ประโยชน์ “นมแพะ” ดื่มดีไม่แพ้นมวัว

Health สุขภาพดีๆ

การดื่มนมเป็นประจำทุกวัน เพื่อบำรุงสุขภาพนั้น นับว่าเป็นเรื่องดีที่เราควรหมั่นรับประทานทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม แต่คุณรู้หรือไม่ ว่านอกจากนมวัวที่คุ้นเคยกันแล้ว ยังมีนมอีกประเภทหนึ่งที่มาจากสัตว์โดยตรง และอาจให้ประโยชน์ไม่แพ้นมสดๆ จากเต้านมวัวเลยเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ นมแพะ เราจะขอพาทุกคนมาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กัน

“นมแพะ” น้ำนมอุดมประโยชน์

นมแพะ (Goat Milk) เป็นเครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง “แพะ” ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง และหากเมื่อได้น้ำนมที่คั้นสดๆ จากเต้าแล้วนั้น ทางผู้ผลิตก็อาจนำไปเข้ากระบวนการฆ่าเชื้อต่างๆ เพื่อออกมาวางจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเก็บไว้ได้นาน อย่างที่เราเห็นกันตามห้างสรรพสินค้าในปัจจุบัน

ประโยชน์ของนมแพะ ที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพ

แม้ว่านมแพะอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมในแถบตะวันตกเสียเท่าไหร่นัก แต่ว่าการดื่มนมแพะนั้นก็สามารถให้ผลดีต่อร่างกาย ด้วยคุณค่าโภชนาการนานาชนิดที่คุณจะได้รับ

นมแพะในปริมาณ 1 ถ้วย หรือ 224 กรัม อาจทำให้ร่างกายของเราได้รับ

  • โปรตีน
  • แคลเซียม
  • วิตามินเอ
  • วิตามินบี 6
  • รวมไปถึงแร่ธาตุอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน

ที่สำคัญสารอาหารเหล่านี้ยังเข้าไปช่วยปรับปรุงสุขภาพเข้าเราให้ดีขึ้นได้ดังต่อไปนี้

ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากไขมันในนมแพะค่อนข้างมีขนาดที่เล็กจึงทำให้ร่างกายของเราเกิดกระบวนการย่อยได้ง่าย อีกทั้งยังมีแลคโตส หรือน้ำตาลในนมปริมาณต่ำ จึงทำให้ช่วยลดปัญหาในการย่อยแลคโตส ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการย่อยยากอย่างมากเลยทีเดียว

ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

นมแพะมีกรดไขมันสายกลาง (Medium chain fatty acid) อยู่สูง ซึ่งกรดไขมันเหล่านี้มักให้พลังงานที่ส่งเสริมการลดระดับของคอเลสเตอรอลได้ เพราะถ้าหากคุณมีระดับของคอเลสเตอรอลลดลง หรืออยู่ในระดับคงที่พอดี ก็อาจเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้อีกด้วย

เสริมสร้างกระดูก

ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม และฟอสฟอรัสที่อยู่ภายในนมแพะ ค่อนข้างมีตัวเลขโภชนาการที่สูงกว่านมวัว จึงทำให้สารอาหารเหล่านี้นั้นอาจเข้าไปช่วยเสริมสร้าง และบำรุงกระดูกของคุณให้ไกลห่างจากโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร อีกทั้งอาจช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และภาวะขาดสารอาหารได้

บำรุงผิวพรรณจากภายในสู่ภายนอก

นมแพะอุดมไปด้วยวิตามินเอ และมีระดับค่า pH ที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับร่างกายของมนุษย์ จึงทำให้ระบบต่างๆ ภายในของเราเกิดการดูดซึมได้ดี ทำให้ผิวพรรณดูเรียบเนียน และห่างไกลจากการเป็นสิวได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่นอกจากจะการรับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำนมแพะไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สบู่ โลชั่น เพื่อเป็นการบำรุงผิวอีกขั้นส่งเสริมคู่กับการรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการของ นมแพะ เมื่อเทียบกับ นมวัว

นมแพะที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ หลายคนอาจสงสัยกันว่า จะสามารถให้ประโยชน์ได้เพียงพอเท่ากับ นมวัว ที่เรารับประทานกันอยู่หรือไม่ และมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทุกคนสามารถลองอ่านต่อได้เพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกเครื่องดื่มที่เหมาะกับตนเองด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

ปริมาณน้ำนม
1 แก้ว (8 ออนซ์)
นมแพะนมวัว

แคลอรี่ (Calories)

17090 – 150

โปรตีน (Protein)

9 กรัม8 กรัม

ไขมัน (Fat)

10 กรัม0 – 8 กรัม
คาร์โบไฮเดรต (Carbs)11 กรัม

12 กรัม

แลคโตส (Lactose)11 กรัม

12 กรัม

แคลเซียม (Calcium)330 มิลลิกรัม

275 มิลลิกรัม

จากตารางการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่านมแพะมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากกว่านมวัว แต่ยังคงให้แลคโตสในปริมาณที่ต่ำกว่า เนื่องจากแลคโตสนี้จะเข้าไปทำให้ระบบการย่อยอาหารของคุณได้ลำบากมากขึ้น หรือเกิดอาการปวดท้องอยู่บ่อยๆ หากคุณสังเกตตนเองในยามเช้าคุณจะพบได้ว่า ทุกครั้งที่คุณรับประทานนมวัวเข้าไป แล้วสักพักเกิดอาการปวดท้องขึ้น ซึ่งนั่นแหละคือสัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ถึงอาการแพ้แลคโตสในนมวัวที่คุณกำลังประสบ

ข้อควรระวังในการรับประทานนมแพะ

ถึงแม้ว่าการรับประทานนมแพะอาจสามารถให้ประโยชน์แก่ร่างกายของคุณได้ไม่น้อย แต่ก็ยังคงมีอีกสิ่งที่คุณควรพิจารณาก่อนการไปซื้อนมแพะมารับประทานเช่นเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่านมแพะจะมีแลคโตสน้อยกว่านมวัว แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตสในระดับรุนแรงแล้ว การดื่มนมแพะก็ไม่ได้สามารถจะช่วยให้คุณลดอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือก๊าซในกระเพาะอาหารได้

ทั้งนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีต่อสุขภาพ คุณควรปรึกษากับแพทย์ หรือนักโภชนาการ ถึงการเลือกประเภทของนมที่เหมาะสมแก่สุขภาพของคุณอีกครั้ง เพราะบางกรณีนั้นผู้เชี่ยวชาญอาจให้ทำเปลี่ยนเป็นนมประเภทอื่น หรืออาจลดปริมาณการดื่มนมแพะจากเดิมลง ให้อยู่ในปริมาณที่น้อยนิดเท่านั้น เพื่อเป็นการตรวจสอบอาการข้างเคียงว่าคุณยังแพ้แลคโตสในนมอยู่หรือไม่

ที่มา : Sanook.com