ทัวร์ ‘ทวารวดี’ ปะทะ ‘เขมร’ วัฒนธรรมไฮบริดต้นลุ่มน้ำชี จ.ชัยภูมิ-ขอนแก่น
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562
04.30 น. ลงทะเบียนพร้อมรับของที่ระลึกและรับประทานอาหารเช้าที่มติชนอคาเดมี
05.30 น. เดินทางไปยัง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ (วิ่งเส้นสระบุรี–ลพบุรี ผ่านเข้าชัยภูมิทาง อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี)
10.30 น. ถึง วัดกุดยาง ชมกู่แดง ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณ ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือเพียงฐานสี่เหลียมย่อมุมทำจากศิลาแลง รวมถึงผนังของเรือนธาตุที่ก่อด้วยอิฐและกรอบประตูทำด้วยหินทราย ชมทับหลังพระกฤษณะประลองกำลังกับช้างพร้อมฟังเรื่องราวการจุดเริ่มต้นการเข้ามาของวัฒนธรรมเขมรโบราณในบริเวณต้นลุ่มแม่น้ำชีและพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง
11.00 น. เดินทางเข้า อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
11.30 น. ถึง ปรางค์กู่ โบราณสถานเก่าแก่และมีสภาพสมบูรณ์ที่สุดกลางเมืองชัยภูมิ สันนิษฐานว่าเป็นอโรคยาศาลาหรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาลที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตามคติพุทธศาสนามหายาน ภายในมีภาพสลักตามคติทางพุทธศาสนามหายาน เช่น ภาพพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่หน้าบันด้านทิศตะวันออกของปรางค์ประธาน, ภาพพุทธประวัติตอนเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกมามหาภิเนษกรมณ์ที่หน้าบันด้านทิศตะวันตกของบรรณาลัย เป็นต้น
12.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่สวนอาหารตั้งฮั้งยุ้ย
13.30 น. เดินทางไปยัง ภูพระ
14.00 น. ถึง ภูพระ ตั้งอยู่ภายในวัดศิลาอาสน์ ชมภาพสลักของพระพุทธรูปที่ผนังหินทรายรวมทั้งหมด 9 องค์ โดยมีอยู่องค์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “พระเจ้าองค์ตื้อ” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ โดยมีการสันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 พร้อมฟังเรื่องราวการจุดเริ่มต้นการเข้ามาของวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณต้นลุ่มแม่น้ำชีและพื้นที่ภาคอีสานตอนกลาง
14.45 น. เดินทางไปยัง อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
15.45 น. ถึง วัดคอนสวรรค์ ชมใบเสมาหินทรายโบราณ โดยมีทั้งที่เป็นแบบเรียบๆ ไม่มีลวดลาย และแบบสลักลวดลายเป็นภาพลวดลายมงคลต่างๆ หรือสลักเป็นภาพเรื่องราวทางพุทธศาสนา เช่น ภาพจากชาดกต่างๆ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในภาคอีสานเท่านั้น จากนั้นชม “หลวงพ่อใหญ่” พระพุทธรูปปางประทับยืนศิลปะทวารวดีซึ่งได้รับอิทธิพลรูปแบบจากศิลปะเขมรโบราณ
17.00 น. รับประทานอาหารเย็น ที่สวนอาหารคูณเงิน
18.00 น. เดินทางสู่ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
20.00 น. เข้าพักที่ อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์**** หรือเทียบเท่า จากนั้นพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน 2562
07.00 น. รับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารของโรงแรม
08.00 น. เดินทางไปยัง วัดเจติยภูมิ
08.30 น. ถึง วัดเจติยภูมิ ชมและสักการะ “พระธาตุขามแก่น” เจดีย์ในศิลปะล้านช้างที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น ทั้งยังเป็น 1 ในปูชนียสถานสำคัญของผู้คนทั้งในภาคอีสานและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีตำนานการสร้างที่มีความสัมพันธ์กับอุรังคนิทานและพระธาตุพนม อีกทั้งชื่อของพระธาตุองค์นี้ยังเป็นที่มาของชื่อเมืองขอนแก่นที่เรารู้จักกันในปัจจุบันอีกด้วย
09.00 น. เดินทางไปยัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
09.30 น. เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองขอนแก่น ภายในรวบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุ รวมถึงศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตภาคอีสานตอนบน ทั้งยังเป็นแหล่งที่รวบรวมและจัดแสดงใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในภาคอีสานที่มากที่สุดในประเทศไทย พร้อมชมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี–เขมร เช่น ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอน พิมพาพิลาป, ใบเสมาหินทรายจำหลักภาพพุทธประวัติ ตอน ราหุลกุมารทูลขอราชสมบัติ, ประติมากรรมพระวัชรธรโพธิสัตว์ และเทวรูปพระยมทรงกระบือ ฯลฯ
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่ครัวโอมเพี้ยง
13.00 น. เดินทางไปยัง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
14.10 น. ถึง วัดมัชฌิมวิทยาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดบ้านลาน ชมสิมหรือพระอุโบสถที่มีฮูปแต้มหรือภาพจิตรกรรมภาพฝีมือช่างชาวบ้าน โดยเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดกโดยมีคำอธิบายเป็นอักษรไทยและตัวอักษรไทยน้อยกำกับอยู่
14.40 น. เดินทางไปยัง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
15.00 น. ถึง ปราสาทเปือยน้อย ศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาในเขตอีสานตอนบน ประกอบด้วยกลุ่มปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ชมทับหลังพระนารายณ์บรรทมสินธุ์, ทับหลังเทพประทับนั่งถือพระขรรค์, หน้าบันรูปอุมามเหศวร ฯลฯ จากนั้นฟังสรุปเรื่องราวทั้งหมดจากวิทยากร
16.00 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ
18.00 น. แวะรับประทานอาหารเย็น ที่สวนอาหาร อ.กุ้งเผา อ.พิมาย จ.นครราชสีมา
19.00 น. เดินทางต่อ
23.30 น. ถึง มติชนอคาเดมี โดยสวัสดิภาพพร้อมความประทับใจ
***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก***