กรมศิลปากรปรับโฉมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง จังหวัดภูเก็ต พร้อมรับแผนเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน

ประชาสัมพันธ์

วันจันทร์ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง และติดตามความคืบหน้าการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง โดยมีนายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร ให้การต้อนรับและรายงานความคืบหน้าของโครงการ

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้สำคัญบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งที่ผ่านมากรมศิลปากรได้ดำเนินการทางโบราณคดีบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันตก มีข้อมูลวิชาการตลอดจนโบราณวัตถุที่ค้นพบใหม่จำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของนิทรรศการถาวรชุดเดิมที่ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ ประกอบกับอาคารสถานที่ของพิพิธภัณฑ์มีอายุการใช้งานมากว่า ๓๐ ปี สมควรได้รับการซ่อมแซม กรมศิลปากรจึงได้จัดทำแผนปรับปรุงและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและพัฒนารูปแบบการจัดแสดงนิทรรศการถาวรให้มีความสวยงามทันสมัย เน้นการจัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ๆ ซึ่งพบในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน อาทิ

กลุ่มเทวรูปวิษณุมัธยโยคสถานกะมูรติ จากแหล่งโบราณคดีเขาพระนารายณ์ จังหวัดพังงา เป็นเทวรูปพระวิษณุ หนึ่งในสองชิ้นที่พบในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน ศิลปะอินเดียแบบหลังปัลลวะอายุกว่าหนึ่งพันปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นโดยช่างชาวอินเดียใต้ ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ และยังมีพระพิมพ์ดินดิบศิลปะศรีวิชัย จากแหล่งโบราณคดีเขานุ้ย จังหวัดตรัง กลุ่มลูกปัดโรมันจากแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด จังหวัดกระบี่ และข้อมูลที่พบใหม่จากการดำเนินงานของกรมศิลปากร ที่จะนำเสนอโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี เช่น พระพิมพ์ดินดิบเขานุ้ย จังหวัดตรัง ภาชนะดินเผานำเข้าจากอินเดีย แหล่งโบราณคดีถ้ำเสือ จังหวัดระนอง และข้อมูลการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีในช่วง ๑๐ – ๒๐ ปีที่ผ่านมา เช่น แหล่งเรือจมปากคลองกล้วย จังหวัดระนอง ที่เป็นร่องรอยเรือที่มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ ข้อมูลแหล่งภาพเขียนสีที่สำรวจพบใหม่ในพื้นที่จังหวัดพังงาและกระบี่ เป็นต้น โดยการปรับปรุงได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔ ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณ ร้อยละ ๗๐

เน้นการนำโบราณวัตถุ และข้อมูลใหม่ ๆ เผยแพร่สู่สาธารณชน โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาในระหว่างปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ สามารถดำเนินการปรับปรุงแล้วเสร็จ ๑,๒๕๑ ตารางเมตร คิดเป็นร้อยละ ๖๔ จากพื้นที่ทั้งหมด ยังคงเหลือพื้นที่รอรับการปรับปรุง จำนวน ๗๓๐ ตารางเมตร สามารถเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารจัดแสดง ๑ และ ๒ ขณะนี้อยู่ในช่วงของการดำเนินงานระยะสุดท้าย ที่มีแผนการดำเนินงานระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ โดยปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้รับงบประมาณ ๑๐,๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ในการปรับปรุงอาคารและนิทรรศการถาวรภายในอาคารนิทรรศการ ๔  ซึ่งจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในเดือนธันวาคม ๒๕๖๓ สำหรับในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนปรับปรุงอาคารนิทรรศการ ๓ อาคารโถงต้อนรับ และส่วนบริการนักท่องเที่ยว ในวงเงินงบประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้จัดทำรูปแบบรายการแล้วเสร็จประมาณร้อยละ ๗๐

อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวอีกว่า จากการเปิดให้เข้าชมนิทรรศการที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในอาคารนิทรรศการ ๑ และ ๒ ที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้เข้าชมทั้งจากชาวไทยและต่างชาติ ทั้งในด้านรูปแบบการจัดแสดง และความน่าสนใจของโบราณวัตถุที่ไม่เคยนำออกจัดแสดงมาก่อน นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากชุมชนท้องถิ่น ที่มีแผนจะบรรจุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง เข้าเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน นับเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ได้สร้างคุณประโยชน์ ทั้งในด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ตลอดจนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวให้กับท้องถิ่นได้ในอนาคต