….เก็บตกงานเสวนา ‘ไย …ฉานจึงสิ้นแสง’ ประวัติศาสตร์ และความจริงที่รอวันพูดถึง….
<img src=”http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/09/%E0%B9%84%E0%B8%A2%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87.jpg” border=”0″ alt=”(จากซ้ายไปขวา) ” ลือชัย”,=”ลือชัย”,” หาญวงศ์”=”หาญวงศ์”” สายฟ้า”=”สายฟ้า”” ค่ำคูณ””=”ค่ำคูณ””” width=”500″ height=”300″ style=”display: block; margin-left: auto; margin-right: auto;” />
ผู้เขียน | สรวิศ รุ่งเลิศมณีพงศ์ |
---|---|
ที่มา | มติชนรายวัน |
เผยแพร่ | 8 ก.ย. 59 |
ผู้คนต่างสัญชาติทั้งไทย และไทใหญ่ ต่างทยอยเดินทางมายัง “ห้องประชุม ศ.ดร.ประสาท หลักศิลา” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เพื่อร่วมงานเสวนา “ไย…ฉานจึงสิ้นแสง”
ทั้งหมดต่างถูกยึดโยงด้วย “ประวัติศาสตร์” จากชีวิตของ “อิงเง่ ซาเจนท์” นักศึกษาสาวออสเตรียที่พบรักอย่างสุดซึ้งกับนักศึกษาหนุ่มชาวพม่าในขณะที่ เดินทางไปศึกษาต่อที่รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา แต่หารู้ไม่เมื่อความจริงปรากฏเขาคือ “เจ้าฟ้าจาแสงแห่งรัฐฉาน” และนั่นจึงทำให้เธอกลายเป็น “สุจันทรีมหาเทวีราชินี”
ก่อนที่เธอและเขาจะกลับมายังรัฐฉานร่วมกันสานฝันพัฒนาความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่
ทว่า ความฝันของทั้งคู่นั้นแสนสั้น เมื่อนายพลเนวินได้ทำการยึดอำนาจ เจ้าฟ้าจาแสงถูกจับหายไปอย่างไร้ร่องรอยจนถึงปัจจุบัน ขณะที่อิงเง่ พร้อมด้วยธิดาทั้งสองได้หลบหนีออกจากเมียนมาและใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐ เธอได้ใช้เวลาในการเรียบเรียงความทรงจำกลั่นกรองออกมาเป็นหนังสือ Twilight over Burma-My life as a Shan Princess หรือ “สิ้นแสงฉาน” แปลเป็นภาษาไทยโดย มนันยา และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน
ซึ่งปรากฏว่าได้รับความนิยมจากแฟนหนังสือชาวไทยเป็นอย่างมาก จนล่าสุดมีการพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ 10 เป็นที่เรียบร้อย
นั่น เองจึงเป็นที่มาของงานเสวนา “ไย…ฉานจึงสิ้นแสง” โดยมีวิทยากรที่คร่ำหวอดและเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็น “สมฤทธิ์ ลือชัย”, “ลลิตา หาญวงศ์” รวมไปถึง “จ๋ามตอง สายฟ้า” แขกพิเศษชาวไทใหญ่ และดำเนินรายการโดย “อัครพงษ์ ค่ำคูณ”
“หนังสือเล่มนี้ถือ ว่าผสมผสานหลายอย่างเข้าเอาไว้ด้วยกัน แต่เชื่อว่ามีอย่างหนึ่งที่สาวๆ คงชอบแน่ๆ คือ อ่านแล้วนึกฝันว่าตัวเองเป็นอิงเง่”
“คือ อยากจะไปเจอหนุ่มคนหนึ่งที่ไปเรียนกับเรา สุดท้ายเมื่อเขาพาคุณกลับบ้านก็อยากให้เขาเอ่ยว่า เธอรู้ไหมว่าฉันคือใคร” อัครพงษ์ หนึ่งในนักวิชาการผู้มากด้วยอารมณ์ขัน เริ่มต้นดำเนินรายการด้วยการกล่าวแซวผู้มาร่วมงานถือว่าเรียกเสียงหัวเราะจากทั่วห้องประชุมได้เป็นอย่างดี ก่อนที่เขาจะจัดแจงให้สมฤทธิ์แสดงความเห็นเป็นคนแรก
สม ฤทธิ์ ที่วันนี้แต่งองค์ทรงเครื่องชนิดจัดเต็ม ได้เริ่มว่า หากเรามองดูตามภูมิศาสตร์จะพบว่ารัฐฉานเป็นรัฐที่ใหญ่มากอุดมสมบูรณ์ด้วย ทรัพยากรทางธรรมชาติ และเป็นเส้นทางค้าขายกับประเทศจีน
“นั่นจึงทำให้บรรดาเจ้าฟ้าต่างๆ มีฐานะที่จะส่งลูกหลานไปเรียนต่างประเทศ รวมไปถึงเจ้าฟ้าจาแสงแห่งรัฐฉานด้วย”
สม ฤทธิ์ ได้อธิบายว่า จากโอกาสได้ร่ำเรียนในต่างแดน ทำให้เจ้าฟ้าจาแสงค่อนข้างมีแนวคิด “ก้าวหน้า” และเป็นมาก เห็นได้จากแนวคิดต่างๆ เช่น ยกที่นาหลวงของเจ้าฟ้าให้แก่ชาวบ้าน เพราะเห็นว่าเมื่อเขาเป็นคนทำ นาควรเป็นของเขา
“นี่เป็นแนวคิดที่ก้าวหน้ามากของเจ้าฟ้าและความก้าวหน้านี่อาจจะเป็นหนึ่งในหลายเหตุผลที่ท่านถูกทำให้เป็นบุคคลสาบสูญจนทุกวันนี้”
สม ฤทธิ์ กล่าวอีกว่า หนังสือเล่มนี้ถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ช่วง “เปลี่ยนผ่าน” ได้ทำให้เห็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญมากๆ ของการเมืองพม่า นอกจากนี้ยังเป็นการพูดถึงชีวิตของคนตะวันตกที่ต้องมาเป็นคนตะวันออก จากสามัญชนมาเป็นเจ้าฟ้า
“ถ้าคนโรแมนติกรักกันก็น่าสนใจแต่ไม่ค่อยโดนเท่าไร ไม่เหมือนอย่างในหนังสือเล่มนี้” เขากล่าวพร้อมหัวเราะ
“แต่ อีกมุมหนึ่งหนังสือเล่มนี้ถ้าท่านอ่านเงียบๆ เชื่อว่าจะเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่ในระหว่างบรรทัด สะท้อนสิ่งที่ภรรยาของเจ้าจาแสงพยายามบอกกับเราผ่านทางตัวหนังสือ”
สมฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ถ้าอ่านแต่ต้นมาอิงเง่จะเป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสตกหลุมรักกับ เจ้าฟ้า แต่ในตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้จะเป็นการเปิดเผยตัวตนจริงของอิงเง่ว่าเป็น ผู้หญิงที่แกร่งมาก
“ผู้หญิงคนเดียวที่ถูกรัฐบาลเผด็จการไล่บี้แต่สู้เพื่อลูกๆ ได้ ท่านทำอย่างไรต้องอ่านแล้วจึงจะรู้” สมฤทธิ์ทิ้งท้าย
อัครพงษ์ เสริมขึ้นมาอีกครั้งก่อนวิทยากรคนต่อไปว่า เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเขาสามารถสรุปง่ายๆ ว่า ระบอบเผด็จการไม่เคยรักษาอย่างอื่นเลยยกเว้นอำนาจของตัวเองก่อนที่ จะส่งไมค์ต่อไปให้ที่ลลิตา ให้ช่วย “ไขปริศนา” ถึงความสัมพันธ์และระบบการปกครองของพม่าในช่วงเวลานั้นที่ดูเหมือนจะทับซ้อน กันอยู่หลายชั้น
“เชื่อว่าสิ่งที่เตรียมมาพูดในวันนี้อาจารย์สมฤทธิ์ คงพูดไปกว่า 99 เปอร์เซ็นต์แล้ว” ลลิตากล่าวพร้อมหัวเราะ ก่อนที่เธอจะเริ่มต้นว่า ในช่วงเวลาที่อังกฤษเข้ามาปกครอง เขาไม่ได้มองว่ารัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของพม่าโดยตรง แต่มองว่าเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ถูกปกครองเพราะมีเจ้าฟ้าเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ ในการปกครองอยู่แล้วส่วนหนึ่งที่ทำอังกฤษเองก็ไม่ค่อยอยากที่จะ เข้าไปในพื้นที่เทือกเขาสูงอย่างรัฐฉานมากนักเป็นเพราะอังกฤษนำตำรวจส่วน ใหญ่มาจากอินเดีย ไม่คุ้นชินกับสภาพอากาศและพื้นที่ ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตระหว่างเดินทางสูงมาก
“ดังนั้นการปกครองของ อังกฤษกับรัฐฉานจึงประหนึ่งเป็นรัฐอิสระ คือให้เจ้าฟ้าดำเนินกิจการ-เก็บภาษีได้ แต่สุดท้ายก็ต้องนำสิ่งที่ได้มาแบ่งให้ ถึงอย่างไรก็มีการห้ามไม่ให้เจ้าฟ้านำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์ต้องห้ามอย่างฝิ่น เป็นต้น แต่กรณีอย่างอื่นจะไม่ไปยุ่งเกี่ยว”
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าฟ้าในรัฐฉานกับอังกฤษจะเป็นไปในทิศทางบวกมากกว่าพม่า โดยเฉพาะในสีป้อ และยองห้วย
จาก นั้นในช่วงเวลาที่พม่าใกล้ได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในปี ค.ศ.1948 สถานะของรัฐฉานจึงต้องมีการนำมาพูดถึง เพราะไม่รู้ว่าหลังจากพม่าได้รับเอกราชจะมีการปกครองในรูปแบบใดต่อไป อันเป็นจุดเริ่มต้นของสนธิสัญญาปางหลวง และรัฐธรรมนูญของพม่าซึ่งมีวรรคหนึ่งที่ว่า หลังจากที่เป็นเอกราชไปแล้ว 10 ปี รัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยงแดง สามารถพิจารณาสถานะตัวเองและแยกตัวเป็นอิสระได้
“แต่ ถึงอย่างไรหลังใกล้ปี ค.ศ.1958 ครบ 10 ปีในข้อตกลง ความคิดของชนชั้นนำของพม่าในเวลานั้น รวมไปถึงเวลานี้ ต่างไม่เห็นด้วยกับการให้รัฐต่างๆ เป็นอิสระเพราะมองว่าจะทำให้ปกครองและเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติได้ยากขึ้น” ที่ สำคัญ ลลิตามองว่าส่วนหนึ่งที่พม่าไม่ยอมปล่อยเป็นเพราะความคิดที่ยึดว่า พระเจ้าอโนรธา พระเจ้าบุเรงนอง พระเจ้าอลองพญา สามารถรวบรวมดินแดนได้กว้างใหญ่ไพศาล ทำไมจะต้องเสียดินแดนเหล่านี้ด้วยสัญญาเพียงฉบับเดียว
จึงเป็นเหตุ ให้ปี ค.ศ.1958 นายพลเนวิน ผู้บัญชาการทหารบกเข้าสู่อำนาจในฐานะรัฐบาลรักษาการ ก่อนที่จะยึดอำนาจ ค.ศ.1962 แขวนรัฐธรรมนูญปี 1947
“อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลก” ลลิตากล่าว และทำให้เกิดเรื่องราวในหนังสือ “สิ้นแสงฉาน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นในที่สุด
“มาถึงปัจจุบันเรื่องนี้ยังอยู่ในความทรงจำของชาวไทใหญ่ หรือไม่” อัครพงษ์ได้เริ่มต้นถาม จ๋ามตอง แขกพิเศษชาวไทใหญ่ ผู้แต่งหนังสือ License to Rape หรือใบอนุญาตข่มขืน บันทึกการทารุณกรรมทางเพศในรัฐฉานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว
จ๋ามตอง กล่าวตอบว่า เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของพม่าเลยแม้แต่น้อย แทบจะไม่มีความเป็นจริงเกี่ยวกับเจ้าฟ้าหรือรัฐฉานเลย รวมไปถึงความทุกข์ของผู้คนในรัฐฉานในช่วงเวลานั้นด้วย
“ความทุกข์ของ ผู้คนในพื้นที่ไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลยแม้แต่น้อยในประวัติศาสตร์ ทหารพม่าใช้วิธีการในการขับไล่หมู่บ้าน เป็นการกวาดล้างชาวบ้าน ถ้าไม่ไปก็จุดไฟเผา มีการฆ่าสังหารหมู่ ไม่ไปก็จะถูกฆ่า”
“ช่วงเวลานั้นประชาชนถูกทำร้ายมากโดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก ที่ถูกกระทำความรุนแรง ทารุณกรรมทางเพศ มีการข่มขืนหมู่ การทรมานร่างกาย” จึง เป็นเหตุทำให้คนไทใหญ่ในรัฐฉานจำเป็นต้องหลบหนีมายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยผู้ลี้ภัยไทใหญ่กว่าสามแสนคนต้องอพยพเข้ามาทางภาคเหนือของประเทศไทย ในขณะที่บางคนก็หลบซ่อนตัวอยู่ในป่า บางกลุ่มก็ไปตั้งค่ายใกล้ๆ กับอีกฝั่งหนึ่งของรัฐฉานที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะทหารพม่าอยากควบคุมพื้นที่ในรัฐฉาน เนื่องด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ และยุทธศาสตร์ทางการเมือง
ส่วน หนังสือ “สิ้นแสงฉาน” จ๋ามตอง กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ได้ถูกปิด ไม่ให้มีการเผยแพร่ แต่ภายหลังมีผู้ที่สนใจแปลเป็นภาษาพม่าและภาษาไทใหญ่ มีการเผยแพร่มากขึ้นทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทันได้มีความเข้าใจใน ประวัติศาสตร์
“มันเหมือนเราไปส่องกระจกว่าในช่วงนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่สามารถเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น” เช่นเดียวกันกับภาพยนตร์ที่ล่าสุดรัฐบาลพม่าเองก็ได้ตัดสินใจ “แบน” และห้ามฉาย จ๋ามตองมองมุมกลับกันว่า ยิ่งแบนก็ยิ่งดัง ยิ่งเป็นการทำให้คนหาดูกันมากขึ้น
“สาเหตุที่แบนไม่ให้ดู พวกเขาอ้างว่าจะกระทบความสัมพันธ์และความปรองดองกับรัฐบาลพม่าและกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมองว่าเป็นข้ออ้างที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่ง”
“หากความจริงในประวัติศาสตร์ยังไม่สามารถพูดได้ เราจะสร้างความปรองดองและสร้างสันติภาพที่แท้จริงได้อย่างไร”
นั่นคือ สิ่งที่จ๋ามตองกล่าวทิ้งท้ายด้วยแววตา น้ำเสียง และประโยคที่ดูคุ้นเคยในสังคมไทย
จัดทัวร์ ‘สิ้นแสงฉาน’ เดือนตุลาฯ
ตามรอยประวัติศาสตร์ กับ ‘สมฤทธิ์ ลือชัย’
เนื่อง ด้วยกระแสตอบรับจากแฟนหนังสือเป็นอย่างดีทั้งนักอ่านรุ่นเก่า-ใหม่ จนทำให้มีการพิมพ์หนังสือ “สิ้นแสงฉาน” ของ อิงเง่ ซาเจนท์ ขึ้นเป็นครั้งที่ 10 รวมไปถึงกระแสความต้องการตามรอยประวัติศาสตร์ความรักในหนังสือ เฉกเช่น “อิงเง่” ในรัฐฉานเป็นจำนวนมากจึงเป็นเหตุให้ “มติชน อคาเดมี” ตัดสินใจจัดทัวร์ “สิ้นแสงฉาน” ขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2559 (5 วัน 4 คืน) โดย มีอาจารย์ “สมฤทธิ์ ลือชัย” ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอุษาคเนย์ เป็นผู้นำทัวร์ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเองทั้งนี้หมุดหมายสำคัญระหว่างการเดินทางจะเริ่มต้นตั้งแต่ที่มัณฑะเลย์ ก่อนมุ่งหน้าไปยังเมือง “เมย์เมียว” เมืองที่ตั้งอยู่บนที่ราบของรัฐฉาน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,070 เมตร
ก่อนที่จะรับชมสถานที่ สำคัญในเมืองสามแห่ง คือ National Botanical Gardens สวนพฤกษศาสตร์หลากหลายพันธุ์, น้ำตกปเวก๊อก PweKaug Water Fall หรือเรียกว่า นิวแฮมป์เชอร์ ฟอลส์ และมหาอันทูกันธาเจดีย์ (Maha Aunt Htoo Kan Tar Pagoda) พระพุทธรูปแกะสลักจากมัณฑะเลย์
นั่งรถไฟชมทิวทัศน์ ผ่านสะพานรถไฟก๊อกเต๊ก สะพานรถไฟที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก มุ่งหน้าสู่เมืองจ๊อกแม และเดินทางสู่ เมืองสีป้อ ชมหอเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ สถานที่อันเป็นตำนานรักในหนังสือ “สิ้นแสงฉาน”
จากนั้นเดินทางไป ยัง “เมืองแสนหวี” เพื่อชมหอคำเจ้าแสนหวี ก่อนปิดท้ายกลับไปยังมัณฑะเลย์ ชมพระราชวังมัณฑะเลย์, วิหารชเวนัน ดอร์ วัดที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง และวัดกุโสดอเป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฎกอันเก่าแก่ รวมทั้งชมสะพานไม้อูเบ็ง สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในโลก
ปิดท้ายด้วยการนมัสการ “พระมหามัยมุนี” หรือพระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม ก่อนเดินทางกลับ เรียกได้ว่าครบเครื่องทั้งตามรอยหนังสือ เพิ่มพูนความรู้ประวัติศาสตร์ และท่องเที่ยวสถานที่สำคัญจึงพลาดไม่ได้โดยประการทั้งปวง
สนใจติดต่อสอบถามฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน 0-2954-3977-84 ต่อ 2115,2116,2123,2124
หรือ 08-2993-9105, 08-2993-9097 และเว็บไซต์ www.matichonacademy.com