บางคนที่มีปัญหาดื่มนมแล้วท้องไส้ปั่นป่วน
นั่นอาจเป็นเพราะมีภาวะ “พร่องเอนไซม์ที่ใช้ย่อยนม” ที่ชื่อว่า “เอนไซม์แลคเตส”
ภาวะนี้พบบ่อยในคนเอเชีย แอฟริกา อเมริกา (เกือบจะทั่วโลกแล้ว) ไม่ใช่ภาวะที่อันตรายแต่อย่างไร
ส่วนใหญ่จะมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน ท้องอืด ท้องเสีย ผายลม ปวดท้อง คลื่นไส้หลังคุณดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม เพียงแค่ 30 นาที หรือ 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ดังนั้นหลาย คนจึงเลือกที่จะแก้ปัญหาโดยการไม่ดื่มนมทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียมนั่นเอง
ร่างกายของเราต้องการแคลเซียมในแต่ละวันแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุและเพศ โดยทั่วไปประมาณ 1000-1500 มิลลิกรัมต่อวัน
การที่ไม่กินอาหารประเภทนม ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญอาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต เช่น ภาวะกระดูกพรุนได้
ดังนั้นคนที่มีอาการดื่มนมแล้วท้องไส้ปั่นป่วน อาจจะแก้ปัญหาโดยการทานแคลเซียมเสริม หรือลองดื่มนมในขนาดที่น้อยลง
เช่น จากที่เคยดื่ม 1 แก้ว แล้วท้องเสียแบบทันตาเห็น ลองลดเหลือ ดื่มแค่ครึ่งแก้วพอ หรือรับประทานโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง นมเปรี้ยว ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง พวกผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ใบชะพลู ยอดแค ปวยเล้ง ใบยอ
นอกจากการรับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอแล้วอย่าลืมออกกำลังกาย รับแดดวันละนิด งดบุหรี่ ลดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ และกาเฟอีน หรือเครื่องดื่มประเภทกาแฟ
เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน