Tour Story : เรื่องราวระหว่างทัวร์

กรุงเทพมหานครครบ 239 ปี สร้างตามแบบกรุงศรีอยุธยา ชัยภูมิ”นาคนาม”

กรุงเทพมหานครในอดีต

กรุงเทพมหานครครบ 239 ปี สร้างตามแบบกรุงศรีอยุธยา ชัยภูมิ"นาคนาม"

21 เมษายน 2564 หรือวันนี้เมื่อ 239 ปีมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้สถาปนากรุงเทพมหานคร เป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยาม มีนามพระราชทาน “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”  มีความหมาย “เมืองของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์” ปัจจุบันภาษาราชการเรียก กรุงเทพมหานคร และอย่างย่อว่า กรุงเทพฯ

แต่เมื่อแรกสถาปนาราชธานีนั้น ตรงสร้อย “อมรรัตนโกสินทร์” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระราชทานว่า “บวรรัตนโกสินทร์” จวบจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ และต่อมามักเรียกกันว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่ต่างชาติส่วนใหญ่เรียกเมืองนี้ว่า Bangkok อันมาจากอดีตของเมืองซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ที่ชาวต่างชาติเรียกกันว่า “บางกอก” แต่จะออกเสียงเป็น “แบงก์ค็อก” มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญในฐานะเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่างๆ ทั้งเป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีจากเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก

รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มมีการเล่นกอล์ฟกัน ณ ท้องสนามหลวง เป็นสนามชั่วคราว
รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มมีการเล่นกอล์ฟกัน ณ ท้องสนามหลวง เป็นสนามชั่วคราว
ปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
กรุงเทพมหานครในอดีต

ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” (ฝรั่งเทียบกับกรุงอัมสเตอร์ดัมของฮอลแลนด์ที่เป็นเมืองท่าสำคัญของยุโรป) มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

วัดอรุณราชวราราม คือ วัดมะกอก (ก่อนจะเป็นวัดมะกอกนอก และวัดแจ้ง ตามลำดับ)

สำหรับที่มาของคำว่า “บางกอก”  มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียก “บางเกาะ” หรือ “บางโคก” แล้วเพี้ยนเป็น บางกอก บ้างก็ว่าเนื่องเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียก “บางมะกอก”  ข้อสันนิษฐานนี้อ้างอิงมาจากชื่อเดิมของวัดอรุณราชวราราม คือ วัดมะกอก (ก่อนจะเป็นวัดมะกอกนอก และวัดแจ้ง ตามลำดับ) และต่อมาบางมะกอกกร่อนคำเหลือแค่ บางกอก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นราชธานีแห่งใหม่ เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม มีลักษณะเป็นหัวแหลม โอบด้วยลำน้ำถึงสามด้าน อีกทั้งนอกคูเมืองด้านตะวันออกยังเป็นทะเลตม หากขุดคลองเพิ่มขึ้นอีกก็จะป้องกันพระนครได้เป็นอย่างดี

จึงโปรดฯ ให้ย้ายราชธานีมาฝั่งตะวันออก ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ.1144  จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เวลา 6.54 น. โดยราชธานีแห่งใหม่นี้สืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่การสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีการขุดคู คลอง ขุดรากก่อกำแพงพระนคร และสร้างป้อมปราการ การวางตำแหน่งที่ตั้งของวังต่างๆ จัดเรียงรายให้มีชัยภูมิแบบ “นาคนาม” ต้องตามตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างเคร่งครัด พร้อมกับฟื้นฟูพระศาสนา รื้อฟื้นวรรณกรรม เพื่อเป็นการบำรุงขวัญแก่ราษฏรทั้งปวง  การสร้างกรุงเทพฯ ใช้เวลาถึง 3 ปี จึงแล้วเสร็จบริบูรณ์ มีกำแพงเมืองและป้อมปราการแข็งแรงมั่นคง

วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2514  รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2515 ได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต
กรุงเทพมหานครในอดีต