ค้นหา 10 นักเที่ยว ผู้มีความกล้าและไอเดียเด็ดๆ นกสกู๊ตขอท้าให้คุณมาร่วมงานกับเรา พร้อมรับพ็อกเก็ตมันนี่ไปเที่ยวฟรี

 

สายการบินนกสกู๊ตขอเชิญเหล่าเน็ตไอดอลและนักเล่นโซเชียลมีเดียตัวจริง เข้าร่วมสมัครงานในตำแหน่งนักเที่ยว พร้อมบินตรงสู่ประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว กับเพื่อนร่วมเดินทางหนึ่งท่าน และเงินรางวัลอีก 15,000 บาท สำหรับการไปเที่ยวญี่ปุ่นแบบฟรีๆ

 

โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกสิบท่าน ในตำแหน่งนักเที่ยว มีหน้าที่แค่ไปเปิดประสบการณ์การผจญภัยท่องเที่ยวและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

“เราอยากจุดกระแสในสื่อสังคมโซเชียล ให้คนไทยอยากไปค้นหาประสบการณ์และสถานที่เที่ยวใหม่ๆ นกสกู๊ตพร้อมต้อนรับสิบผู้ที่ได้รับคัดเลือกบนเครื่องบินของเรา เพื่อเริ่มต้นการผจญภัยในครั้งนี้อย่างเต็มที่” คุณยอดชาย สุทธิธนกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสายการบินนกสกู๊ตกล่าว

 

โดยเหล่าผู้สมัครควรมีคุณสมบัติรักในการท่องเที่ยว และกล้านำเสนอตัวเองในรูปแบบเฉพาะตัว แต่ยังคงความสนุกสนานของคลิปวีดีโอเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม

 

ผู้โชคดีแต่ละท่านจะได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพ – โตเกียว ชั้นประหยัด 2 ใบ เงินรางวัล 15,000 บาท ไว้สำหรับท่องเที่ยวจากนกสกู๊ต และที่พักในกรุงโตเกียวจากเอ็กซ์พีเดีย

 

“สิบผู้ชนะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อไปสนุกกับการช้อปฯ เที่ยว กิน และสร้างมิตรภาพใหม่ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ดินแดนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งความทันสมัยของเมือง รวมไปถึงการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายในแบบของคนญี่ปุ่น”  คุณยอดชาย กล่างเสริม

 

ขั้นตอนการสมัครง่ายๆ เพียงแค่กดไลค์ นกสกู๊ต เฟสบุคเพจ พร้อมถ่ายคลิปวิดีโอแนะนำตัวเองแบบเจ๋งๆ โดยผู้สมัครสามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวนคลิป และอธิบายว่าทำไมนกสกู๊ตต้องเลือกคุณ และคุณเหมาะสมอย่างไรกับตำแหน่งงานนี้

 

จากนั้นอัพโหลดคลิปวิดีโอบนเฟสบุค หรืออินสตาแกรมส่วนตัวพร้อมตั้งค่าแบบสาธารณะ และแท็ก @NokScoot พร้อมแฮชแท็ก #NokScoot #โตเกียวเที่ยวฟรีมีเงินใช้ (หากไม่ทำตามกฎเกณฑ์ใดๆ จะไม่ผ่านเกณฑ์การสมัคร)

 

โดยคณะกรรมการจากนกสกู๊ตจะทำการคัดเลือกผู้ชนะ และประกาศผลผู้ชนะ 10 ท่าน ในวันที่ 15 มิถุนายน 2561 ผ่านช่องทางเฟสบุคเพจของนกสกู๊ต

 

นกสกู๊ตจะเปิดให้บริการเที่ยวบิน บินตรงจากกรุงเทพฯ สู่สนามบินนาริตะด้วยเครื่องบินแบบโบอิ้ง 777-200 ที่รองรับผู้โดยสารได้มากถึง 415 ที่นั่ง  แบ่งเป็นชั้นธุรกิจ 24 ที่นั่ง และชั้นประหยัด 391 ที่นั่ง ซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกประสบการณ์การเดินทางได้ตามที่ต้องการ และจ่ายเฉพาะสิ่งที่ผู้โดยสารเลือก อาทิ ตำแหน่งที่นั่ง อาหาร การเพิ่มน้ำหนักสัมภาระ รวมไปถึงบริการอื่นๆ อีกมากมาย

 

นกสกู๊ตเป็นสายการบินร่วมทุนระหว่างสายการบินนกแอร์ของประเทศไทย และสายการบินสกู๊ตของประเทศสิงคโปร์ มีการเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 2559 รายได้ของบริษัทเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 เป็นมูลค่า 5.6 พันล้านบาท (หรือ 175 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เป็นจำนวน 1.1 ล้านคน ในขณะที่อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin factor) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 87 ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 8

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโมชั่นได้ที่ http://www.facebook.com/nokscoot ข้อกำหนดและเงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกําหนด

ปกติเมนูที่เราเคยเห็นไฟลุกซู่ก็มักจะเป็นผัดผักบุ้งไฟแดง แต่เวลายกมาเสิร์ฟไฟก็มอดไปหมดแล้ว หรือที่ยังร้อนอยู่หน่อยก็เป็นอาหารกระทะร้อน แต่หากเป็นจานที่เสิร์ฟพร้อมความ “ลุกเป็นไฟ” คุณอาจจะยังไม่เคยเห็น

ส่วนเมนูลุกเป็นไฟนี้คือเมนู “ราเมน” ที่ร้านเมนบะไคชิได ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ที่เสิร์ฟราเมนไฟลุกโชนที่อาจทำให้หน้าคุณไหม้ได้

โดยพนักงานที่แสนเป็นมิตรของที่ร้านก็มีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างดี โดยนำสมาร์ทโฟนมาแขวนไว้กับไม้เซลฟี่ที่แขวนลงมาจากเพดาน เพื่อถ่ายให้โซเชียลได้เห็นบรรยากาศของร้าน

ราเมนดังกล่าวจะถูกเสิร์ฟมาในชามที่ทนไฟได้ จากนั้นก่อนจะโชว์ไฟลุก พนักงานจะเดินมาแจ้งกฎระเบียบของร้าน คือ ห้ามวิ่งหนี ห้ามลุกออกจากเก้าอี้ เพราะที่เก้าอี้จะมีน้ำมัน ทำให้เปลวไฟอาจลุกลามไปที่เก้าอี้ได้ นอกจากนี้ยังห้ามกรีดร้อง และห้ามถอดผ้ากันเปื้อนด้วย

จากนั้นพ่อครัวจะให้ความร้อนกับน้ำมันจนถึงอุณหภูมิหลอมละลาย ก่อนจะนำมาราดลงบนถ้วยราเมนแล้วไฟก็ลุกขึ้นมาต่อหน้าคุณนั่นเอง

ทั้งนี้ นายมิยาซาวะ เจ้าของร้าน ต้องฝึกพนักงานในร้านอย่างหนัก ซึ่งจุดเด่นของราเมนที่ร้านคือ เส้นจะทำแบบสดใหม่ ไม่มีการลวกไว้ก่อน ทำตามออร์เดอร์เท่านั้น ส่วนน้ำซุปด้านล่างจะเป็นซอสถั่วเหลือง ฟสมกับน้ำซุปหอมๆ ใส่เส้น หมู และต้นหอมญี่ปุ่นซอย

Careful, these ramen are very hot!

Kyoto's Fire Ramen: 🔥🍜🔥

โพสต์โดย Red Duck Post เมื่อ วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2017

เอาเป็นว่าใครไปเกียวโตแล้วอยากสร้างประสบการณ์ใหม่ในการกินราเมนก็ไปลองกันได้

คนที่ไปเที่ยวนานๆ หรือใช้ชีวิตยู่ในญี่ปุ่นแล้วใช้บริการรถไฟ อาจมีข้อสงสัยบางอย่างคล้ายกับผมว่า “ทำไมรถไฟต้องหยุดกะทันหัน” แถมหยุดกะทันหันบ่อยๆ เสียด้วย ทั้งๆ ที่ระบบโครงสร้างและวิศวกรรมญี่ปุ่นออกจะเพียบพร้อมอยู่แล้ว

คนไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นอาจจะรู้สึกแค่ว่า น่าจะเกิดเหตุอะไรบางอย่างที่สถานีรถไฟ จึงยืนคอยจนกว่ารถไฟจะใช้การได้ปกติเหมือนเดิม

จากสถิติที่บริษัทรถไฟส่งให้กระทรวงที่ดิน ระบบสาธารณูปโภค คมนาคมและการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น พบว่า ที่รถไฟต้องหนุดกะทันหันส่วนใหญ่นั้น จริงๆ แล้วเกิดจากเหตุการณ์ที่คนญี่ปุ่นเลือกฆ่าตัวตายบนเส้นทางรถไฟกันนี่แหละครับ บรึ๋ยยย..

ถ้าใครเพิ่งรู้ ก็ต้องขออภัยที่เอามาบอก เพราะมันเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่น

ตลอด 3 ปีที่ผมทำงานอยู่ในโตเกียว ผมก็เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ครั้งหนึ่ง ไม่ได้เห็นต่อหน้า แต่เห็นว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น และมีเจ้าหน้าที่จำนวนมากรีบวิ่งเข้าไปในที่เกิดเหตุจริง เมื่อเรื่องร้ายลักษณะนี้เกิดขึ้น ทางสถานีรถไฟจะประกาศให้คนในสถานีทราบว่า Jin-Shin-Ji-Ko จินชินจิโคะ หรืออุบัติเหตุทางรถไฟที่ทำให้คนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ถ้าคุณยืนอยู่ในสถานี หรือกำลังโดยสารอยู่ในสถานีรถไฟ แล้วอยู่ดีๆ รถไฟหยุดพร้อมมีเสียงประกาศจากนายสถานี จับใจความได้โดยมี 4 คำนี้ จิน-ชิน-จิ-โคะ เท่ากับว่าคุณอยู่ใกล้ๆ เหตุการณ์ครับ

เป็นที่ทราบกันครับว่าในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนคนที่คิดฆ่าตัวตายเยอะ ถ้าพูดถึงเคสคนบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากรถไฟ 15 สายหลักในมืองมีมากถึง 3,145 เคสใน 10 ปีที่ผ่านมา

แล้วในจำนวนนั้นมีเคสคนพยายามฆ่าตัวตายด้วยรถไฟถึง 1,985 เคสเลยทีเดียว หรือนับเป็น 63% ของทั้งหมด

ร้ายไปกว่านั้น วิธีการของการฆ่าตัวตายด้วยรถไฟส่วนใหญ่คือ “การกระโดดเข้าหารถไฟที่กำลังวิ่งอยู่ครับ”

แล้วสัดส่วนอายุที่กระทำการเช่นนี้มากที่สุดคือ “ชายหรือหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี”

โอ้ววว น้องเอ๋ย ชีวิตยังมีทางให้เดินต่ออีกมาก ทำไมถึงคิดสั้นขนาดนั้นล่ะ

แล้วเหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดบ่อย ราวๆ ช่วงเปิดเรียนใหม่ๆ หลังจากมีช่วงหยุดปิดเทอมเป็นเวลานานครับ

ทางด้านผู้ใหญ่ที่กระทำการเช่นนี้ ส่วนใหญ่คือเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ถูกใช้งานหนักจากบริษัทหน้าเลือด แล้วเกิดความเครียดสุมอยู่ในอก หาทางออกไม่ได้จนต้องจบชีวิตลงแบบนั้น

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทางประเทศญี่ปุ่นเองก็พยายามแก้ไขปัญหานี้ ทางสถานีรถไฟเองก็พยายามเลือกใช้ชานชาลาระบบปิด มีประตูเลื่อนปิดอัตโนมัติขณะรถไฟเทียบจอดชานชาลา แล้วค่อยเปิดประตูให้ผู้โดยสารเดินเข้าประตูรถไฟ (คือเราจะกระโดดไปที่รางตามอำเภอใจไม่ได้แล้ว ค้ายๆ รถไฟฟ้า MRT บ้านเรา)

ส่วนฝั่งบริษัทและองค์กรต่างๆ ก็พยายามหาโอกาสให้พนักงานได้หยุดหรือลางานได้มากขึ้น ไม่ต้องคอยเกรงอกเกรงใจสายตาคนรอบข้างที่จะหาว่าเราไม่มุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน

สุดท้ายนี้ต้องบอกว่า เราคนไทยโชคดีที่มีที่พึ่งทางจิตใจค่อนข้างมาก มีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ในขณะที่คนญี่ปุ่นจำนวนมากไม่ได้ยึดถืออะไรเหมือนคนไทยเรา นอกจากการพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก พอพวกเขามีปัญหาสภาพจิตใจขึ้นมา ไม่มีใครให้ปรึกษา จึงตัดสินใจลงเอยในลักษณะนั้น

เรื่องนี้อยากบอกอะไร?

ผมอยากจะสื่อสารให้ทุกคนรู้ว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็ตาม จะทำอะไรอยู่ ขอให้คุณค้นหา “คุณค่า” ของตัวคุณเอง

คุณค่าของตัวเราไม่ต้องยิ่งใหญ่นัก อาจเกิดจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อะไรก็ได้ที่ทำได้ทำเพื่อตัวเอง เพื่อครอบครัว เพื่อสังคมหรือเพื่อประเทศชาติครับ

ทุกชีวิตมีค่ามากเกินกว่าจะบรรยายด้วยตัวอักษร

หมายเหตุ : สาเหตุของการฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดเข้าหารถไฟของคนทำงาน (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขแรงงานและสวัสดิการของญ่ปุ่นในปี 2016)

อันดับ 1 ปัญหาโรคซึมเศร้า
อันดับ 2 ปัญหาโรคจิตเภท มีความผิดปกติของความคิด
อันดับ 3 ปัญหาความเจ็บป่วยทางร่างกาย
อันดับ 4 โรคทางจิตเวชอื่นๆ
อันดับ 5 ปัญหาความขัดสนในชีวิตประจำวัน
อันดับ 6 ปัญหาความสัมพันธ์คู่สามีภรรยาไม่ดี
อันดับ7 ปัญหาความสัมพันธ์กับคนที่ทำงาน
อันดับ 12 เหนื่อยจากงาน
อันดับ 26 ทำงานล้มเหลว
อันดับ 34 ปัญหาการเลี้ยงลูก
อันดับ 49 เป็นผู้เสียหายจากเหตุอาชญากรรม


ที่มา หนังสือ JAPAN DARK SIDE ถึงร้ายก็รัก โดย บูม-ภัทรพล เหลือบุญชู สนพ.มติชน

เล่าความจริงในสังคมญี่ปุ่น

คนญี่ปุ่นพร่ำบ่นกับงานไหม? มีสิครับ เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน มีพอใจและไม่พอใจกับสิ่งต่างๆ ได้เหมือนกัน

เราอาจจะเห็นภาพว่า คนญี่ปุ่นบ้างาน ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าทุกๆ เรื่องในชีวิต แต่มันมีหลายประเด็นเหมือนกันครับที่พนักงานบริษัทเองก็ “พร่ำบ่น” ต่อบริษัท และอยากให้เลิกกฎเกณฑ์หรือวัฒนธรรมต่างๆ

ผลการสำรวจจาก Goo Ranking ในเว็บไซต์ญี่ปุ่น มีการจัดอันดับวัฒนธรรมหรือกฎเกณฑ์บริษัทที่พนักงานไม่ชอบตามความอึดอัด หรือจะเรียกว่าซาลารี่แมนขอบ่นก็ได้

1.”โอฟรี” หรือ Service OT

พนักงานหลายคนทำงานเกินชั่วโมงที่มีการบัญญัติตามกฎหมาย ต้องทำงานนอกเวลา แถมเจ้านายยังบอกว่าให้ตอกบัตรตรงตามเวลาเข้า-ออก หรือเป็นการทำ “โอฟรี” ที่นายจ้างกำลังทำผิดกฎหมายนั่นเอง แบบนี้จะไม่ให้บ่นได้อย่างไร

2.ต้องเข้าประชุมรวมที่ไร้ความหมาย

หลายครั้งมีการประชุมรวมที่ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแม้แต่นิด บางบริษัท โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ใช้เวลาเป็นวันในการประชุม แต่ก็ยังไม่สามารถตัดสินใจหรือสร้างผลลัพธ์ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ฉะนั้น การประชุมที่ไร้ความหมายจะทำให้ความกระตือรือร้นในการทำงานของเราตกลงไป

3.ไม่สามารถกลับบ้านก่อนรุ่นพี่หรือเจ้านาย

บรรยากาศนี้ผมสัมผัสมากับตัวครับ มันจะมีรังสีอะไรบางอย่างในที่ทำงานที่เข้ามาย้ำเตือนเราว่า “รุ่นน้องหรือพนักงานที่ยังมีประสบการณ์ในบริษัทน้อยต้องขยันขันแข็งมากกว่า” บางทีเคลียร์งานเสร็จเรียบร้อยแล้วแต่เห็นเจ้านายยังทำงานอยู่ เราก็ต้องหาอะไรมาทำเพื่อฆ่าเวลารอให้เจ้านายกลับก่อน

4.ต้องท่องปรัชญาหรือวิสัยทัศน์ของบริษัท

ปรัชญา วิสัยทัศน์ หรือคำขวัญองค์กรที่บริษัทตั้งไว้เพื่อให้ดูดีในสายตาของคนรอบข้างนั้น มันจะดีมากถ้าพนักงานบริษัททุกคนเห็นด้วยและทำงานให้สอดคล้องต่อปรัชญาหรือวิสัยทัศน์ของบริษัท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าบรรยากาศที่แท้จริงของบริษัทนั้นมันสวนทางกับปรัชญาหรือวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ พนักงานหลายคนอาจจะรู้สึกอึดอัดใจที่จะต้องพูดหรือท่องคำเหล่านั้นก็ได้

5.ถูกเปลี่ยนสิ่งที่เคยกำหนดไว้แล้วอย่างกะทันหัน

เรื่องนี้ลูกน้องมักจะได้รับปัญหาจากการที่เจ้านายมาสั่งให้เปลี่ยนนู่นเปลี่ยนนี่กะทันหันทั้งๆ ที่คำสั่งก่อนหน้านี้คืออีกแบบหนึ่ง

6.ชอบใช้ผู้หญิงทำงานจับฉ่าย

เห็นได้ง่ายในออฟฟิศญี่ปุ่น ผู้หญิงที่ทำงานออฟฟิศส่วนใหญ่ (Office Lady) จะมีหน้าที่ชงชา เตรียมน้ำดื่ม หรือทำความสะอาดทั้งๆ ที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายการทำงาน

7.โดนบังคับให้ไปกินเลี้ยงสังสรรค์

หลายครั้งการทำงานทั้งวันก็เหนื่อยจะแย่ ยังต้องไปกินเลี้ยงสังสรรค์กับรุ่นพี่หลังเลิกงานทั้งๆ ที่ไม่ได้อยากไป แถมบางครั้ง รุ่นพี่ก็ไม่เลี้ยง (ตามธรรมเนียมรุ่นพี่มักจะเลี้ยงหรือจ่ายเงินมากกว่า) ทำให้เราต้องออกเงินสะสมของตัวเองอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมการทำงานในญี่ปุ่นที่ผมเองก็สัมผัสได้ว่ามันมีอยู่จริงๆ หลายข้อผมเจอมาแล้วกับตัวเอง แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทนะที่จะเจอเรื่องเหล่านี้

เชื่อว่าสิ่งที่จะช่วยลดความอึดอัดเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี คือ การสื่อสารสิ่งที่เราคิดออกไปอย่างสมเหตุสมผลและรู้กาลเทศะ ใช้วิธีการพูดที่ประนีประนอม ถนอมน้ำใจกัน เช่น วันไหนผมมีธุระจริงๆ ผมก็จะบอกเจ้านายไว้ล่วงหน้า พร้อมอธิบายเหตุผลและความจำเป็นของเราไว้ก่อนเสมอ ง่ายๆ แค่นี้เองถ้าเหตุผลมันฟังขึ้น ถ้าเขาเป็นเจ้านายที่เป็นผู้ใหญ่พอ เขาจะเข้าใจเรา

ถ้าเราทำได้ เราจะมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ไม่ต้องมานั่งอึดอัดอีกต่อไปแบบ 7 ข้อข้างต้น

อย่าลืมนะ สื่อสารไปเหอะว่าเราคิดอะไร บอกไปอย่างสมเหตุสมผลในจังหวะเวลาที่เหมาะสมครับ

ที่มา หนังสือ JAPAN DARK SIDE ถึงร้ายก็รัก โดย บูม-ภัทรพล เหลือบุญชู สนพ.มติชน

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มักมีนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ หนึ่งในนั้นคือ “เทคโนโลยีช้อปปิ้ง” อันใหม่ ที่ฝังมากับตะกร้าช้อปปิ้ง โดยตะกร้าช้อปปิ้งสุดล้ำนี้จะเป็นวิธีที่ลูกค้าสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง คือเมื่อตัดสินใจซื้อสินค้า ก็สแกนบาร์โค้ดเข้ากับตัวรับที่ติดอยู่ที่ตะกร้า เมื่อเลือกสินค้าครบแล้วก็นำมาชำระเงินผ่านเครื่อง ซึ่งจะนำของลงถุงโดยอัตโนมัติ และให้ลูกค้าชำระเงิน เป็นอันเสร็จเรียบร้อยไม่ต้องพึ่งพนักงานอีกต่อไป

ชมคลิป

New Shopping Technology in Japan 🇯🇵 Video by-朝日新聞

โพสต์โดย Japan Inside เมื่อ วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2017

เมนูดับร้อนแบบโบราณของบ้านเราอาจจะมีข้าวแช่ แต่ของญี่ปุ่นเป็นเส้นหมี่เย็นที่ไหลออกมาตามรางไม้ไผ่ หรือเรียกว่า “นางาชิ โซเมง” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ชาวเกียวโตและคาโกชิมะจะกินบะหมี่ชนิดนี้ในช่วงฤดูร้อน เพื่อช่วยคลายร้อนนั่นเอง

โซเมงนี้จะไหลมาพร้อมกับน้ำเย็นในรางไม้ไผ่ ซึ่งคนกินจะต้องใช้ตะเกียบคีบออกมา แล้วจิ้มในซอสเปรี้ยวนั่นเอง

ชมคลิป

https://www.facebook.com/redduckpost/videos/806305602896835/

ถ้าหากลองจินตนาการว่าคุณอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ภาพที่คุณเห็นในใจคืออะไร?

ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในห้องเล็กๆ ในเมืองใหญ่ การสัญจรในตอนเช้าโดยรถไฟใต้ดินที่บางครั้งก็อัดแน่นไปด้วยผู้คนจนแทบจะไม่มีที่ยืน การทำงานล่วงเวลาเลยเที่ยงคืนที่ดูเป็นเรื่องปกติ และอาจนึกถึงผู้คนที่สูบบุหรี่เพื่อคลายเครียด

ความจริงคือ ภาพที่คุณเห็นเหล่านี้ก็ไม่ผิดนัก ในการสำรวจที่ตีพิมพ์ในประกาศของกรมงานแรงงานและสวัสดิการโดยกระทรวงสาธารณสุขของประเทศญี่ปุ่นเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าผู้ชายวัยทำงานกว่าร้อยละ 40 “นอนไม่หลับ” เนื่องจากมีความเครียดจากที่ทำงาน และจำนวนผู้สูบบุหรี่ในญี่ปุ่นมีสูงกว่าประเทศอื่นมาก ซึ่งนับเป็นผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจำนวนกว่าหนึ่งในสามสูบบุหรี่

คงเป็นเรื่องยากที่จะมีผู้เชี่ยวชาญท่านใดบอกว่าความเครียดในระดับสูง การสูบบุหรี่จัด และนอนไม่เพียงพอนั้นเป็นพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพดี แต่กระนั้นก็ตาม ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) อายุขัยเฉลี่ยของคนญี่ปุ่นอยู่ที่ 83.7 ปี เท่ากับว่าคนญี่ปุ่นมีอายุขัยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก

แม้ว่าการจะอธิบายว่าสิ่งนี้คือความจริงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย สาเหตุหลักที่คนญี่ปุ่นมีอายุขัยที่ยืนยาวกว่าประเทศอื่นๆ นั้นเชื่อว่าเป็นเพราะ “พฤติกรรมการเดิน” ร่วมกับอาหารที่คนญี่ปุ่นเลือกรับประทาน ตามรายงานอีกฉบับขององค์การอนามัยโลกพบว่า เด็กนักเรียนในญี่ปุ่นร้อยละ 98 เดินหรือขี่จักรยานไปโรงเรียนทุกวัน นั่นหมายถึงเพียงแค่เดินทางไปโรงเรียน ก็เท่ากับว่าได้ออกกำลังกายเฉลี่ย 60 นาทีต่อวันแล้ว และเมื่อพิจารณาถึงอาหารและเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ คนญี่ปุ่นมีแนวโน้มรับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยกว่า รับประทานผักมากกว่า และรับประทานของหวานน้อยกว่า เมื่อคิดเป็นต่อวัน

อายุที่ยืนยาว ดีสำหรับผู้คน แต่เป็นสิ่งท้าทายสำหรับประเทศชาติ

ทุกคนต้องการมีชีวิตที่ยืนยาว แต่การทำให้ความต้องการนี้เกิดขึ้นจริงนั้น ถือเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงสำหรับประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ขณะที่ตัวเลขผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จำนวนประชากรโดยรวมนั้นกลับลดลง ทำให้มีการคาดหมายว่า ในปี พ.ศ. 2593 จำนวนร้อยละของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งนี่แสดงถึงความท้าทายที่ประเทศต้องเผชิญอย่างเห็นได้ชัด โดยรวมถึงการสูญเสียประสิทธิภาพในที่ทำงานเนื่องจากผู้คนจำนวนมากต้องการเกษียณอายุในท้ายที่สุด และทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุพุ่งพรวดขึ้น

นี่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นหันมามุ่งความสนใจและให้ความสำคัญกับการมีอายุยืนยาวที่สุขภาพดี แทนที่จะเป็นเพียงการมีชีวิตที่ยืนยาวเท่านั้น ตรรกะในเรื่องนี้สามารถเข้าใจได้ง่าย คือยิ่งผู้สูงอายุมีสุขภาพดีและช่วยเหลือตัวเองได้มาก จะทำให้สังคมเราดีขึ้นด้วย

ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพในคนสูงวัย

แม้ว่าผู้สูงอายุไม่มีโรคภัยอื่นๆ แต่มีหนึ่งปัญหาใหญ่ด้านกายภาพที่ผู้สูงอายุต้องเผชิญเรียกว่า “ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง” ซึ่งเป็นการสูญเสียมวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นเมื่อสูงวัยขึ้น ภาวะกล้ามเนื้อพร่องสามารถนำไปสู่การเสื่อมสภาพของสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนที่ และเพิ่มความเสี่ยงจากการหกล้มและเกิดกระดูกแตกหักในร่างกาย โดยรวมแล้ว คนญี่ปุ่นรับประทานโปรตีนน้อยลงเรื่อยๆ ทุกปี และเมื่อเทียบกับคนวัยหนุ่มสาวแล้ว ผู้สูงอายุมีความสามารถสร้างกล้ามเนื้อใหม่ได้น้อยกว่า นี่ทำให้กรมแรงงานและสวัสดิการ กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้กำหนดเป้าหมายการบริโภคโปรตีนในประชากรทุกวัย

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาวะกล้ามเนื้อพร่องมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องในการเคลื่อนที่, ความเสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกแตก, ความบกพร่องในการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวัน, ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

โภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่ทำให้ผู้คนสุขภาพดี และกรดอะมิโนที่เป็นเหมือนอิฐบล็อกของโปรตีนก็เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับโภชนาการที่เพียงพอและสมดุล

หลายบริษัทจึงศึกษาและวิจัยเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยส่งเสริมการมีสุขภาพดีได้ เช่น บริษัท Ajinomoto ที่คิดค้นผลิตภัณฑ์รวมกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด (รวมถึงลิวซีนร้อยละ 40) ที่มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งการทดลองทางคลินิกแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเสริมนี้และออกกำลังกายที่ระดับปานกลาง (60 นาที สัปดาห์ละ 2 ครั้ง) มีมวลกล้ามเนื้อขาสูงขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น และสามารถเดินได้เร็วขึ้นกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับประทานอาหารเสริมและไม่ได้ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญ

ถือเป็นภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชากรประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังเผชิญกับ “สังคมผู้สูงอายุ” นั่นเอง