กรมอุตุฯประกาศเตือนพายุฤดูร้อนอีกระลอก วันที่ 15-18 เม.ย.บริเวณ ไทยตอนบน อีสาน-ตะวันออกกระทบก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมถึงกทม.และปริมณฑล กระทบตามมา ขณะที่อากาศโดยรวม จะร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดขึ้นไปถึง 40 องศา
โดยประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา “พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 15-18 เมษายน 2561)” ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 15 เมษายน 2561 บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก จะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบ
ในวันพรุ่งนี้ (16 เมษายน 2561) จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิต ทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้
ในวันที่ 15 เมษายน 2561
ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ในช่วงวันที่ 16-17 เมษายน 2561
ภาคเหนือ : จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร ตาก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก : จังหวัดนครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึง ประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว และคาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันนี้ (15 เม.ย. 61) ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฟ้าผ่าและลูกเห็บตกบางพื้นที่