เพราะความคลาสสิกและเสน่ห์ของ “ผ้าซิ่นคราม” หรือ “ผ้าม่อฮ่อม” รวมทั้งลวดลายที่ได้รับการสืบทอดมา จากบรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นผ้าที่มีความทนทานต่อแดดฝน และถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของ “เสน่ห์งาม มัดย้อมผ้าครามแบบญี่ปุ่น การมัดย้อมผ้าครามแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีชื่อว่า “ชิโบริ”
วิธีการมัดย้อมแบบชิโบริ จะมีวิธีการทำลวดลาย ที่ละเอียดกว่าการมัดย้อมของไทย ด้วยการเย็บด้ายเป็นลายต่างๆ เข้าไปในเนื้อผ้าแทนการใช้เชือกมัด ซึ่งหลังการย้อมจะได้ลวดลายที่ละเอียดและสวยงามกว่ามาก อีกทั้งการย้อมผ้าแบบชิโบริจะเป็นการย้อมผ้าแบบเย็น ไม่จำเป็นต้องนำผ้าที่จะย้อมลงไปต้มในน้ำเดือด “ผ้าที่ย้อมแบบชิโบริของชาวญี่ปุ่น เราจะเห็นได้จากชุดกิโมโนลายโบราณ ซึ่งศิลปินที่ทำผ้าเหล่านี้ เขาจะมีเทคนิคในการทำลายเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นลายนก ดอกซากุระ เขาจะทำได้อย่างละเอียดมาก วิธีการย้อมแบบ ชิโบรินิยมย้อมกับผ้าเนื้อบาง เพราะจะทำการมัดได้แน่นกว่าเนื้อผ้าหนาๆ ที่มาถึงการย้อมผ้าแบบชิโบริ
ขั้นตอนการทำสีคราม สีครามที่นำมาใช้ เป็นสีที่ได้มาจากใบของต้นคราม หรือต้นม่อฮ่อม โดยการนำใบมาแช่น้ำเปล่าข้ามคืน วันรุ่งขึ้นสีจากใบไม้จะถูกสกัดออกมา ทำให้น้ำในหม้อ ครามเป็นสีเขียวปีกแมลงทับ จากนั้นจะต้องนำไปตีเพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในน้ำ ซึ่งกระบวนการนี้ น้ำจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นน้ำเงินเข้มๆ หรือที่เรียกว่าสีครามนั่นเอง พอเราได้น้ำสีครามมาแล้ว จริงๆ ส่วนนี้เราก็สามารถนำผ้ามาย้อมได้ แต่สีที่ได้ออกมาจะเป็นสีจางๆ แต่เพื่อให้ได้น้ำสีที่เข้มข้นขึ้น เราจะนำน้ำสีครามที่ได้ไปกรองในผ้าอีกครั้ง ซึ่งส่วนนี้เราจะได้เนื้อสีที่เข้มข้นมาก มีลักษณะคล้ายครีม เนื้อสีตัวนี้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานถึง 2 ปีเลยทีเดียว
เรื่องของคราม
เราก็คิดว่าครามมีภาษาเฉพาะตัวของเขา ครามเป็นสีที่มีชีวิต เพราะเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่กำลัง Active ที่เราต้องเติมอาหารในหม้อให้เสมอๆ อารมณ์ของสีก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างอากาศ แสงแดด และอุณหภูมิ ดังนั้นสีที่ย้อมออกมาในแต่ละครั้งจึงบ่งบอกถึงอารมณ์ของผู้ย้อมและสภาพอากาศในวันนั้น
การย้อมครามที่เป็นเหมือน ได้เก็บเกี่ยวต้นคราม (Indigofera Tinctoria) ตัดส่วนลำต้นโดยเหลือโคนต้นไว้เพื่อให้แตกออกมาใหม่ หมักมัดครามด้วยการแช่น้ำข้ามวันจนได้กลิ่นฝาดๆ เกือบจะเน่า และมีน้ำสีเขียวทะเลๆ จากใบครามออกมา ช่วยกันทำตัวสีให้ตกตะกอน ตีคราม (เอาขันตักแล้วยกขึ้นสูงๆ เทลงมาให้น้ำตีกับอากาศ คล้ายกับทำชาชัก) จนน้ำหมักเปลี่ยนจากสีเขียวน้ำทะเลกลายเป็นสีครามเข้มเกือบดำ เสร็จแล้วปิดฝาทิ้งไว้หนึ่งคืนให้ตกตะกอน ขั้นตอนการมัดย้อมผ้าด้วยเทคนิคชิโบริ (Shibori) คือการมัด พับ ผูก ผืนผ้าหลายๆ แบบให้เกิดลวดลาย
ความสนุกอยู่ตรงนี้แหละ ทันทีที่เรามัดผ้าเสร็จแล้วจุ่มผ้าลงในหม้อย้อม จากน้ำสีเหลืองๆ ในหม้อ พอยกผ้าขึ้นมาจากน้ำหม้อปุ๊บ อยู่ๆ จากสีเหลือง ผ้าก็ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีครามเข้มเมื่อโดนอากาศ ราวกับเวทมนตร์ที่ธรรมชาติเล่นให้พวกเราเชยชม เป็นชั่วขณะเวลาที่ทั้งหลงใหลและตื่นเต้นว่าลายที่เรามัดมั่วๆ ลงไปเมื่อสักครู่นั้นจะให้ผลลัพธ์ออกมางดงามขนาดไหน
- สอนทฤษฎี ควบคู่การปฏิบัติ ย้อมครามสไตล์ชิโบริ
สิ่งที่จะได้
- เสื้อยืด
- กระเป๋าผ้า
- ผ้าขนาด 44 x 60 นิ้ว
- ผ้าขนาด 44 x 50 นิ้ว
- แนะนำวัสดุอุปกรณ์
- เรียนรู้การใช้สี, การเลือกใช้สี
- การผสมสี, เทคนิคการผสมสี
- การเลือกใช้ผ้า ชนิดต่างๆ
- วิธีการมัดผ้า แบบต่างๆ
- ปฏิบัติ ลายที่ 1 ลายหินแตก
- ปฏิบัติ ลายที่ 2 ลายก้นหอย
- ปฏิบัติ ลายที่ 3 ลายน้ำไหลจากท่อพีวีซี
- ปฏิบัติ ลายที่ 4 ลายจากการออกแบบลายโดยใช้วัสดุใกล้ตัว
- ปฏิบัติ ลายที่ 5 ลายจากการสร้างด้วยการวาดแพทเทิร์น
- สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปย้อมครามเสื้อผ้าตัวเองหรือนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริมได้
1.สมัครเรียนผ่านช่องทางแชตเฟซบุ๊กหรือไลน์
แจ้งชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เลขบัตรประจำตัวประชาชน และเบอร์โทรติดต่อกลับ
2.สมัครเรียนผ่านช่องทางโทรศัพท์
เบอร์โทรศัพท์ 0-2954-3977-84 ต่อ 2115, 2116, 2123, 2124
หรือ 08-2993-9097, 08-2993-9105
3.คลิกกรอกแบบฟอร์มสมัครเรียนได้ที่นี่ https://forms.gle/XxYFZXWqok7kiH3T6
หลังจากสมัคร เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อแจ้งรายละเอียดการชำระเงินในวันใกล้เรียนอีกครั้ง
*กรณีต้องการเลื่อนหรือยกเลิกคอร์สเรียน ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3-5 วัน ในกรณีที่ชำระเงินค่าเรียนเข้ามาแล้ว ไม่มาเรียนโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทางศูนย์อาชีพฯ ขออนุญาตตัดสิทธิ์การเรียนทุกกรณี
*ทางศูยน์อาชีพฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม