เต็ดตรา แพ้ค เผยรายงานเทรนด์ผู้บริโภคประจำปี 2563 “เทรนด์ดิพิเดีย” ในรูปแบบอินเตอร์แอ็คทีฟ

ประชาสัมพันธ์

เต็ดตรา แพ้ค (Tetra Pak) บริษัทผู้นำเสนอโซลูชั่นบรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารชั้นนำของโลก เปิดเผยรายงาน “Trendipedia” ซึ่งเป็นการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคประจำปี 2563 โดยเทรนด์ของผู้บริโภคด้านอาหารฉบับนี้ของ เต็ดตรา แพ้ค ชี้ให้เห็นว่าการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมา ในขณะที่ต้องสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพและยังคงต้องการความสะดวกสบายด้วยเช่นกัน

เมื่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหารรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหล่าผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องตระหนักถึงเทรนด์ต่างๆและสถิติล่าสุดของตลาดเพื่อพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ โควิด19 ได้สร้างความตื่นตระหนกทั้งในบริบททางกายภาพและทางสังคม ซึ่งส่งผลต่อความกังวลและพฤติกรรมของผู้บริโภค แต่ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตเช่นนี้เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศธุรกิจ เทรนด์หลักและปัจจัยในระดับมหภาคยังคงมีความสำคัญอยู่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้น บรรดาผู้ผลิตอาหารจึงต้องใช้โซลูชั่นล่าสุดในด้านบรรจุภัณฑ์และการผลิต

ซึ่ง “เทรนดิพิเดีย” นี้ ได้ระบุเทรนด์สำคัญในปี 2020 ไว้ 7 ประการ ดังนี้ “การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ” “ความสะดวกในรูปแบบใหม่” “ต้นกำเนิดและแหล่งที่มา” “การเชื่อมสัมพันธ์” “ความดื่มด่ำที่ตั้งใจ” “ข้อมูลส่วนบุคคล” และ “ประสบการณ์เต็มรูปแบบ” โดยเต็ดตรา แพ้คเน้นย้ำถึงความสำคัญของเทรนด์ดังกล่าวและยกตัวอย่างสามประการแรกที่เกี่ยวพันกับธุรกิจ

สำหรับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เทรนด์ผู้บริโภคที่แพร่หลายมากกว่าเรื่องอื่นๆ คือ การบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ(Responsible consumption) ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่เดิมผู้บริโภคมองทั้งสองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน แต่ปัจจุบันจะมองเป็นองค์รวมเดียวกันและเข้าใจกถึงความเชื่อมโยงของทั้งสองเทรนด์ ทำให้เกิดทัศนคติใหม่ที่ว่า “สิ่งใดที่ดีสำหรับโลกใบนี้ ย่อมดีสำหรับฉันด้วย” ซึ่งได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้ผลิตอาหาร  โดยในการรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและคงไว้ซึ่งสถานะของแบรนด์ ทั้งผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้องร่วมกันนำเสนอสาระสำคัญที่มีความสอดคล้องกัน โดยผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปลักษณ์และให้ความรู้สึกที่สะอาดปลอดภัย

เทรนด์ที่สองคือ ความสะดวกในรูปแบบใหม่(Convenience reborn) ซึ่งเน้นถึงการพัฒนาที่รวดเร็วของระบบร้านค้าออนไลน์และบริการส่งถึงบ้านแบบเดลิเวอรี่ ซึ่งเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นอย่างช้า ๆ เนื่องจากผู้บริโภคจำเป็นต้องอยู่ที่บ้าน สำหรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ยังไม่เคยพิจารณาถึงทางเลือกเหล่านี้มาก่อน อาทิ ผู้สูงอายุ ได้เริ่มทดลองใช้งานเป็นครั้งแรกและต้องอาจพึ่งพาสิ่งเหล่านี้ต่อไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ง่ายยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารต้องสามารถหาซื้อ ระบุชนิด และทำความเข้าใจได้ง่าย บรรจุภัณฑ์ต้องได้รับการออกแบบมาเพื่อดึงดูดนักช็อปออนไลน์ โดยต้องพิจารณาถึงการแสดงผลบนจอของสมาร์ทโฟนทั่วไปด้วย

เทรนด์ที่สามจากเทรนด์ดิพิเดีย คือ ต้นกำเนิดและแหล่งที่มา(Heritage and provenance) เพราะอาหารถือเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมของมนุษย์มาโดยตลอด อีกทั้งเป็นสื่อถ่ายทอดสาระสำคัญเชิงวัฒนธรรมอันแข็งแกร่ง ปัจจุบันกระแสโลกภิวัฒน์กำลังก่อให้เกิดแรงกระตุ้นอันทรงพลังในการออกสำรวจวัฒนธรรมและต้นกำเนิดในแหล่งต่างๆ สำหรับสินค้าใหม่ที่ต้องการประสบความสำเร็จในหมวดผลิตภัณฑ์นี้ ผู้ผลิตอาหารจำเป็นต้องประสานคุณลักษณะของวัตถุดิบดั้งเดิมและคุณภาพ ให้สอดคล้องกับสูตรการผลิตและการนำเสนอผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม รวมถึงอาจต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ตอบรับกับความนิยมในรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและของกลุ่มประชากรแต่ละแห่งในโลกด้วย

“เราเล็งเห็นว่าเทรนด์ผู้บริโภคเรื่องต่างๆ ในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงถึงกัน และความเชื่อมโยงระหว่างเทรนด์เหล่านี้สามารถกลายเป็นจุดกระตุ้นไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง” นายสุภนัฐ รัตนทิพ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว “รายงานผลการศึกษาของเราเน้นย้ำถึงแนวคิดที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง นั่นคือเทรนด์หนึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ต่อเทรนด์อื่น ๆ ได้ และเทรนด์ทั้งหมดนี้อาจเป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์หรือความเป็นจริงที่เป็นสากลของคนเรานั่นเอง”

รายงานผลการศึกษาเทรนด์ผู้บริโภคครั้งใหม่ในฉบับเต็มนี้ จะนำเสนอให้แก่ลูกค้าของเต็ดตรา แพ้ค ในรูปแบบอินเตอร์แอ็คทีฟที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถศึกษาเนื้อหาอันน่าตื่นเต้นทั้งหมดนี้ได้อย่างสะดวกราบรื่นยิ่งขึ้น

สุภนัฐ รัตนทิพ