ผุดแคมเปญ เห็นแบบนี้! ถ่ายภาพแล้วส่งมาที่ กสทช. แจก Power Bank ให้ทันที

Journal ข่าวสาร

กสทช. ผุดแคมเปญแจก Power Bank ให้กับประชาชน 4,500 รายแรก ที่โทรแจ้งข้อมูลสายสื่อสารหย่อน ขาด รกรุงรัง ที่อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทางหมายเลข 1200 (ฟรี) พร้อมถ่ายภาพสายสื่อสารที่เป็นปัญหาส่งมายัง Line ID : @nbtc1200

โดย Power Bank ที่แจกให้กับประชาชนนั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 4,500 อัน แบ่งเป็น ภาคเหนือ 1,000 อัน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,000 อัน, ภาคกลาง 1,000 อัน, ภาคใต้ 1,000 อัน และกรุงเทพฯ 500 อัน

จากกรณีที่ปรากฏตามข่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากสายโทรคมนาคมที่จังหวัดขอนแก่น และสำนักงาน กสทช. ได้ประสานงานให้บริษัทเจ้าของสายเข้าไปรับผิดชอบต่อผู้เสียหายแล้ว นั้น เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2561 ที่ผ่านมา นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) และได้จัดประชุมหารือร่วมกับ นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและคณะ เพื่อหารือถึงแนวทางการพาดสายสื่อสารในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการพาดสายสื่อสาร ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดขอนแก่น

จากนั้นเดินทางตรวจสอบมาตรฐานการพาดสายสื่อสารในพื้นที่เกิดอุบัติเหตุ ณ บริเวณหน้าโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ถัดจากนั้นเดินทางไปตรวจพื้นที่เตรียมการจัดระเบียบสายสื่อสารร่วมกับการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในปี 2561 จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.ถ.กลางเมือง จากสี่แยก ถ.ประชาสโมสร ถึง สามแยก ถ. หลังศูนย์ราชการ 2.ถ.หน้าเมือง จากสี่แยก ถ.ประชาสโมสร ถึง สามแยก ถ. หลังศูนย์ราชการ และตรวจสอบเส้นทางวิกฤตที่ไม่สามารถอนุญาตให้พาดสายฯ จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.เส้นทางแยกประชาสโมสร (ฝั่งตะวันออก) ถึง ถ.ราษฎร์คะนึง 2.เส้นทางทางเข้าบ้านโนนม่วง และ 3.เส้นทางถ.สมหวังสังวาล

นายฐากร กล่าวว่า สำหรับมาตรการบังคับใช้ในการพาดสายสื่อสารของสำนักงาน กสทช. นั้นผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมทุกรายจะต้องดำเนินการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าให้เป็นไป ตามมาตรฐานที่ได้ตกลงกับการไฟฟ้าฯ รวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สิทธิในการปัก หรือตั้งเสา หรือเดินสาย วางท่อ หรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบ หรือหลักสิทธิแห่งทางของสำนักงาน กสทช. โดยมาตรฐานการพาดสาย

กรณีที่เป็นถนนหลัก ทางหลวงแผ่นดิน ไม่ให้มีการพาดสายข้ามถนนต้องดันท่อร้อยใต้ดินเท่านั้น กรณีถนนสายรอง ซอย การพาดสายข้ามถนนการพาดสายต้องพาดในระดับความสูงกว่าผิวจราจร 5.5-5.9 เมตร และสายสื่อสารทุกประเภทต้องมีสี และชื่อของเจ้าของระบุอย่างชัดเจนเพื่อแสดงตน

“กรณีประชาชนพบสายสื่อสารที่รกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สัญจรบนท้องถนน หรือได้รับอันตรายจากสายสื่อสาร สามารถแจ้งมายัง Call Center ของสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ฟรี หรือแจ้งไปที่การไฟฟ้านครหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1130 หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หมายเลขโทรศัพท์ 1129 ก็ได้ เมื่อรับเรื่องสำนักงาน กสทช. จะประสานงานกับผู้ประกอบการเจ้าของสายให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน” นายฐากร กล่าว

กรณีที่เป็นถนนหลัก ทางหลวงแผ่นดิน ไม่ให้มีการพาดสายข้ามถนนต้องดันท่อร้อยใต้ดินเท่านั้น กรณีถนนสายรอง ซอย การพาดสายข้ามถนนการพาดสายต้องพาดในระดับความสูงกว่าผิวจราจร 5.5-5.9 เมตร และสายสื่อสารทุกประเภทต้องมีสี และชื่อของเจ้าของระบุอย่างชัดเจนเพื่อแสดงตน

“กรณีประชาชนพบสายสื่อสารที่รกรุงรัง ไม่เป็นระเบียบ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้สัญจรบนท้องถนน หรือได้รับอันตรายจากสายสื่อสาร สามารถแจ้งมายัง Call Center ของสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 ฟรี หรือแจ้งไปที่การไฟฟ้านครหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1130 หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หมายเลขโทรศัพท์ 1129 ก็ได้ เมื่อรับเรื่องสำนักงาน กสทช. จะประสานงานกับผู้ประกอบการเจ้าของสายให้ดำเนินการแก้ไขโดยด่วน” นายฐากร กล่าว

เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ร่วมกับ AIS TRUE 3BB และ Symphony เชิญประชาชนร่วมใจเตือนภัย เพื่อความปลอดภัยสายสื่อสาร รับ Power Bank ฟรี 4,500 อัน สำหรับประชาชน 4,500 รายแรก ที่โทรศัพท์มาแจ้งข้อมูลสายสื่อสารที่เป็นอันตรายกับศูนย์รับเรื่องร้องเรียนสำนักงาน กสทช. หมายเลขโทรศัพท์ 1200 (ฟรี)

 


ที่มา ประชาชาติธุรกิจ