เช็คลิสต์อาหารที่มี “ไขมันทรานส์” ตัวต้นเหตุ “โรคหัวใจ-หลอดเลือด”

Journal ข่าวสาร

กำลังเป็นกระแส และประเด็นสำหรับผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอยู่ในขณะนี้เมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย “อาหารที่มีไขมันทรานส์” โดยให้มีผลบังคับใช้อีก 180 วัน หรืออีก 6 เดือนข้างหน้า นั้น

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอารและยา (อย.) กล่าวถึงการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือไขมันทรานส์ และอาหารที่มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ว่า ไขมันทรานส์เป็นไขมันประเภทอิ่มตัว มักใช้กับอาหารกลุ่มของทอด เช่น โดนัท พัฟฟ์ พาย เป็นต้น โดยมีการเอามาใช้ในทางอุตสาหกรรม เพราะทำให้กลิ่นหืนหายไป และเก็บอาหารได้นานขึ้น แต่ภายหลังมีข้อมูลว่า เมื่อรับประทานไปนานๆ จะเกิดการสะสมและเพิ่มความเสี่ยงเรื่องโรคหัวใจ ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีการยกเลิกไม่ใช้ไขมันทรานส์ไปแล้ว

นพ.วันชัย กล่าวว่า ส่วนในประเทศไทย ที่ผ่านมา อย.ได้หารือร่วมกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ด้านโภชนาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากไขมันทรานส์ เพื่อวางแผนยกเลิกการใช้ไขมันทรานส์ในกระบวนการผลิตอาหารมา 2-3 ปีแล้ว หลังจากที่มีการหารือกับผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมการผลิตอาหารจนลงตัว โดยทางผู้ผลิตขอเวลาประมาณ 6 เดือนในการปรับตัวเพื่อยกเลิกการผลิตที่มีการใช้ไขมันทรานส์นั้น

“เชื่อว่าผู้ประกอบการบางส่วนมีการเตรียมตัวมานานแล้ว บางรายอาจใช้เวลา 3-4 เดือน ก็สามารถเปลี่ยนการผลิตโดยไม่ใช้ไขมนัทรานส์ได้ ส่วนระหว่างนี้ก็ขอให้ประชาชนเลี่ยงอาหาร เช่น พวกโดนัท พัฟฟ์ พาย ต่างๆ หรืออาหารหวานมาก มันมาก เค็มมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการรับไขมันทรานส์ ส่วนตั้งแต่ มกราคม 2562 เป็นต้นไป ก็ไม่จำเป็นต้องมาดูฉลากว่ามีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบหรือไม่ เพราะเราห้ามทั้งหมดทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ต้องไม่มีการใช้ไขมันทราส์เป็นส่วนประกอบอีกต่อไป” นพ.วันชัย กล่าว

ทั้งนี้อาหารในท้องตลาดที่ปนเปื้อนกรดไขมันทรานส์ในระดับเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ในประเทศไทย ได้แก่ โดนัททอด, พัฟและเพสทรี, เวเฟอร์, มาร์การีน และเนยบางยี่ห้อ

 


ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ