กั-ญ-ช-า มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?

Content พาเพลิน

กั-ญ-ช-า เริ่มต้นขึ้นมาที่ไหน อย่างไร ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่ถ้าหากจะบอกว่ามีการนำ กั-ญ-ช-า มากินเมื่อไหร่ ที่ไหนนั้น เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล มีหลักฐานของชาวจีนยุคโบราณที่แสดงให้เห็นว่าได้นำเมล็ด กั-ญ-ช-า มาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร และต่อมาราว 2,500 ปี เริ่มถูกสั่งห้ามในจีน เนื่องจากได้รับการสันนิษฐานว่าทำให้เด็กๆ และวัยรุ่นไม่เคารพผู้ใหญ่ เหมือนทำให้สติไม่อยู่กับตัว

ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2202 มีการใช้ กั-ญ-ช-า ในการรักษาโรคมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในตำรับแพทย์แผนไทยมากถึง 98 ตำรับ ส่วนใหญ่ใช้รักษาอาการโรคนอนไม่หลับ อาการปวด ขับลม ตกเลือด ฯลฯ ต่อมาอีกปี พ.ศ.2477 พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของไทย ตราพระราชบัญญัติ กั-ญ-ช-า ห้ามให้ผู้ใด ปลูก นำเข้า ซื้อขายหรือเสพ กั-ญ-ช-า เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นจะได้รับโทษทั้งจำและปรับ

พ.ศ. 2504 กั-ญ-ช-า กลายเป็นพืชต้องห้าม หลังจากสหประชาชาติประกาศลงนามในสนธิสัญญาร่วม เพื่อปราบยาเสพติดให้หมดไป แต่ขณะเดียวกันที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์กลับตัดสินใจจัดประเภทยาเสพติดใหม่ ให้ กั-ญ-ช-า เป็นยาเสพติดชนิดไม่ร้ายแรง สามารถนำมาใช้ในการผ่อนคลายได้ โดยเฉพาะในกาแฟ

พ.ศ. 2515 หลังจากกำหนดให้ กั-ญ-ช-า กลายยาเสพติดชนิดรุนแรง ทำให้เกิดการวิจารณ์จากแพทย์และนักวิชาการทั่วโลกเกี่ยวกับ กั-ญ-ช-า จะมีผลออกฤทธิ์ทำให้มึนเมาและเสี่ยงต่อการเสพและติด แต่ทางด้านการรักษานั้นยังมีประโยชน์มาก

พ.ศ. 2522 รัฐบาลไทยออกพระราชบัญญัติยาเสพติดที่ใช้กันมาถึงปัจจุบัน โดยจัดให้ กั-ญ-ช-า อยู่ในประเภทที่ 5

พ.ศ. 2539 กั-ญ-ช-า ได้รับความสนใจมากขึ้นในโลกตะวันตก โดยนำมาใช้ในการรักษาทางการแพทย์ โดยทีมแพทย์จากสหรัฐอเมริกานำ กั-ญ-ช-า มารักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ และรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่สามารถนำ กั-ญ-ช-า มาใช้ในเชิงการแพทย์ได้อย่างถูกกฏหมาย ส่งผลให้ปัจจุบันมีอีก 20 ประเทศ ที่เปลี่ยนให้ กั-ญ-ช-า เป็นพืชที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่มีข้อบังคับใช้ที่แตกต่างกันออกไป

ปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทย โดยคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบหลักการประมวลกฏหมายยาเสพติดให้โทษฉบับใหม่ วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 ซึ่งมีบทอนุญาตให้ใช้ กั-ญ-ช-า ในทางการแพทย์และศึกษาวิจัยในมนุษย์ ภายใต้การทำงานของ 4 คณะ คือ คณะทำงานเพื่อการพัฒนาการปลูกและปรับปรุงสายพันธุ์ คณะการทำงานเพื่อพัฒนาในการสกัดฯ คณะทำงานเพื่อพิจารณา กั-ญ-ช-า มาใช้ในการแพทย์ และ คณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมฯ