สาวเจนวาย จ.น่าน ขายน้ำพริกในเฟซบุ๊ก เมนูเด็ด “น้ำพริกน้ำย้อย – น้ำพริกหมูกระจก” ลูกค้าโซเชียลแห่อุดหนุน รับทรัพย์เดือนละล้าน
33
ผู้เขียน | วัชรี ภูรักษา |
---|---|
เผยแพร่ | วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 |
“ซะป๊ะน้ำพริก” เริ่มต้นจากความต้องการที่จะทำให้คนทั่วไปได้รู้จักกับอาหารพื้นบ้านของจังหวัดแพร่ เนื่องจากเราเล็งเห็นว่าในจังหวัดแพร่ มีสินค้าดีๆ และอาหารอร่อยๆ อยู่มากมายไม่แพ้จังหวัดอื่น และชอบที่จะเป็นแม่ค้าขายของ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ คุณพิชญาภา สำเนียง เจ้าของเพจ ซะป๊ะน้ำพริก และเจ้าของโรงงานทำน้ำพริกที่จังหวัดแพร่ วัยเพียง 26 ปี
เธอเล่าให้ฟังว่า “เมื่อประมาณ 3 ปีก่อน เคยทำงานบริษัทอยู่ที่กรุงเทพฯ ในตำแหน่งฝ่ายขาย การตลาด ช่วงที่ทำงานประจำก็กลับบ้านเกิดที่จังหวัดแพร่บ้าง เลยอยากนำเอาของดีของจังหวัดแพร่ คือ น้ำพริกน้ำย้อย มาขาย โดยอาศัยเพื่อนสนิทช่วยจัดส่งของให้ และตัวเราเองก็ทำการตลาดอยู่ที่กรุงเทพฯ
เราเริ่มจากการรับน้ำพริกของชาวบ้านมาแบ่งบรรจุลงแพ็กเกจให้น่ารักสวยงาม ถ่ายภาพลงโซเชียลและโปรโมตขาย ช่วงแรกๆ ค่อนข้างยาก เนื่องจากคนไม่รู้จักน้ำพริกที่เราขาย เน้นขายเฉพาะคนรู้จัก กลายเป็นความอร่อยที่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก ภายในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี เราทำให้คนรู้จัก น้ำพริกน้ำย้อย และน้ำพริกหมูกระจก เป็นที่รู้จัก
ขายไปขายมา มันเกิดขายดี คนชอบ แต่ก็มีปัญหาเรื่องการผลิต เพราะน้ำพริกที่เราเอามาขาย เป็นน้ำพริกที่ชาวบ้านเป็นคนทำมาส่งให้ ก็ผลิตให้ไม่ทัน บางครั้งก็เรื่องคุณภาพบ้าง เราเลยตัดสินใจที่จะทำอย่างจริงจัง”
ช่วงเดือนมีนาคม ปี 2560 จึงเริ่มตั้งโรงงาน เพื่อผลิตน้ำพริกขายเอง โดยโรงงานได้รับมาตรฐาน อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และจดทะเบียนพาณิชย์ เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คุณพิชญาภา บอก
“การตลาดเราเน้นขายออนไลน์เป็นหลัก ไม่ได้มีหน้าร้าน ทำมากว่า 2 ปีแล้ว จากเมื่อก่อนที่ขายค่อนข้างลำบาก ปัจจุบันเป็นที่รู้จักมากขึ้น ขายได้วันละประมาณ 1,000 กระปุก รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 1 ล้านบาท”
จากคนทำงานประจำ ไม่ได้ต้องมารับผิดชอบชีวิตใคร จนมาเป็นเจ้าของกิจการเอง คุณพิชญาภา บอกว่า มีความยากอยู่ไม่น้อย เพราะมีความกดดัน และต้องรับผิดชอบชีวิตพนักงานในโรงงานอีกหลายคน มีเรื่องภาระต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่ต้องดูแลด้วย เธอมีแนวคิดของการบริหารจัดการ คือ กระจายหน้าที่การทำงานให้ชัดเจน เพราะธุรกิจของเธอ เป็นธุรกิจไม่ใหญ่มาก เป็นธุรกิจครอบครัว ดังนั้น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนว่าใครดูแลเรื่องอะไร ต้องเอาให้ชัด เพราะหากมีปัญหาที่จุดไหน คนที่มีหน้าที่ตรงนั้นจะต้องรับผิดชอบ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาในภายหลัง ทำให้งานเป็นระบบและได้คุณภาพด้วย
ทั้งนี้ คุณพิชญาภา บอกอีกว่า “ปัจจุบัน มีน้ำพริกที่ทำขายประมาณ 10 รสชาติ คือ 1. น้ำพริกน้ำย้อย 2. น้ำพริกหมูกระจก ซึ่งขายดีมาก 3. น้ำพริกหมูกระจกต้มยำ 4. น้ำพริกหมูกระจกผัดข่า 5. น้ำพริกปลากระจก 6. น้ำพริกน้ำย้อยสูตรอิสลาม 7. น้ำพริกน้ำย้อยปลาป่น 8. น้ำพริกหนุ่ม 9. น้ำพริกตาแดง 10. น้ำพริกปลาร้าสับ
ส่วนพื้นที่ที่มีการสั่งซื้อมาก คือ กรุงเทพฯ ชลบุรี ปทุมธานี และสุราษฎร์ธานี และสินค้านี้จะขายดีในกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ เพราะสามารถรับประทานได้ง่าย
สำหรับใครที่สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook page : ซะป๊ะน้ำพริก
- รู้จัก Matichon Academy
- Course น่าสนใจ
- ตารางเรียน
- ทัวร์สนุกไปกับเรา
- Content พาเพลิน
- Food Story อาหาร
- Review พาชิมพาส่อง
- Recipes สูตรอาหาร
- Tips & Tricks สารพันเกร็ดน่ารู้
- Travel ท่องเที่ยว
- Culture ศิลปวัฒนธรรม
- Journal ข่าวสาร
- Talk with Matichon Academy บทสัมภาษณ์
- Business ธุรกิจ
- Human of Office ชีวิตมนุษย์เงินเดือน
- Money เงินทองต้องรู้
- Lifestyle ไลฟ์สไตล์
- Health สุขภาพดีๆ
- Technology
- Entertainment บันเทิง
- Event อีเวนต์
- Promotion โปรโมชั่น
- บริการของเรา
- ติดต่อเรา