บ้าน