Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์

กำแพงเพชร จุดเชื่อมต่อดินแดนสุโขทัย-อยุธยา-ล้านนา

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์

(คัดจากหนังสือ. กำแพงเพชร มรดกโลกทางวัฒนธระม. องค์การค้าของคุรุสภา. 2541.)

ชาวสุโขทัยกับเมืองกำแพงเพชร

บริเวณสองฝั่งแม่น้ำปิงในขอบเขตของที่ตั้งตัวจังหวัดกำแพงเพชรนั้น เป็นบริเวณที่ผู้คนรู้จักและคุ้นเคยกันมานานแต่ตึกดำบรรพ์ ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่ทางตอนเหนือต้นแม่น้ำปิงขึ้นไป หรือคนที่อยู่ใต้แม่น้ำปิงลงมาแถบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางหรือแม้แต่คนที่อยู่ในแคว้นสุโขทัยเองก็ตาม ก็เห็นความสำคัญของสถานที่นี้ในฐานะที่เหมือนเป็นปากประตูทางทิศตะวันตกของแคว้นไปสู่เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อไปยังทิศต่างๆได้

แต่ก่อนหน้านี้เมืองตากที่อยู่เหนือเมืองกำแพงเพชรขึ้นไปตามลำน้ำปิง ดูจะเป็นเมืองสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นปากประตูของแคว้นสุโขทัยในการติดต่อไปยังที่ต่างๆ ดังที่มีการเล่าไว้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 เรื่องพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขณะที่มีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ช่วยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้เป็นพระราชบิดา ในการออกศึกป้องกันเมืองตากไว้จากขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

แต่หลังจากสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว ประมาณเวลาตรงกับตอนปลายของพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองตากกลับตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นล้านนา เมื่อเป็นเช่นนี้แคว้นสุโขทัยจึงต้องหาปากประตูทางออกด้านทิศตะวันตกใหม่ที่เหมาะสมมาแทน

สองฝั่งแม่น้ำปิงบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันจึงเป็นบริเวณที่ได้รับการเลือกสรรเมื่อพระมหาธรรมราชาลิไทแห่งแควันสุโขทัยได้ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานขึ้นบนฟากตะวันตกของแม่น้ำปิงเมื่อ พ.ศ.1900 และทำศิลาจารึกบอกเล่าคู่กันไว้

ศิลาจารึกหลักนี้คือ ศิลาจารึกหลักที่ 3 เรียกสถานที่ที่ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานว่า “เมืองนครชุม”

แต่เดิมไม่ทราบกันว่า เมืองนครชุมอยู่ที่ใดกันแน่ เพราะศิลาจารึกหลักนี้ถูกเคลื่อนย้ายจากที่เดิมมาเก็บไว้ที่วัดแห่งหนึ่งบนฟากตะวันออกของแม่น้ำปิง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงทราบข้อความในศิลาจารึกที่กล่าวถึงการสร้างพระสถูปประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองนครชุม กับทำศิลาจารึกไว้กับพระธาตุนั้น จึงทรงพยายามสืบค้นจากการสอบถามผู้สูงอายุว่า ศิลาจารึกหลักนี้ถูกเคลื่อนย้ายมาจากที่ใดแน่

ในที่สุดก็ได้รับคำบอกเล่าว่า ศิลาจารึกหลักเดิมนี้ อยู่ที่วัดพระบรมธาตุทางฟากตะวันตกของแม่น้ำปิง แต่ขณะนั้นในวัดพระบรมธาตุมีเจดีย์ชนาดใหญ่ที่มีรูปแบบที่ถูกซ่อมแปลงเป็นเจดีย์พม่าแล้ว ไม่เหลือร่องรอยของศิลปกรรมที่ควรเป็นแบบสุโขทัยเลย รวมทั้งชื่อบ้านนครชุมก็ยังมิได้เป็นชื่อที่ใช้เรียกกัน แต่พระองค์ท่านก็ได้พบฐานของวัตถุสิ่งหนึ่งอยู่ในวัด เมื่อพระองค์ทรงวัดขนาดของร่องที่เจาะลงในฐานนำมาเปรียบเทียบกับขนาดความกว้างของเดือยของศิลาจารึก ได้ทรงพบว่ามีขนาดที่ใส่ลงบนร่องฐานได้พอดี จึงทรงเชื่อแน่ว่า ศิลาจารึกหลักนี้ถูกนำมาจากวัดพระบรมธาตุคนละฝั่งแม่น้ำกับบริเวณที่พบนั่นเอง ดังนั้นเมืองนครชุมที่กล่าวถึงในศิลาจารึกก็ต้องเป็นเมืองที่ศิลาจารึกหลักนี้เคยตั้งอยู่ตั้งแต่นั้นมาจึงเรียกบริเวณแถบนั้นว่า เมืองนครชุม

เจดีย์แบบพม่าในวัดพระบรมธาตุเดิมควรเป็นรูปแบบเจตีย์ทรงพุ่มข้าวบิณท์หรือทรงดอกบัวตูม อันเป็นศิลปกรรมของสุโขทัยที่พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุเมื่อ พ.ศ.1900 เพื่อเป็นประธานของเมืองตามคติการสร้างเมืองที่มีความสำคัญในระดับสูงในสมัยสุโขทัย ที่จะใช้สัญลักษณ์ทางศาสนามาเป็นแกนกลาง ดังนั้นจึงอาจที่จะกล่าวได้ว่าศูนย์กลางการปกครองอันเป็นของกรุงสุโขทัยที่แผ่ขยายลงมาถึงแม่น้ำปิงบริเวณนี้ อยู่ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำที่เรียกว่าเมืองนครชุมนั่นเอง โบราณสถานที่สร้างเป็นวัดขนาดเล็กอยู่นอกเมืองด้านทิศใต้ ที่เชื่อกันว่าเป็นเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม เป็นหลักฐานทางด้านศิลปวัฒนธรรมแบบสุโขทัย ควบคู่กับหลักฐานศิลาจารึกเมืองนครชุม ที่แสดงถึงอำนาจทางการปกครองของเมืองสุโขทัยที่เข้ามาสู่บริเวณนี้อย่างน้อยก็ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อทรงสร้างพระบรมธาตุ ณที่แห่งนี้เมื่อ พ.ศ.1900

2

กรุงศรีอยุธยากับเมืองกำแพงเพชร

อำนาจของกรุงสุโขทัยที่เข้ามาครอบคลุมบริเวณอันเป็นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันนั้น คงมีมาตลอดจนสิ้นรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาสิไท (ประมาณ พ.ศ.1913-1914) แต่หลังจากนั้นก็ตกอยู่ในอำนาจของบ้านเมืองขนาดใหญ่ในภาคกลางของประเทศไทยพร้อมๆกันไปกับเมืองสุโขทัย ที่ถูกแทรกซึมและครอบงำจากอิทธิพลภายนอกนี้เช่นเดียวกัน

หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมหาธรรมราชาลิไท เอกสารของล้านนา เช่น หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ และหนังสือนิทานพระพุทธสิงหิงค์ ได้ให้ภาพทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจว่า เจ้าเมีองกำแพงเพชรชื่อญาณดิศ หรือติปัญญาอำมาตย์นั้น น่าจะเป็นผู้มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตจากราชวงศ์ของสุโขทัยกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) กษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณบุรี ผู้ครองราชสมบัติอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น

แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ก็มีอยู่เพียงเท่าที่กล่าวข้างต้น จนกระทั่งถึง พ.ศ.1940 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์คือ สมเด็จพระรามราชาธิราชเสวยราชสมบัติอยู่ พระองค์เป็นผู้ที่อยู่ในสายราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ผู้สถาปนาพระนครศรีอยุธยา ขณะนั้นในเขตลุ่มแม่น้ำภาคกลางตามความที่บันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของจีนเหมือนกับว่ามิได้มีอำนาจที่รวมอยู่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่กรุงศรีอยุธยา เหมือนกับที่เคยเป็นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กับสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แต่หากว่าอำนาจนั้นแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ อยู่ที่กรุงศรีอยุธยาซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ในสายราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับอำนาจที่เมืองสุพรรณบุรีของผู้มีเชื้อสายของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 อีกส่วนหนึ่ง

และใน พ.ศ.1940 นี้เอง ที่ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของเมืองกำแพงเพชรขึ้นหนึ่ง คือศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร ซึ่งพบที่เมืองเก่าสุโขทัย ในตอนต้นของศิลาจารึกหลักนี้ปรากฎพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ผู้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.1940

แต่เนื่องจากความเก่าแก่ของศิลาจารึกหลักนี้ ทำให้ตัวอักษรลบเลือนไปบ้างโดยเฉพาะตรงพระนามของกษัตริย์ผู้เสวยราชย์ที่เมืองกำแพงเพชร ที่ปรากฏชัดเจนมีเพียงคำว่า “จักรพรรดิ” เท่านั้น แต่แม้กระนั้นก็เป็นที่เข้าใจกันว่า พระนามเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นพระนามของกษัตริย์สุโขทัย แต่ข้อความบางตอนในศิลาจารึกก็ได้แสดงว่ากษัตริย์พระองค์นี้มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์สุโขทัย ทำให้คิดกันได้ว่า พระนามนี้ควรเป็นพระนามของเจ้านายของสุพรรณบุรีที่มีเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัยด้วย เหมือนดังกับเจ้าเมืองกำแพงเพชรก่อนหน้านี้ที่มีเรื่องราวปรากฎในเอกสารของล้านนาดังได้กล่าวมาแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนี้ ศิลาจารึกหลักนี้จึงเป็นหลักฐานที่แสดงฐานะของเมืองกำแพงเพชรที่อยู่เหนือเมืองสุโขทัย กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรจึงได้นำศิลาจารึกที่เป็นกฎหมายมาประกาศไว้ที่เมืองสุโขทัย

ที่เมืองสุโขทัยได้พบศิลาจารึกอีกหลักหนึ่ง คือศิลาจารึกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยารามหรือวัดร้างที่เรียกชื่อกันในท้องถิ่นว่า “วัดตาเถรขึงหนัง” ศิลาจารึกหลักนี้เล่าเรื่องเมื่อ พ.ศ.1943 หรือ 3 ปี หลังจากศิลาจารึกหลักที่กล่าวข้างต้น ในตอนต้นของศิลาจารึกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยาราม เป็นการกล่าวสรรเสริญกษัตริย์ของกรุงสุโขทัยพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า “พระมหาธรรมราชา” และกล่าวว่า พระองศ์กับพระราชมารดาซึ่งเรียกว่า “พระศรีธรรมราชมารดา” มีจิตศรัทธาที่จะสร้างพระอารามแห่งนี้ จึงได้ทรงนิมนต์พระมหาเถระผู้ทรงคุณความรู้รูปหนึ่งจากเมืองกำแพงเพชร เพื่อมาอำนวยการสร้างพระอารามแห่งนี้ที่เมืองสุโขทัย

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ความรุ่งเรืองของเมืองสุโขทัยนั้นอยู่ที่การเป็นที่ตั้งของพุทธศาสนา สุโขทัยเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาแบบลังกา โดยเฉพาะในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท เป็นสมัยที่เมืองสุโขทัยมีความรุ่งเรืองทางด้านพุทธศาสนามาก พระองค์ได้ส่งพระสงฆ์ผู้มีความรู้ของเมืองสุโขทัยไปเผยแผ่ยังดินแดนอื่น เช่น ล้านนา อโยธยา และไปไกลถึงราชอาณาจักรล้านช้าง ดังนั้นเมืองสุโขทัยในสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไทนั้นจึงเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยแท้

แต่ครั้นถึง พ.ศ.1943 เพียงชั่วประมาณ 30 ปีให้หลังจากรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท แม้การสร้างวัดแห่งหนึ่งของกษัตริย์แห่งสุโขทัยก็กลับต้องไปนิมนต์พระสงฆ์ผู้มีความรู้จากเมืองกำแพงเพชร ดังนั้นสาระสำคัญของศิลาจารึกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยารามจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางทางพุทธศาสนา ที่ได้เคลื่อนย้ายออกจากเมืองสุโขทัยมาอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรแล้ว

ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร และศิลาจารีกวัดศรีพิจิตรกีรติกัลยาราม นอกจากจะเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของอำนาจทางการเมืองการปกครอง และศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่เคลื่อนย้ายจากเมืองสุโขทัยมายังเมืองกำแพงเพชรแล้ว ศิลาจารึกทั้งสองหลักยังเป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่เก่าที่สุด ที่จารึกชื่อ “เมืองกำแพงเพชร” อีกด้วย

6

ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประมาณอย่างน้อย พ.ศ.1940 ศูนย์กลางของบ้านเมืองได้ย้ายจากเมืองนครชุมทางฟากตะวันตกของแม่น้ำปิง มาอยู่ทางฟากตะวันออกในชื่อของเมืองกำแพงเพชร อันเป็นเมืองที่ศูนย์อำนาจของบ้านเมืองในที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางคือเมืองสุพรรณบุรี เข้ามาตั้งอยู่ในดินแดนที่เคยเป็นแว่นแคว้นสุโขทัยมาแต่เดิม

นอกจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรที่กล่าวถึงอำนาจของบ้านเมืองในภาคกลางที่เข้ามาสร้างเมืองกำแพงเพชรนั้นอาจพิจารณาได้อีกจากแนวคิดการเลือกทำเลที่ตั้งเมืองกำแพงเพซร ตั้งอยู่บนที่ราบที่ลาดเอียงออกไปลำแม่น้ำปิง ดังนั้นน้ำที่จะนำมาหล่อเลี้ยงคูเมืองตลอดจนพื้นที่เกษตรกรรมภายในฝั่งแม่น้ำ จึงต้องนำมาจากลำแม่น้ำปีง ลักษณะการชลประทานแบบนี้จึงมีความคล้ายคลึงกับบ้านเมืองที่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำในภาคกลาง ซึ่งมีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับเมืองนครชุม ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างด้วยแนวคิดตามแบบสุโขทัย ที่จะดลือกทำเลที่ตั้งเมืองบนพื้นที่เอียงลาดเข้าหาแม่น้ำ น้ำที่จะนำมาหล่อเลี้ยงตัวเมืองและพื้นที่เกษตรกรรมของเมืองจึงเป็นน้ำที่ไหลมาจากที่สูง (ก่อนลงสู่แม่น้ำ) โดยการชลประทานทดน้ำแบบเหมืองฝาย

โบราณสถานขนาดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชรที่เป็นเขตวัดอรัญญิก เช่น วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ และวัดช้างรอบ เป็นต้น แสดงลักษณะของความคิดที่ต่างไปจากของสุโขทัยที่พบอยู่บนฝั่งแม่น้ำตรงกันข้าม ณ เมืองนครชุมอย่างชัดเจน พระพุทธรูปปูนปั้นในวัดพระแก้วที่มีเค้าพระพักตร์คล้ายคลึงกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้น ที่เรียกกันว่าศิลปะแบบอู่ทองนั้น แสดงอย่างชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง นอกจากนี้แผนผังของวัดพระนอนที่แสดงแนวคิดเหมือนกันกับการวางแผนผังวัดอรัญญิกของลังกา ดังได้กล่าวแล้วแต่ต้น แสดงถึงความสำคัญของเมืองกำแพงเพชรในฐานะเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ โดยเป็นเมืองที่มีการติดต่อกับลังกาโดยตรงอีกด้วย มิได้ผ่านเมืองอื่นๆ เช่นสุโขทัยเหมือนแต่ก่อนหน้านี้

อาจกล่าวได้โดยสรุปว่า บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำปิงในเขตที่ตั้งตัวจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้ แต่เดิมเป็นดินแดนในเขตการปกครองของแคว้นสุโขทัย ในฐานะที่เป็นประตูทางออกที่สำคัญไปสู่ทะเลยังอ่าวเมาะตะมะ ต่อมาเมื่ออำนาจทางการเมืองจากบ้านเมืองในที่ราบลุ่มภาคกลางได้แผ่ขยายเข้าสู่ดินแดนของแคว้นสุโขทัย หลังจากที่พระมหาธรรมราชาลิไทสิ้นพระชนม์เมื่อประมาณ พ.ศ.1913-1914 แล้ว กรุงศรีอยุธยาจึงได้เข้ามาตั้งเมืองกำแพงเพชรขึ้นเป็นศูนย์อำนาจของตนเองแทนที่เมืองนครชุมอันเคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมของแคว้นสุโขทัยที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำตรงกันข้าม กษัตริย์อยุธยาที่มีอำนาจและมาสร้างสายสัมพันธ์ไว้กับราชวงศ์สุโขทัย และให้เชื้อสายมาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรนั้น เป็นกษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณบุรี

ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์ที่อยู่ในราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ขึ้นครองราชย์เมื่อประมาณ พ.ศ.1931-1952 เมืองสุพรรณบุรีได้ปลีกตัวออกจากอำนาจของกรุงศรีอยุธยา และในช่วงเวลานี้เองคือประมาณ พ.ศ.1940 ราชวงศ์ของสุพรรณบุรีได้ส่งเชื้อสายที่มีสายสัมพันธ์กับราชวงศ์สุโขทัยขึ้นมาปกครองเมืองกำแพงเพชร มีอำนาจเหนือเมืองสุโขทัยศูนย์กลางของแคว้นไว้

สายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์สุพรรณบุรีกับราชวงศ์สุโขทัยเป็นปัจจัยสำคัญของการมีอำนาจต่อรองกับกษัตริย์อยุธยา ราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามราชาธิราช) ด้วยเหตุนี้ เมื่อ พ.ศ.1952 สมเด็จพระรามราชาธิราชมีความขัดแย้งกับเหล่าขุนนาง ขุนนางเหล่านี้จึงได้ไปเชิญเสด็จสมเด็จพระนครินทราชาธิราชแห่งราชวงศ์สุพรรณบุรีขึ้นเสวยราชย์ โดยอัญเชิญสมเด็จพระรามราชาธิราชไปประทับที่ปทาคูจาม และบ้านเมืองที่อยู่ในดินแดนที่เคยเป็นแว่นแคว้นสุโขทัย โดยมีสายสัมพันธ์อยู่กับราชวงศ์สุพรรณบุรีมาก่อน จึงได้รับการผนวกเข้ากับราชอาณาจักรศรีอยุธยาอย่างถาวรมาตั้งแต่บัดนั้น

สำหรับเมืองกำแพงเพชรนั้นหลังจากที่สมเด็จพระนครินทราชาธิราชขึ้นเสวยราชสมบัติครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว เมืองกำแพงเพชรได้กลายเป็นหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาที่มีความสำคัญในด้านภูมิประเทศที่ตั้ง เพราะเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ สามารถคุมเส้นทางที่จะออกไปสู่อ่าวเมาะตะมะ ซึ่งจุดนี้มีความสำคัญที่จะบีบบังคับบ้านเมืองในแคว้นสุโขทัย มิให้มีความกระด้างกระเดื่องต่อกรุงศรีอยุธยา ในด้านเศรษฐกิจ สินค้าของป่าต่างๆ ที่หาได้ภายในดินแดนที่เคยเป็นแคว้นสุโขทัย หรือตามที่พระราชพงศาวดารของกรุงศรีอยุยาเรียกว่า “เมืองเหนือ” นั้น จะถูกบังคับให้ลงมาทางใต้สู่ศูนย์กลางที่กรุงศรีอยุธยาเพียงแห่งเดียว ไม่อาจที่จะส่งไปทางอื่นไส้ ดังนั้นโดยทางเศรษฐกิจการค้ากับดินแดนโพ้นทะเลออกไป บ้านเมืองในแคว้นสุโขทัยเดิมหรือเมืองเหนือนั้น จึงต้องพึ่งพิงอยู่กับกรุงศรีอยุธยาตลอดไป

ชาวล้านนากับเมืองกำแพงเพชร

ที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชร มีขอบเขตต่อแดนกับดินแดนของล้านนาตามเส้นทางแม่น้ำปิง ดังนั้นผู้คนของทั้งสองแคว้นจึงมีการติดต่อสัมพันธ์กันตลอดมาโดยเฉพาะด้านการค้า เนื่องจากบริเวณเมืองกำแพงเพชรเป็นจุดพักสับเปลี่ยนแบบแผนการคมนาคมระหว่างทางบกกับทางน้ำ ดังนั้นบริเวณแถบเมืองกำแพงเพชรจึงมีผู้คนจากล้านนามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ด้วย พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีกจารึกไว้ว่าในสมัยเจ้าสามพระยาผู้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนครินทราชาธิราชครองกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.1967-1991 นั้น เมืองกำแพงเพชรมีเจ้าเมืองชื่อพระยาแสนสอยดาว ซึ่งชื่อแสนสอยดาวนั้น เป็นชื่อของคนล้านนาอย่างไม่มีปัญหา โดยเฉพาะคำนำหน้าชื่อว่า “แสน” นั้น ก็เป็นตำแหน่งขุนนางของล้านนาด้วย ดังนั้นแสนสอยดาวจึงน่าจะเป็นขุนนางของล้านนามาก่อน เมื่อมารับราชการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่กับกรุงศรีอยุธยา ชื่อตำแหน่งขุนนางของล้านนาจึงติดตัวมาด้วย

การที่เมืองกำแพงเพชรมีอาณาเขตติดต่อกับล้านนาเช่นนี้ทำให้พบศิลปกรรมที่เป็นแบบของศิลปะล้านนาหรืออิทธิพลของศิลปะล้านนาที่เมืองกำแพงเพชรและบริเวณโดยรอบด้วย เช่น ฐานเจดีย์ย่อมุมขนาดใหญ่ในวัดพระธาตุ เมืองกำแพงเพชร พระพุทธรูปปูนปั้นเบบสิงห์ที่วัดสว่างอารมณ์ บนฟากตะวันตกของแม่น้ำปิงนอกเมืองนครชุมริมคลองสวนหมาก เป็นต้น

นอกจากจะเป็นจุดพบทางการค้าระหว่างดินแดนของแคว้นสองแคว้นแล้ว ยามใดที่แคว้นทั้งสองมีเรื่องขัดแยังกันจนถึงขั้นเกิดสงคราม เมืองกำแพงเพชรก็จะมีลักษณะเป็นเมืองหน้าด่านในการทำสงคราม ดังนั้นกำแพงเมืองกำแพงเพชรจึงได้รับการเสริมสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง การปรับปรุงกำแพงเมืองครั้งใหญ่ให้มีป้อมปราการสำหรับอาวุรปืนใหญ่สมัยโบราณ มีกล่าวไว้ในพงศาวดารฉบับวันวลิต ซึ่งเป็นพงศาวดารฉบับเก่าที่สุดในบรรดาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่า กำแพงเมืองของเมืองกำแพงเพชรได้รับการเสริมสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์อยุธยาองค์ถัดจากสมเด็จเจ้าสามพระยา เพราะในสมัยนี้เป็นสมัยที่เกิดสงครามชิงดินแดนเมืองเหนือหรือแคว้นสุโขทัยเดิมอย่างยาวนาน จะหว่างสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าติโลกราชแห่งแคว้นล้านนา

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญสำหรับสภาวการณ์ในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้า และจุดยุทธศาสตร์ในทางสงคราม ด้วยเหตุนี้เมื่อครั้งมีการสงครามกับพม่าคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 22 นั้น เมืองกำแพงเพชรจึงเป็นจุดที่พม่าจะเข้ายืดและใช้เป็นทางผ่านที่สำคัญทางหนึ่งสำหรับทำสงครามกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นนอกจากจะมีกำแพงเมืองที่มีป้อมปราการแน่นหนาแล้ว นอกเมืองออกไปทางฟากฝั่งที่ตั้งเมืองนครชุม จึงมีป้อมปืนที่เรียกว่า ป้อมทุ่งเศรษฐีด้วยอีกแห่งหนึ่ง

สรุป เมืองกำแพงเพชรมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ เพราะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างบ้านเมืองของแคว้นสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยา และขณะเดียวกันก็เป็นจุดติดต่อกับเขตแคว้นล้านนาทางแม่น้ำปิง

ด้วยเหตุนี้ หลักฐานทางโบราณดีที่พบที่เมีองกำแพงเพชรจึงแสดงลักษณะที่เกี่ยวช้องกับดินแดนทั้งสามแห่งอันเป็นส่วนสำคัญที่แสดงการคลี่คลายของประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

จุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองกำแพงเพชรนั้น อยู่ตรงที่การเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงจากการที่เป็นดินแดนส่วนหนึ่งที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองกับแคว้นสุโขทัย มาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา โดยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นฝ่ายจัดตั้งขึ้น ชื่อเมืองกำแพงเพชรจึงเป็นชื่อของเมืองที่ตั้งขึ้นโดยกรุงศรีอยุธยา เป็นอำนาจจากกรุงศรีอยุธยาที่นำเข้ามาตั้งไว้แทนที่อำนาจปกครองของสุโขทัยที่เมืองนครชุมบนฝั่งแม่น้ำตรงกันข้าม

ดังนั้นสาระสำคัญของประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชรทั้งในสถานะของเมือง และเจ้าผู้ครองเมือง จึงอยู่ที่การเป็นตัวเชื่อมโยงในจุดการเปลี่ยนแปลงตังกล่าวข้างต้น ส่วนทางด้านศิลปวัฒนธรรมนั้น หลักฐานทางโบบราณคดีที่เมืองทำแพงเพชร ได้สะท้อนให้เห็นการผสมผสานที่สำคัญระหว่างสุโขทัยกับอยุธยา อันเป็นตัวแทนในการรวมกันของแคว้นทางการเมืองของทั้งสองแคว้นอย่างกลมกลืน จนเกิดเป็นความโดดเด่นทางศิลปกรรมของเมืองกำแพงเพชร ที่ได้รับการยกย่องขึ้นเป็นมรดกโลก โดยคณะกรรมการมรดกโลกที่ตั้งขึ้นโดยยูเนสโก