คนที่ทำอาหารเก่งๆ จะแยกการใช้โชยุกับมิโซะได้ มือใหม่เช่นคุณลองเริ่มจากรู้ข้อแตกต่างกับลักษณะพิเศษเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการทำอาหารกันก่อน
น้ำตาล
-น้ำตาลทรายขาว ใช้ทำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มบ่อยที่สุด
-น้ำตาลทรายสีรำ ความบริสุทธิ์ต่ำ รสหวานเข้มข้น ใช้ต้ม และทำผักต้มซีอิ๊ว
-น้ำตาลทรายแดง มักได้จากน้ำอ้อย มีรสหวานเฉพาะตัว กลิ่นหอม ใช้ทำขนม
เกลือ
-เกลือบริสุทธิ์ ใช้ทำอาหารทั่วไป
-เกลือป่น แปรรูปให้ชื้นยาก ละลายน้ำยาก ใช้เหยาะปรุงรส
-เกลือผลึกหยาบ ทำผักดองโรยปลา
มิโซะ
-มิโซะแดง สีแดงรสเข้มข้น ใช้สำหรับฤดูร้อน
-มิโซะขาว สีขาวรสหวาน ใช้สำหรับฤดูหนาว หรือจะใช้ผสมกันทั้งสีขาวและสีแดงก็ได้
โชยุ
-โชยุเข้มข้น เค็มน้อย สีเข้ม รสชาติเข้มข้น ไว้ทำเมนูต้ม
-โชยุอ่อน มีสีอ่อนแต่เค็มมาก รสเข้มข้น ไว้ทำซุป
-โชยุบริสุทธิ์ รสเข้มข้น กลิ่นหอม สำหรับเหยาะหรือจิ้ม
น้ำมัน
-น้ำมันสัตว์ น้ำมันหมูใส่ในเมนูทอดสักเล้กน้อยก็เพิ่มความอร่อย น้ำมันเนื้อเป็นไขมันากเนื้อวัว ใช้ตอนย่างสเต๊ก
-น้ำมันพืช มีทั้งที่ทำจากถั่วเหลือง ข้าวโพด งา มะกอก รำข้าว เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดดอกคำฝอย เมล็ดนุ่น (ทำน้ำมันสลัด) ส่วนน้ำมันกลั่นบริสุทธิ์จะราคาสูงที่สุด
น้ำส้มสายชู
-น้ำส้มสายชูหมัก ได้จากการหมักข้าว เหล้า ไวน์ผลไม้ รสชาติแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับส่วนผสม ใช้ทำน้ำสลัดหรือซูชิ
-น้ำส้มสายชู ได้จากการละลายกรดน้ำส้มให้เจือจาง รสเปรี้ยวจัด ใช้ปรุงอาหาร ไม่เหมาะที่จะทำซูชิ
ขั้นตอนการเติมเครื่องปรุง
-ให้ใส่น้ำตาลก่อนเกลือ และเกลือน้อยกว่าน้ำตาล เครื่องปรุงจะซึมเข้าเนื้อง่าย หากใส่น้ำส้มสายชูลงไปเร็ว รสชาติเปรี้ยวจะสลายไป แล้วใส่ซอสโชยุกับมิโซะเป็นอย่างสุดท้ายเพื่อรักษารสชาติของซอสไว้
(หมายเหตุ : ผู้เขียนเป็นชาวญี่ปุ่น เครื่องปรุงจะค่อนข้างเป็นของญี่ปุ่น)
ที่มา เคล็ดลับงานบ้าน เล่มเดียวเอาอยู่! สนพ.นานมีบุ๊คส์