บัตรเครดิตงัดแคมเปญ 0% ปลุกยอดใช้จ่ายช่วงครึ่งปีหลัง “แบงก์-น็อนแบงก์”เจาะหมวดการใช้จ่ายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จับมือพันธมิตร “โรงพยาบาล-สถานเสริมความงาม-ค่ายรถยนต์-อุปกรณ์ไฟฟ้า-สมาร์ทโฟน” จัดโปรฯผ่อนยาว 10-24 เดือน “กสิกรฯ” เล็งปรับโปรแกรมผ่อน 0% นานสุดเป็น 12 เดือน จากเดิมให้แค่ 10 เดือน

นางพิทยา วรปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจบัตรเครดิต บมจ.บัตรกรุงไทย (เคทีซี) เปิดเผยว่า ช่วงนี้อาจจะเริ่มเห็นบัตรเครดิตมีการออกแคมเปญผ่อน 0% กันมากขึ้นหลังจากรัฐคลายล็อกดาวน์ โดยเฉพาะหมวดการใช้จ่ายที่มีวงเงินค่อนข้างสูง เช่น หมวดโรงพยาบาล ความงาม และรถยนต์ ซึ่งจะเห็นแผนผ่อนชำระ 0% ตั้งแต่ 10 เดือนไปจนถึง 24 เดือน ขึ้นอยู่กับประเภทบัตร ทั้งนี้ ถือเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

“สำหรับบัตรเครดิตเคทีซี ปัจจุบันแผนผ่อนชำระมีราว 10% ของยอดใช้จ่ายผ่านบัตร (สเปนดิ้ง) รวมทั้งหมด โดยในจำนวนดังกล่าวประมาณ 90% เป็นโปรแกรม 0% ซึ่งตอนนี้เรามีความร่วมมือกับพันธมิตรรายหลาย โดยกลุ่มที่เข้าร่วมแผนผ่อนชำระ จะเป็นกลุ่มโรงพยาบาล สถาบันเสริมความงาม เพราะเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสูงในแต่ละครั้ง และเป็นกลุ่มที่มีมาร์จิ้นสูง ทำให้สามารถอุดหนุนดอกเบี้ยได้” นางพิทยากล่าว

นายนันทวัฒน์ โชติวิจิตร กรรมการบริหาร บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) กล่าวว่า การทำโปรแกรมผ่อนชำระ 0% ช่วงนี้ จะมีเป็นบางโปรดักต์ขึ้นกับสถาบันการเงินและเจ้าของสินค้าที่จะทำร่วมกันเพื่อดึงฐานลูกค้า เช่น ก่อนหน้านี้จะเห็นร้านทองออกแคมเปญผ่อน 0% นาน 3-10 เดือน เพื่อดึงลูกค้า แต่ปัจจุบันหมวดทองคำจะซบเซาลงไป เนื่องจากราคาทองคำสูงขึ้นมากทำให้ลูกค้าส่วนใหญ่ขายมากกว่าซื้อ นอกจากนี้ ก็มีกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จัดโปรแกรมผ่อน 0% นาน 24 เดือน ผ่อนดาวน์โครงการที่อยู่อาศัย ซึ่งมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในส่วนของอิออน มีแผนชำระผ่อน 0% สัดส่วนไม่ถึง 10% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด

นางสาวณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตภายใต้แบรนด์ “กรุงศรี เฟิร์สช้อยส์” กล่าวว่าสถาบันการเงินที่ออกมาแข่งกันจัดโปรโมชั่นผ่อน 0% แต่จะเน้นเป็นรายผลิตภัณฑ์และแคมเปญเฉพาะสถานที่ ไม่ได้ทำกระจายทั่วประเทศ ซึ่งหากเป็นบัตรเครดิต 0% จะให้นาน 10 เดือน ส่วนสินเชื่อกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคล จะมี 0% ตั้งแต่ 6-24 เดือน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและเจ้าของสินค้าแบรนด์ที่ต้องการกระตุ้นยอดขาย งบฯการตลาดและต้นทุนของแต่ละแบรนด์สินค้า

สำหรับแผนผ่อนชำระ 0% ของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ จะเน้นสินค้าตามฤดูกาล เช่น หน้าร้อน จะเป็นเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น โดยตอนนี้อยู่ระหว่างวางแคมเปญช่วงปลายปี ที่จะมีสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ออกมา แต่ระยะเวลาการผ่อนชำระอาจจะไม่ได้ยาวมากนัก ซึ่งช่วงที่มีการล็อกดาวน์ทำให้ธุรกรรมผ่อนชำระ 0% ที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าหายไป

“แคมเปญ 0% อาจจะไม่ได้หวือหวาหรือบูมเหมือนในอดีต แต่ก็เห็นผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด เพราะช่วงนี้ลูกค้าก็ระมัดระวังการใช้จ่าย แม้จะให้ผ่อนนานไม่มีดอกเบี้ย แต่ลูกค้ายังต้องการเก็บเงินสดสภาพคล่องไว้ก่อน หากสินค้านั้นยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ขณะเดียวกันเจ้าของสินค้าหากทำแคมเปญแล้วไม่ได้วอลุ่มตามที่ต้องการก็อาจจะไม่ทำ เพราะต้องมาอุดหนุนดอกเบี้ย” นางสาวณญาณีกล่าว

นางสาวพรพิมล ปฐมศักดิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างพัฒนาระบบเพื่อยืดระยะเวลาผ่อนชำระ 0% บัตรเครดิตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันผ่อนได้นานที่สุดเพียง 10 เดือน โดยอาจจะเพิ่มเป็น 12 เดือน ซึ่งน่าจะมีแคมเปญการขยายระยะเวลาออกมาให้เห็นในปี 2564

ขณะที่โปรฯ 0% น่าจะเห็นการแข่งขันรุนแรงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี เนื่องจากทุกค่ายพยายามให้สเปนดิ้งเติบโตขึ้น ซึ่งโปรแกรม 0% เป็นกลยุทธ์สำคัญ และลูกค้าส่วนใหญ่ยังต้องการโปรแกรมผ่อนชำระแบบนี้

 ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทย จัดทำแคมเปญ 0% ต่อเนื่อง โดยจะเน้นหมวดที่ลูกค้ามีความต้องการ มีแนวโน้มการเติบโตค่อนข้างสูง หลังโควิด-19 เช่น สุขภาพและโรงพยาบาล รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและสมาร์ทโฟน

“ปกติลูกค้าจะชอบ 0% อยู่แล้ว ซึ่งเราจะเห็นโปรแกรมออกมาต่อเนื่องจากนี้จนถึงสิ้นปี” นางสาวพรพิมลกล่าว

“บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล” หดตัว 3 เดือนต่อเนื่อง โควิด-19 พ่นพิษ “เศรษฐีหยุดช็อปปิ้ง” สาวโรงงานรายได้ลดถูกปิดบัญชี ยกเลิกใช้บัตร”กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ยอดรูดบัตรเครดิตไตรมาส 2 ติดลบ 50% ขณะที่แบงก์เร่ง “ตัดหนี้สูญ-ปรับโครงสร้างหนี้” รับมือสัญญาณผิดนัดชำระพุ่งสินเชื่อบุคคลหดตัว 3 เดือนติด

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ (ไม่รวมน็อนแบงก์) ของปีนี้ พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล (พีโลน) ลดลง 3 เดือนติดต่อ (ธ.ค. 62-ก.พ. 63) โดยเฉพาะเดือน ก.พ.ลดลงถึง 2 หมื่นล้านบาท จากยอด 3 เดือนปรับลดลงราว 2.12 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ ภาพรวมสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ ณ เดือน ก.พ. 2563 มียอดคงค้างอยู่ที่ 565,583 ล้านบาท จาก ธ.ค. 2562 อยู่ที่ 579,911 ล้านบาท เท่ากับปรับลดลงราว 14,328 ล้านบาท ซึ่งพบว่าเป็นผลจากยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ปรับลดลงค่อนข้างแรง จึงกระทบต่อภาพรวมทั้งระบบ

รูดปรื๊ดลดลง 4.3 หมื่นล้าน

ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิต 2 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 30,128 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดคงค้างทั้งระบบ ณ กุมภาพันธ์ 2563 อยู่ที่ 413,606 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ 457,090 ล้านบาท ปรับลดลงราว 43,484 ล้านบาท สำหรับตัวเลขของกลุ่มน็อนแบงก์พบว่า ยอดสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลไม่ได้ปรับลดลง แต่มีการปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 6,473 ล้านบาท

“สินเชื่อทั้ง 2 ตัวลงค่อนข้างหนัก ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจากการชำระหนี้คืน หรือการปิดบัตรเพื่อย้ายเข้าโครงการรีไฟแนนซ์ไปแบงก์รัฐที่มีโปรโมชั่นตามนโยบายของภาครัฐ โดยเฉพาะสินเชื่อคลีนโลนเห็นการลดลงฮวบ ๆ จากปีก่อน จึงเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม”

“ปิดบัญชี-ตัดหนี้สูญ” พุ่ง

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล กล่าวว่า สัญญาณการปรับลดลงของยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มาจาก 2 ส่วน คือ 1.ยอดการปิดบัญชี ซึ่งพบว่าในช่วง ม.ค.-ก.พ.มีการชำระคืนและปิดบัญชีค่อนข้างเยอะ และ 2.การตัดหนี้สูญของแบงก์ และเข้าโครงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งมีการแฮร์คัตปรับลดมูลหนี้จาก 100% เหลือ 50% จากเดิมที่จะต้องรอให้ลูกค้าอาการหนัก ค้างชำระเกิน 3 เดือนก่อน แต่ปัจจุบันบริษัททำเร็วขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ ธ.ค. 2562

“ตัวเลข 4 เดือนแรกของปีนี้ ของกรุงศรี คอนซูเมอร์ มีการปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นกว่า 25-30% จากปีก่อนเฉลี่ย 5,000-6,000 บัญชีต่อเดือน และคาดว่าตัวเลขการปรับโครงสร้างหนี้จะเพิ่มขึ้นอีก ต้องติดตามใกล้ชิดในไตรมาส 2”

เศรษฐีหยุดช็อป-ยอดบัตรร่วง

นายฐากรกล่าวว่า ภาพรวมยอดคงค้างสินเชื่อบัตรเครดิต/สินเชื่อบุคคล ยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องทั้งปี เนื่องจากไตรมาสที่ 2 สินเชื่อโตติดลบ แม้ว่าไตรมาสที่ 3-4 หวังว่ากำลังซื้อผู้บริโภคจะกลับมา ก็จะได้รับการอนุมัติน้อยลง เพราะคุณภาพและรายได้ของลูกหนี้ไม่เหมือนเดิม และเป็นไปได้ที่สถาบันการเงินจะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยปรับเงื่อนไขประเมินความเสี่ยง (เครดิตสกอริ่ง) และขยับรายได้ผู้กู้ขั้นต่ำผู้เพิ่มเป็น 3 หมื่นบาทต่อเดือน เป็นกลุ่มระดับบนมากขึ้

แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นตลาดที่มีขนาดเล็ก ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์ จากเดิมจะใช้ความเร็ว ราคา และดอกเบี้ย เป็นตัวดึงลูกค้า แต่ปัจจุบันอาจจะใช้ไม่ได้ อาจต้องปรับมาใช้เทคโนโลยีเข้ามาด้วย

“แนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงไตรมาส 2-3 จะยังไม่สามารถกลับมาขยายตัวได้ และคาดว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรในไตรมาส 2 จะปรับลดลงประมาณ 50% มูลค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 8.3 หมื่นล้านบาท และประเมินว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งปีจะอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท โตติดลบ -30% จากยอดปีก่อนอยู่ที่ 3.4 แสนล้านบาท”

สอดคล้องกับ นายสุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตปัจจุบันลดลงราว 14% เป็นผลจากยอดใช้จ่ายผ่านบัตรลดลง โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง หรือ wealth based ซึ่งมีวงเงินใช้จ่ายผ่านบัตรค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันกลุ่มนี้ชะลอการใช้จ่าย หยุดซื้อสินค้าอย่างชัดเจน ส่งผลให้ยอดสินเชื่อคงค้างลดลงค่อนข้างหนัก

ทั้งนี้ หมวดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ปรับลดลง เช่น ท่องเที่ยวต่างประเทศ ตั๋วเครื่องบิน ห้างสรรพสินค้า และสินค้าแบรนด์เนม เป็นต้น ขณะที่ยอดการปรับโครงสร้างหนี้สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรการของ ธปท.

ปิดโรงงานถูก “ยกเลิกบัตร”

ขณะที่นางสาวณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต “กรุงศรี เฟิร์สช้อยส์” เปิดเผยว่า จำนวนบัญชีสินเชื่อที่ลดลง ตามรายงานของ ธปท.มาจาก 2 ส่วนหลัก คือ

1.ลูกค้าเก่าที่มีสัญญาณผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เช่น โรงงานปิด ถูกลดเงินเดือน ทำให้ไม่มีกำลังในการชำระหนี้ และผิดนัดชำระหนี้เกิน 60 วัน กลุ่มนี้โดยธรรมชาติบัญชีจะถูกปิดไม่สามารถใช้บัตรได้

2.กลุ่มลูกค้าใหม่ ที่ได้รับการอนุมัติวงเงินสินเชื่อน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากธนาคารเข้มงวดมากขึ้น ประกอบกับสถานที่ให้บริการถูกปิดชั่วคราวจากมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้การเปิด “บัญชีใหม่” ไม่โต ส่งผลจำนวนบัญชีลดลงเมื่อเทียบช่วงปีก่อน อย่างไรก็ดี บริษัทพบว่าลูกหนี้มีสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจและผลกระทบจากโควิด-19 ที่ขยายวงกว้าง

ทั้งนี้ ธปท.รายงานว่า จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคล ณ เดือน ก.พ. 2563 ทั้งระบบอยู่ที่ 12.87 ล้านบัญชี ลดลง 6.43 แสนบัญชี จาก ธ.ค. 2562 ซึ่งมีจำนวน 13.52 ล้านบัญชี แบ่งเป็น ธนาคารพาณิชย์ 3.08 ล้านบัญชี ลดลง 3.64 แสนบัญชี และ nonbank 9.79 ล้านบัญชี ลดลง 2.79 แสนบัญชี

ขณะที่บัญชีบัตรเครดิต เดือน ก.พ. 2563 ทั้งระบบอยู่ที่ 23.84 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจาก ธ.ค. 2562 จำนวน 2.24 แสนใบ แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ 11.68 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 7.05 หมื่นใบ และ nonbank อยู่ที่ 12.15 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 1.53 แสนใบ

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ในยุคนี้คงไม่มีใครที่พกเงินสดกันแล้วใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะช็อปปิ้งในออนไลน์หรือซื้อตามหน้าร้านค้า การท่องเที่ยว การเดินทาง หรือแม้แต่จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ หลายคนก็เลือกชำระผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตกันทั้งนั้น แต่ถ้าเราใช้อย่างไม่มีสติก็อาจจะมีผลเสียตามมาได้ วันนี้เราจะบอก 10 วิธีสร้างวินัยในการใช้บัตรเครดิต ยิ่งใช้แบบถูกวิธียิ่งมีแต่ได้กับได้

1. เช็กจำนวนบัตรเครดิตที่มีอยู่
สิ่งแรกที่เราควรดูคือเช็กจำนวนบัตรเครดิต ว่าเรามีบัตรเครดิตอยู่ในมือกี่ใบเพราะเครดิตเหล่านั้นบ่งบอกว่าเราต้องแบกรับหนี้ไว้เท่าไหร่ด้วย เช่น ถ้าเรามีบัตรเครดิต 2 ใบ บัตรกดเงินสด 1 ใบ แต่ละบัตรมียอดอยู่ 2,000 – 3,000 บาท รวมๆกันแล้วเดือนนั้นมียอดจ่ายเกือบหมื่นเลยทีเดียว ดังนั้นอย่าลืมเช็กจำนวนบัตรและยอดที่มีในบัตรนั้นด้วย

2. เลือกใช้บัตรที่ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
เดี๋ยวนี้มีหลายธนาคารออกบัตรเครดิตที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีกับผู้ที่สนใจอยากมีบัตรเครดิตสักใบ เพราะไม่ต้องรักษาจำนวนการใช้จ่ายในบัตรเครดิตเพื่อนำมาแลกกับค่าธรรมเนียมรายปีเหมือนในยุคก่อนอีกต่อไป

3. ใช้บัตรตอนได้รับประโยชน์สูงสุด
เลือกใช้บัตรเครดิตให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเรา เช่น ถ้าเราเป็นสายกิน ลองโปรโมชั่นของบัตรว่าสามารถนำไปเป็นส่วนลดกับร้านอาหารที่ไหนได้บ้าง หรือ ถ้าเรากำลังจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็เลือกใช้บัตรที่มีสิทธิ์ ผ่อน 0% จำนวนเดือนที่เยอะที่สุด ถือเป็นการซื้อสินค้าที่ยังสามารถมีเงินสดไว้ในยามฉุกเฉินอีกด้วย

4. ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดที่มี
อีกหนึ่งสิ่งที่คุณเข้าใจผิดกับการมีบัตรเครดิต คือ เป็นบัตรที่เอาเงินในอนาคตมาใช้หรือใช้ในการผ่อนสินค้าเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วเราสามารถใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดในกระเป๋าได้ เช่น คุณกำลังจะเติมน้ำมัน 1000 บาท แทนที่จะเอาเงินสดจ่าย เราก็เลือกที่จะจ่ายด้วยบัตรเครดิตแทน แล้วค่อยเอาเงินสดที่เรามีโอนเข้าบัญชีไว้เพื่อรอชำระค่าบัตรเครดิตตามวันที่เรียกเก็บ แถมยังได้สิทธิพิเศษต่างๆที่เราจะได้จากบัตรอีกด้วย ดังนั้นเราควรคำนวณเงินในกระเป๋าก่อนว่าเราสามารถจ่ายชำระได้หรือไม่

5. ไม่เป็นนักผ่อนตัวยง
ความเพลิดเพลินของการมีบัตรเครดิตคือ การผ่อนสินค้าแบบ 0%บางอย่างเราเองอาจเลือกผ่อนยาวๆแบบ 10 เดือน แต่ยังผ่อนไม่หมดของชิ้นให้ก็ซื้อมาอีกแล้ว พอเอาเข้าจริง ๆ กลายเป็นว่าเรารวมค่าผ่อนสินค้าก็อาจเกินกำลังที่เรามีก็ได้ ดังนั้นเราควรเลือกผ่อนสินค้าที่จำเป็น และอดทนรอคอยโดยไม่ตกเป็นทาสของบัตรเครดิตกันนะคะ

6. ไม่ผูกบัตรเครดิตแบบตัดออนไลน์
ถึงแม้ว่าบัตรเครดิตจะช่วยให้เราใช้จ่ายอย่างสะดวกสบายเวลาไปร้านค้าแล้วอีกหนึ่งด้านคือเราสามารถผูกบัตรเครดิตไว้กับการช็อปปิ้งในออนไลน์ได้อีกด้วย ยิ่งถ้าใครเป็นสายช็อปออนไลน์แล้วละก็ แนะนำว่าไม่ควรผูกบัตรไว้กับออนไลน์เด็ดขาด ไม่งั้นคุณจะเผลอกดสั่งซื้อไปโดยไม่ยั้งคิดก็ได้

 

7. เก็บก่อนรูด
เป็นทริคเล็กๆน้อย ที่จะช่วยเราสร้างวินัยการใช้บัตรเครดิตได้ไม่น้อยทุกครั้งที่มีการรูดใช้บัตรเครดิตให้เราเก็บเงินสดไว้ส่วนนึงก่อน เพื่อเป็นตัวการันตีว่าเราจะมีเงินชำระเมื่อถึงวันครบกำหนดจ่าย

8. เช็กยอดการใช้ทุกครั้ง
การที่เราจะชำระค่าบัตรเครดิต เราควรตรวจยอดการใช้จ่ายอย่างละเอียดว่ายอดที่ทางธนาคารแจ้งมานั้นเป็นยอดที่เราใช้จ่ายตามจริงหรือไม่ แต่เดี๋ยวนี้เราไม่ต้องรอบิลของธนาคารส่งมาแล้ว เพราะเราสามารถเช็กยอดการรูดได้ทันทีผ่านแอพพลิเคชั่น

9. ไม่ชำระขั้นต่ำ

เพราะการชำระขั้นต่ำนั้น จะมีการเสียดอกเบี้ยทันทีและยิ่งถ้าเดือนถัดไปรูดใช้บัตรเครดิตเพิ่มทั้งๆที่ยังจ่ายยอดเก่าไม่ครบ ก็จะยิ่งทำให้มีภาระการจ่ายเพิ่มขึ้นอีกรวมไปถึงดอกเบี้ยที่สูงตามขึ้นด้วย ทางที่ดีแนะนำให้ชำระจำนวนเต็มของยอดที่ใช้จ่ายไป เพื่อไม่ให้เกิดการเสียดอกเบี้ยเกินความจำเป็น

10. จ่ายตรงจ่ายครบ
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะสร้างวินัยการใช้บัตรเครดิตคือการจ่ายตรงเวลา ครบตามยอดที่เราใช้จ่ายไปในระยะเวลาที่เขากำหนด เพียงเท่านี้เราก็อุ่นในเมื่อมีบัตรเครดิตไว้กับมือแถมยังสร้างเครดิตที่ดีให้เราอีกด้วย

เมื่อเราสร้างวินัยการใช้บัตรเครดิตจนเป็นนิสัยที่ดีแล้วบัตรเครดิตจะให้ประโยชน์และสิทธิพิเศษต่างๆอีกมากมาย มาดูกันว่าเมื่อคุณใช้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธีแล้วจะได้อะไรบ้าง

1. ได้เงินไปใช้ก่อน
ข้อดีของการมีบัตรเครดิตคือ เรามีวงเงินที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ก่อนโดยเราสามารถเก็บเงินสดไว้ในยามฉุกเฉินได้ โดยทั่วไปบัตรเครดิตจะเว้นระยะเวลาไว้ให้ช่วงหนึ่ง ซึ่งถ้าเราชำระเงินภายในช่วงเวลานั้นจะไม่เสียดอกเบี้ยใดๆ ซึ่งเรียกว่า “ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย

2. ได้ความสะดวกและปลอดภัย
ในปัจจุบันเพียงแค่พกบัตรเครดิตก็สามารถใช้รูดจ่ายแทนเงินได้เกือบทุกที่คุณไม่จำเป็นต้องพกเงินสดจำนวนมากหรือพกเหรียญให้หนักอีกต่อไป แถมยังไม่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมหรือทำเงินหาย แต่ถ้าคุณถูกขโมยบัตรเครดิต ก็สามารถโทรไปอายัดบัตรเครดิตได้ทันทีหรือระงับบัตรผ่านแอพได้

3. ได้รางวัลมากมาย
การใช้จ่ายบัตรเครดิตในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นช็อปปิ้งออนไลน์ การทานอาหาร เติมน้ำมันหรือการซื้อของในห้างสรรพสินค้า ผู้ใช้บัตรเครดิตจะได้ส่วนลดเงินคืน การให้คะแนนสะสมเพื่อนำไปแลกของรางวัล เช่น แลกไมล์หรือเครดิตเงินคืน

4. ได้วางแผนการใช้เงิน
คุณเองสามารถวางแผนการใช้จ่ายได้เพราะในสมัยนี้เราสามารถเช็กรายการใช้จ่ายของเราได้ผ่านแอพธนาคาร ทำให้เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายในเดือนนั้นของเราเป็นอย่างไรหรือหมดไปกับค่าอะไรบ้าง

5. ได้สร้างเครดิตให้ตัวเอง
เมื่อเราใช้บัตรเครดิตอย่างมีวินัย นอกจากที่เราไม่จะได้สิทธิพิเศษต่างๆจากธนาคารแล้ว เรายังได้รับคะแนนที่บ่งบอกว่าเราเป็นคนที่เครดิตทางการเงินดี ก็จะส่งผลต่อการที่เราจะขอสินเชื่อต่างๆในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือการศึกษาให้เรา เราก็จะมีโอกาสทางการเงินได้ง่ายมากขึ้น

เห็นไหมคะว่าการสร้างวินัยการใช้บัตรเครดิตที่ดีแล้ว นอกจากเราจะไม่ต้องกังวลกับการเป็นหนี้บัตรเครดิต เรายังได้สิทธิพิเศษมากมายนอกเหนือจากที่เราตั้งใจไว้อีกด้วย พอรู้อย่างนี้แล้วเราหันมาสร้างวินัยการใช้บัตรเครดิต อย่างถูกวิธีให้มีแต่ได้กับได้กันนะคะ

ที่มา : ข่าวสด

ทุกๆ สิ้นเดือนหลายคนเปิดกระเป๋าตังค์แล้วลมจะจับ นั่นเพราะว่าเราไม่เห็นแบงก์สีเทาสักใบ หรือมีเพียงแบงก์สีแดงกับแบงก์สีเขียวซึ่งมีอยู่น้อยนิด แต่เราต้องเก็บอาการแกลบเอาไว้ในใจไม่ให้ใครรู้ เดี๋ยวจะเสียฟอร์ม และนอกจากจะมีแบงก์อยู่ไม่กี่ใบแล้ว ส่วนหนึ่งจะเห็นบัตรแข็งต่างๆ ที่อยู่ในกระเป๋าของเรา ซึ่งแต่ละบัตรก็เป็นเสมือนตัวช่วยของเราได้เป็นอย่างดี และยังต้องมีหากจำเป็น

บัตรเดบิต : รูดง่ายได้ทั่วโลก ผ่านบัญชีเงินออมทรัพย์ของเรา

ส่วนใหญ่ “บัตรเดบิต” ใบนี้ทุกคนมักมีกันอยู่แล้วซึ่งเหมือนบัตรเอทีเอ็มเดิมๆ แต่นอกจากเราสามารถกดเงินสดในบัญชีออกมาใช้ได้แล้วยังรูดซื้อของผ่านบัตรใบนี้ได้โดยไม่มีดอกเบี้ย เพราะเป็นการรูดออกจากบัญชีเงินออมทรัพย์ของเรานั่นเอง แต่อย่ารูดเพลินจนลืมว่าไม่ใช่บัตรเครดิต เพราะเงินในบัญชีก็จะลดลงตามไปด้วย เดี๋ยวรู้ตัวอีกทีเงินในบัญชีหายเกลี้ยง

นอกจากนี้ บัตรเดบิตในประเทศไทยยังสามารถนำไปซื้อสินค้าหรือกดเงินสดในต่างประทเศได้ด้วย ซึ่งเป็นบัตรที่มีตราสัญลักษณ์อยู่มุมขวาล่าง นับว่าเป็นบัตรที่ยอมรับกันทั่วโลกอีกด้วย

เท่านั้นไม่พอ บัตรเดบิตของหลายสถาบันการเงินยังพ่วง “บัตรส่วนลด” รวมอยู่ด้วย พร้อมมีโปรโมชั่นการใช้จ่ายอีกมากมายให้เราเลือก อาทิ ธนาคารกสิกรไทย เน้นความน่ารักของบัตรด้วยลวดลายบนบัตรต่างๆ พร้อมกับโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆ ที่จัดเต็ม

-บัตรเดบิตพลัสของธนาคารไทยพาณิชย์ เราจะได้ทั้งบัตรเดบิตและความคุ้มครองจากอุบัติเหตุ และยังสามารถถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็มทั่วโลกที่มีเครื่องหมาย Cirrus และถอนได้เป็นจำนวน 200,000 บาท/วัน

-บัตรกรุงศรีเดบิตออมทรัพย์ ที่มาพร้อมกับคำว่า จ่ายบิลฟรี! กดเงินทุกตู้ทุกธนาคารฟรี! เป็นต้น

แต่โดยส่วนใหญ่บัตรเดบิตนี้จะเป็นบัญชีธนาคารที่ทางนายจ้างของเราเลือกทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น โอนเงินเดือนให้เรานั่นเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเปิดเพียง 1 บัญชี เราสามารถเปิดบัญชีออมทรัพย์และสมัครบัตรเดบิตได้อีกกับทุกธนาคาร แต่จะต้องมีเงินหมุนเวียนในบัญชี เพราะทุกบัตรก็มีค่าธรรมเนียมรายปีอยุ่เหมือนกันนะ และอย่างน้อยควรติดบัญชีไว้ 500 บาท

บัตรเครดิต : บัตรกดเงินอนาคต ง่ายตรงปลอดหนี้ ชีวีปลอดภัย

สำหรับสาวออฟฟิศอย่างเรา ส่วนใหญ่แล้วก็มี “บัตรเครดิต” ไว้ใช้จ่ายกันทั้งนั้น โดยกลไกของการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมี “ข้อดี” ก็คือไม่ต้องพกเงินสด สะดวกต่อการใช้จ่าย และในกรณีที่ต้องใช้จ่ายสิ่งนั้นๆ บ่อยๆ เช่น การเติมน้ำมันรถยนต์ ใช้จ่ายบัตรเครดิตไว้แลกบัตรส่วนลด เป็นต้น แต่ก็ต้องระวังรูดเพลิน เวลาบิลเก็บส่งตรงถึงบ้าน (หรือที่ทำงาน) ก็แทบหงายหลังเพราะเยอะเกินตัวนั่นเอง (อาทิ ใช้เต็มวงเงิน)

ทั้งนี้ ก่อนที่เราจะสมัครบัตรเครดิตกับสถาบันการเงินใด ขอแนะนำว่าควรดูที่ “โปรโมชั่น” ที่ตรงใจใช่เลยกับไลฟ์สไตล์ของเรา จุดนี้สำคัญที่สุด เพราะเงื่อนไขของแต่ละธนาคารที่เราเลือกนั้นย่อมต่างกันออกไป ไลฟ์สไตล์ของนเราก็ไม่เหมือนกัน

คนชอบท่องเที่ยว หรือโดยเฉพาะคนที่มักจะเดินทางด้วย “เครื่องบิน”ก็ควรจะมีบัตรเครดิตที่ให้โปรโมชั่นส่วนลดพิเศษสูงสุดถึง 5% สำหรับการซื้อตั๋วเครื่องบินและทัวร์ในประเทศ พร้อมได้รับการคุ้มครองอุบัติเหตุจากการเดินทาง

คนที่ชอบความบันเทิง กิน และช้อปปิ้ง ก็จะสามารถรูดบัตรได้เลย เพราะว่ามีโปรโมชั่นร้านค้า ร้านเสื้อผ้า ร้านอาหารต่างๆ รวมทั้งโรงแรม ที่พัก เพื่อเก็บสะสมบัสแลกของต่างๆ หรือใช้เป็นส่วนลดได้

คนที่เป็นหัวหน้าครอบครัวมือใหม่ ต้องดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบ้าน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมทั้งสินค้าขนาดใหญ่เข้าบ้าน มักต้องจัดการระบบการเงินด้วยการผ่อนชำระ ซึ่งบางธนาคารก็มีแบบอัตราดอกเบี้ยน้อย ผ่อนนาน หรือดอกเบี้ย 0% 10 เดือน หรือกระทั่งระบุสินค้าที่สามารถเข้าร่วมในการซื้อผ่านบัตรเครดิตเพื่อเป็นส่วนลดได้

เพราะฉะนั้น เวลาจะซื้อของ นอกจากจะดูความชอบส่วนตัว ดูคุณภาพของสินค้าแล้ว อย่าลืมดูว่ารูดบัตรเครดิตธนาคารอะไรแล้วคุ้มด้วยล่ะ ที่สำคัญอย่าลืมอ่านข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เป็นดอกจันเล็กๆ ย่อยๆ เยอะๆ ด้านล่างนั้นด้วย เพราะจุดสำคัญมันอยู่ตรงนั้น รวมทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีที่ต้องอ่านกันให้ขึ้นใจเลยทีเดียว

เทคนิคการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตให้ชีวีมีสุขนั้นก็คือ จ่ายให้ตรงกับระยะปลอดหนี้ ซึ่งแต่ละธนาคารก็จะมีเงื่อนไขแต่ละบัตรเครดิตไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะเรื่องของระยะปลอดอกเบี้ย หรือที่บางคนเรียกว่า “ระยะปลอดภัย” ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่ 45 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดบัตรและเงื่อนไขแต่ละธนาคารอีกเช่นกัน

ระยะปลอดภัยนี้คือ การที่เราต้องจ่ายให้ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ภายหลังรูดปรื๊ดๆๆ เราจะได้ไม่ต้องมานั่งกุมขมับกับดอกเบี้ยที่มีอัตรามากกว่า 10% ขึ้นไป (ตาโต!)

แนะนำเพิ่มเติมว่า หากกลัวลืมจ่าย หรือเกรงว่าจะหมุนเงินสดไม่ทัน ก็ให้สมัครบัตรเครดิตกับธนาคารที่เป็นบัญชีเงินเดือน ซึ่งสามารถกำหนดได้ว่าให้หักค่าบัตรเครดิตผ่านบัญชีเงินเดือนของเราได้เลย หรือเลือกสมัครบัตรเครดิตที่มีธนาคารอยู่ใกล้บ้าน แม้ไม่ได้หักโดยตรงจากบัญชีแต่ก็ยังสะดวกต่อการชำระอยู่ดี

นอกจากนี้ หากเราใช้จ่ายอย่างถูกต้องและถูกทาง มันจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยเรื่องของการจับจ่ายด้วยการหมุนเงินเบาๆ ให้ตัวเราเองได้อีกด้วย เช่น เมื่อเราอยากซื้อของที่มีราคาสูง หากมีบัตรเครดิต (บางธนาคาร) ก็จะได้รับส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์อีก ไปๆ มาๆ ซื้อผ่านบัตรเครดิตกลับถูกกว่าพกเงินสดเป็นตั้งๆ ไปซื้อเสียอีก ดีไม่ดีได้ของแถมอะไรติดไม้ติดมือกลับมาอีก

โดยเฉพาะเรื่องการผ่อนชำระ บางธนาคารก็มอบโปรโมชั่นดอกเบี้ย 0% นานกี่เดือนก็ว่าไป ซึ่งหากเราชำระตรงงวด และเต็มจำนวนโดยไม่ผ่อนยิบย่อย ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารจะให้ผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% ของยอดเงินรวมได้ เราก็จะสามารถอยู่กับบัตรเครดิตได้อย่างปกติสุข

แต่โปรดอย่าลืมว่าส่วนต่างที่ยังไม่ได้จ่ายของ 10% นี้ก็คือ การคำนวณเป็นดอกเบี้ยเหมือนกันนะ (แล้วเมื่อไหร่จะปลดหนี้สักทีล่ะงานนี้)

ท้ายสุดแล้ว การที่เราจะมีบัตรเครดิตสักใบก็จะเป็นประโยชน์หากเรารุ้จักใช้ รู้จักจ่าย ไม่หมกหนี้ ไม่เป็นหนี้ดอกเบี้ย สมัครไว้คนละ 1 ใบไม่ได้แปลว่าเราเป็นหนี้ แต่เราขอเรียกว่าคนมีเครดิตจะดีกว่าค่ะ เพราะหากจ่ายตรง จ่ายเต็ม ก็เป็นการหมุนเงินระบบใช้ก่อนจ่ายทีหลัง ทั้งยังมีเครดิตสำหรับการกูเงินซื้อบ้าน หรือเพื่อทำธุรกิจเล็กๆ ของเราด้วยนะ

แต่ขอแค่เบาๆ ก็พอนะคะ มิเช่นนั้นหากจัดเต็มวงเงินทุกบัตรทุกใบแล้วละก็…ขอบอกไว้เพียงแค่ว่า “ชีวิตพัง!” สถานเดียวค่ะ

บัตรกดเงินสด : ทันใจ ผ่อนจ่ายทีหลัง (จะดีจริงหรือ?)

บัตรกดเงินสด อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการหาตัวช่วยเรื่องต้องการใช้เงิน “ฉุกเฉิน” โดยไม่ต้องไปยืมเพื่อนให้เสียหน้า ไม่ต้องแบกหน้าไปยืมอาบังดอกเบี้ยมหาหิน โดยบัตรกดเงินสดนี้สามารถเบิกเงินสดออกมาจากเครื่องเอทีเอ็มทั่วประเทศได้เลย เป็นการใช้เงินแบบวงเงินสำรองระยะสั้น หรือที่เรียกว่า กู้เงินสดระยะสั้น ระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือน อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 28% ต่อปี

บางคนเมื่อเห็นอัตราดอกเบี้ยแบบนี้ก็แทบหงายหลัง อยากจะหันกลับไปซบอกอาบังจริงๆ เหตุที่ดอกเบี้ยสูงนั้นมีเหตุผลอยู่ว่า มันสามารถเบอกถอนได้แบไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่มีกำหนดในการผ่อนชำระคืนที่ชัดเจนนั่นเอง ซึ่งสถาบันการเงินที่เราทำบัตรจะคิดดอกเบี้ยจากยอดรวมที่เราเบิกเงินจนถึงวันที่ชำระค้างอย่างน้อย 3-5% ของยอดค้างชำระ

อีกอย่าง สามารถสมัครบัตรนี้ได้เลยแม้รายได้ไม่ถึง 15,000 บาทก็ตาม และวงเงินที่จะได้รับนั้นสูงสุดอยู่ที่ 3 เท่าของรายได้ ส่งผลให้มีคนจำนวนมากพกบัตรนี้อยู่ในกระเป๋ามากกว่าการพกบัตรเครดิตนั่นเอง

แต่อย่าลืมว่าหากเราคิดจะสมัครไปเสียทุกบัตร ก็ควรตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วนด้วย ว่าเราสามารถผ่อนจ่ายหนี้สินของเราได้มากน้อยแค่ไหน บัตรแบบไหนที่เหมาะกับเรา มาเป็นตัวช่วยในชีวิตของเราและไม่กลายเป็น “ภาระ” มากจนเกินไป

บัตรสมาชิก (สำหรับส่วนลดต่างๆ)

ด้วยความที่เราเป็นหนึ่งในสาวชอบช้อป และมีการใช้จ่ายในที่ซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง จึงเลือกทำบัตรสมาชิกต่างๆ เพื่อใช้เป็นส่วนลดราคาสินค้าได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถลดราคาสินค้าได้ประมาณ 3-15%

เช่น เราซื้อของ 300 บาท ใช้บัตรส่วนลด 3% ก็จะเหลือเท่ากับ 291 บาท แถมยังมีแต้มไว้เพื่อเป็นส่วนลดเพิ่มในการใช้จ่ายครั้งหน้าอีกด้วย และเพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน อาทิ บัตรสมาชิกร้านหนังสือ ร้านเครื่องสำอาง บัตรห้างสรรพสินค้า บัตรสมาชิกร้านกาแฟ เป็นต้น

ส่วนใหญ่ค่าสมัครก็คนละ 50 บาทขึ้นไป คิดเป็นปีต่อปี รวมทั้งยังได้สิทธิประโยชน์พิเศษจากทางร้านนั้นๆ เพิ่มเติม

นอกจากนี้ยังมีบัตรอื่นๆ อีก เติมเงินทางด่วน (Easy Pass) บัตรรายเดือนรถไฟฟ้า สำหรับคนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือเลือกใช้บริการจ่ายรายเดือนค่าโทรศัพท์และค่าอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้อยุ่ในกระเป๋าของเราหรอก แต่รวมไว้ในหใดนี้เพราะเป็นลักษณะเหมาจ่าย ซึ่งจะช่วยให้เราบริหารเงินในกระเป๋าของเราได้ดีขึ้น

เมื่อเรารุ้ว่ามีรายจ่ายที่ตายตัวเท่าไร โดยคิดจากการที่เราจ่ายแบบเหมาหรือรายเดือน เราก็จะสามารถจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายของเราได้ง่ายขึ้น และไม่งงกับเงินที่ใช้จ่ายในแต่ละวันด้วย


 

ที่มา หนังสือ Knock Down Money ออมเงินให้อยู่หมัด! โดย ศรัญญา โรจน์พิทักษ์ชีพ สนพ.มติชน

“กิจกรรมเพื่อลูกค้า” :  นายบัลลังก์ ว่องธวัชชัย (ซ้ายสุด) ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด ชวนสมาชิกบัตรฯ ทำเวิร์กชอป “สำรับอาหารว่างไทย กับบัตรเครดิตกรุงศรี” ณ ไอยราฮอลล์ พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน เพื่อขอบคุณลูกค้าคนพิเศษของบัตรเครดิตกรุงศรี โดยมีเชฟมากประสบการณ์เป็นผู้ถ่ายทอดสูตรอาหารว่าง ‘หมูสร่ง’ และ ‘ข้าวเกรียบปากหม้อ’ สมาชิกบัตรเครดิตกรุงศรี สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ รวมถึงโปรโมชั่นสุดพิเศษได้ที่ www.krungsricard.com

หากว่าเราเป็นคนที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตอยู่เป็นประจำ แล้ววันหนึ่งก็เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับเรา อันเป็นเหตุให้เราต้องออกจากงานโดยที่ไม่มีงานใหม่รองรับ เมื่อเป็นแบบนี้แล้วหลายคนมักจะมีคำถามว่า เรายังควรที่จะใช้บัตรเครดิตอยู่หรือไม่ ถ้าหากยังจะใช้อยู่ควรจะใช้อย่างไรดีให้ไม่เกิดผลเสียกับตัวเราเอง รวมถึงการใช้บัตรเครดิตจะทำให้สภาพการเงินของเราในช่วงตกงานนี้แย่ลงหรือไม่ หากใครกำลังสงสัยในส่วนนี้ วันนี้ MoneyGuru.co.th มีคำแนะนำในส่วนนี้มาฝากกัน เพื่อที่จะได้เป็นไอเดียให้กับหลายๆ คน ที่อาจจะตกอยู่สถานการณ์ที่เราว่านี้กัน

ควรใช้บัตรเครดิตอย่างไรในตอนที่เราตกงาน

เช็คหนี้บัตรเครดิตที่เรามีก่อนการใช้งานเสมอ

ถือเป็นสิ่งแรกๆ ที่เราควรทำ เพราะว่าหากเรายังใช้ต่อไปโดยที่ยังไม่มีรายได้เข้ามานั้นก็ไม่ต่างกับการที่เราสร้างหนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ นั่นเอง ซึ่งจะส่งเสียต่อเราอย่างแน่นอน เพราะหนี้ยิ่งมาก ดอกเบี้ยก็จะยิ่งมากตามไปด้วย และยิ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนบางครั้งก่อนที่เราจะได้งานใหม่เราก็อาจจะมีหนี้ก้อนใหญ่ไปเสียแล้วก็เป็นได้

• หากมีหนี้บัตรเครดิตอยู่จะทำอย่างไรดี

o ซึ่งหลังจากเราเช็กแล้วพบว่าเรามีหนี้บัตรเครดิต ก็แนะนำให้เราหยุดใช้บัตรเครดิตเสียก่อนจะเป็นการดีกว่า เพื่อที่จะไม่เป็นการเพิ่มหนี้ให้ตัวเองในช่วงที่ไม่มีรายรับนั่นเอง ให้เรามาสนใจที่จะใช้หนี้บัตรเครดิตในช่วงนี้อย่างไรก่อนจะเป็นการดีกว่า เพราะไม่ว่าเราจะมีงานหรือตกงาน เราก็ต้องใช้หนี้บัตรเครดิตที่เราก่อไว้ตามกำหนดที่ได้ตกลงไว้ โดยการจ่ายคืนนั้นอย่างน้อยที่สุดเราควรที่จะจ่ายขั้นต่ำ อย่าได้หยุดจ่าย เพราะจะส่งผลให้แย่ลงไปอีก หรืออาจจะโทรปรึกษาสถาบันการเงินเจ้าของบัตรเครดิต ว่าในสถานการณ์แบบนี้ ทางสถาบันการเงินจะพอช่วยอะไรเราได้บ้างหรือไม่?

• กรณีที่ไม่มีหนี้บัตรเครดิต

o หากเราเป็นผู้ใช้บัตรเคริตที่ไม่มีหนี้ ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เพราะยามที่เราตกงานแบบนี้เราก็จะไม่ต้องพะวงในส่วนของหนี้สินให้เหนื่อยหัวใจ เพียงแต่เราก่อนที่เราจะใช้บัตรเครดิตเราต้องมั่นใจว่าเรามีเงินสำรองเพียงพอที่จะจ่ายขำระคือในส่วนที่เราใช้ด้วยนะ เพราะกรณีตกงานแล้วใช้บัตรเครดิตนี้ อยากจะให้มุ่งไปที่ส่วนของการเพิ่มมูลค่าในการใช้จ่ายเท่านั้น จ่ายเงินเท่าเดิมแต่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น และอย่าลืมว่าเมื่อใช้แล้วถึงกำหนดจ่ายก็ให้เรารีบไปจัดการจ่ายคืนในส่วนที่ไช้ไปให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ไม่เป็นการก่อหนี้ให้ตัวเราต้องรับภาระและเหนื่อยหัวใจครับ

ใช้บัตรไม่เกินจากที่เราจ่ายชำระคืนไหวเท่านั้น

อย่างที่รู้กันว่าในช่วงที่เราไม่มีรายได้นี้ การจะใช้จ่ายแต่ละอย่างนั้น ควรจะผ่านการคิดและพิจารณาเป็นอย่างดีแล้วว่าเมื่อใช้จ่ายแล้วเราจะไม่มีสภาพการเงินที่แย่ลง การรูดใช้จ่ายบัตรเครดิตก็เช่นเดียวกัน หากเราต้องการจะใช้บัตรเครดิตในช่วงตกงานนี้ ก็ควรจะใช้จ่ายเท่าที่เรามีเงินสดจ่ายชำระคืนไหวเท่านั้น เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นหนี้นั่นเอง และการเป็นหนี้ในช่วงที่เราไม่มีรายได้นี้รับรองว่าลำบากอย่างแน่นอน

อย่าลืมสิทธิประโยชน์ต่างๆ

ถึงเราจะตกงานก็ใช่ว่าสิทธิพิเศษต่างๆ ของบัตรเครดิตจะหายไปด้วย ดังนั้นเราอย่าลืมเด็ดขาด หากเราจะใช้จ่ายอะไรด้วยบัตรเครดิตก็อย่าลืมเช็คสิทธิประโยชน์ให้ดีก่อน เพราะบางครั้งนั้นก็จะช่วยให้เราประหยัดเงินไปได้พอสมควรเลยทีเดียว

งดใช้บัตรเครดิต

หากเราตกงานแล้วเลือกที่จะงดการใช้งานบัตรเครดิต ก็ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะป้องกันการเป็นหนี้บัตรเครดิตได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ซึ่งหากเรานั้นมีวินัยการเงินไม่ค่อยดีก็อาจจะเลือกวิธีนี้ก่อน หลังจากเราได้งานใหม่แล้วจึงค่อยกลับมาใช้อีกครั้งก็ได้ครับ

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็อย่าลืมที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ นะครับ เพราะว่ารายได้ของเราได้หายไปนั่นเอง อย่าเผลอใช้จ่ายแบบตอนมีรายได้นะครับไม่อย่างนั้นความเดือดร้อนอาจจะถามหาเราก็เป็นได้ รวมถึงเราควรที่รีบหางานใหม่เพื่อที่จะได้มีรายได้เข้ามานั่นเอง

 

ที่มา : MoneyGuru.co.th

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) จัดให้!! ลูกค้าบัตรเครดิตธนชาต รับประทานอาหารญี่ปุ่นฝีมือเชฟกระทะเหล็ก-เชฟบุญธรรม ภาคโพธิ์ แชมป์อาหารญี่ปุ่นหลายสมัย ที่ร้านฮอนโมโน ซูชิ อร่อยกับวัตถุดิบนำเข้าแบบสดๆ ส่งตรงจากญี่ปุ่นตลอดสัปดาห์ได้ทุกสาขา พร้อมรับสิทธิพิเศษ 3 ต่อ เครดิตเงินคืนสูงสุด 20% ต่อที่ 1 รับส่วนลดเงินสด 15% ทันที เฉพาะค่าอาหารเมนูปกติ (A La Cart) ต่อที่ 2 รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 10% เมื่อรับประทานอาหารตั้งแต่ 800 บาทขึ้นไป และ ต่อที่ 3 รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 10% เมื่อใช้คะแนนสะสมเท่ากับยอดรับประทานอาหาร

ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พ.ค. 2561 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ หรือ ธนาคารธนชาต โทร.1770 และ http://www.thanachartbank.co.th

กรุงเทพฯ, 20 เมษายน 2561อธิศ รุจิรวัฒน์ (ซ้ายสุด) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด  ร่วมกับ ปิยวรรณ ลีละสมภพ  (ที่ 2 จากซ้าย) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการตลาด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด จัดแคมเปญ “เซ็นทรัล เดอะวัน เครดิตคาร์ด เดย์” ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2561  7 วันสุดเอ็กซ์คลูซีฟ! เฉพาะสมาชิกบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ทุกหน้าบัตรสู่การช้อปเหนือระดับ ลดและรับ รวมสูงสุด 55%* มอบสิทธิพิเศษ 5 ต่อ ลดและรับรวมสูงสุด 55%* เมื่อซื้อสินค้าและใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ตามเงื่อนไขกำหนด ที่เซ็นทรัลทุกสาขา และเซน โดยต่อที่ 1 ห้างฯ จัดรายการเคาน์เตอร์ปกติลดสูงสุด 30% เฉพาะสมาชิกบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวันเท่านั้น ต่อที่ 2 ลดเพิ่มสูงสุด 18% เมื่อแลกคะแนน The 1 Card เท่ายอดซื้อ ต่อที่ 3 รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 8%  (เพียงลงทะเบียนก่อนทำรายการเพื่อรับเครดิตเงินคืน พิมพ์ CT1 (วรรค) ตามด้วยหมายเลขบัตร 16 หลัก ส่ง SMS ไปที่ 081-278-2222)  ต่อที่ 4 รับคะแนน The 1 Card 4 เท่า  และต่อที่ 5 เมื่อช้อปสะสม 30,000 บาทต่อวัน รับบัตรชม Cirque Du Soleil 2 ที่นั่ง (จำกัด 150  ท่านแรกตลอดรายการ) รายละเอียดเพิ่มเติม www.centralthe1card.com

กรุงเทพฯ, 17 เมษายน 2561“รูดชิล รับชัวร์ กับบัตรเครดิตกรุงศรี” – บัตรเครดิตกรุงศรี จัดแคมเปญสุดพิเศษ “ช้อป เที่ยว กิน รูดชิล รับชัวร์ กับบัตรเครดิต กรุงศรี” เอาใจสมาชิกบัตรเครดิตกรุงศรีที่รักการช้อป เที่ยว กิน มอบเครดิตเงินคืน 500 บาทต่อเดือน ต่อบัญชีบัตรหลัก (รับสูงสุด 1,500 บาทตลอดรายการ) เมื่อมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรสะสมครบ 25,000 บาทต่อเดือน ตามเงื่อนไขที่กำหนด ในหมวดช้อปออนไลน์ ซูปเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต มือถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอที หมวดท่องเที่ยว โรงแรม บริษัททัวร์ และหมวดกินสำหรับร้านอาหารในโรงแรม ตั้งแต่ 1 มีนาคม ถึง 31 พฤษภาคม 2561 เพียงลงทะเบียนก่อนทำรายการเพื่อรับเครดิตเงินคืน พิมพ์ SPP (วรรค) ตามด้วยหมายเลขบัตร 16 หลัก ส่ง SMS ไปที่ 081-927-9999 รายละเอียดเพิ่มเติม www.krungsricard.com