ทัวร์ เที่ยวพระอารามคณะราษฎร วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน กรุงเทพฯ วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565
วิทยากร : ศาสตรจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ
ราคา 1,000 บาท
โปรแกรมนำชม
วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2565
08.30 น. ลงทะเบียน ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (มีบริการ Snack Box)
09.00 – 12.00 น. ชม วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุ่งบางเขน พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 โดยแนวความคิดในการสร้างวัดเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2483 ภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เพื่อให้เป็นวัดที่รวมเอามหานิกายและธรรมยุตินิกายเข้าไว้ด้วยกัน และเป็นวัดอนุสรณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงมีชื่อเมื่อแรกสร้างว่า “วัดประชาธิปไตย” ต่อมารัฐบาลได้ส่งคณะทูตพิเศษเดินทางไปยังประเทศอินเดียเพื่อขอพระบรมสารีริกธาตุ ดินจากสังเวชนียสถาน และกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งทางรัฐบาลอินเดียได้มอบให้ตามคำขอ รัฐบาลจึงอัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดแห่งนี้ และตกลงที่จะเปลี่ยนชื่อของวัดใหม่เป็นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และใช้มาจนถึงปัจจุบัน เข้าชมจุดสำคัญต่างๆ ดังนี้
- พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ เจดีย์ประธานองค์นี้ได้แรงบันดาลใจมาจากเจดีย์ของวัดราชาธิวาส แต่มีจุดเด่นภายนอกคือไม่มีการประดับลวดลายซึ่งต่างจากเจดีย์แบบประเพณีนิยม ส่วนยอดไม่มีบัลลังก์และมีจำนวนบัวกลุ่ม 6 ชั้น ซึ่งสื่อถึงหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ภายในมีเจดีย์องค์เล็กที่บรรจุพระบรมสารีริธาตุซึ่งได้มาจากรัฐบาลอินเดีย อีกทั้งผนังด้านในของเจดีย์ยังเป็นที่บรรจุอัฐิของบุคคลในคณะราษฎรหรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น จอมพล ป. พิบูลสงคราม, ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม, พระยาพหลพลพยุหเสนา, นายปรีดี พนมยงค์ ฯลฯ
- พระอุโบสถ ของวัดแห่งนี้มีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรฯ ทั้งการวางผังและรูปแบบแต่หากมองถึงลายละเอียดจะพบกับความแตกต่างในแนวคิดทางสถาปัตยกรรม ชมหน้าบันไม้แกะสลักเป็นรูป พระอรุณเทพบุตร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงการถือกำเนิดของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งต่างจากหน้าบันแบบจารีตนิยมจะทำเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตราพระราชลัญจกรต่างๆ หรือเทพเทวดาชั้นสูงอื่นๆ พร้อมฟังเรื่องราวของ “พระพุทธสิหิงค์” พระพุทธปฏิมาสำคัญของคณะราษฎร ซึ่งเคยเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถแห่งนี้
- ระเบียงคด ชมพระพุทธรูปศิลปะไทยจากหลายยุคสมัย หลายองค์มีจารึกที่ฐานระบุชื่อผู้สร้าง ซึ่งมีทั้งพระยาพหลพลพยุหเสนา, จอมพล ป. พิบูลสงคราม หนึ่งในคณะผู้ก่อการและผู้มีบทบาทในการเมืองไทยในเวลาต่อมา เช่น พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชน์, พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ และจอมพลผิน ชุณหะวัน เป็นต้น
12.00 น. เสร็จสิ้นกิจกรรม
***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก***
สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ มติชนอคาเดมี