ทัวร์ ทัศนา “วัด-วัง เมืองเพชร” ฟังเกร็ดเรื่องเล่า “สองแผ่นดิน”
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2561
06.00 น. ลงทะเบียน รับของที่ระลึก และรับประทานอาหารเช้าที่มติชนอคาเดมี
07.00 น. ออกเดินทางสู่ จ.เพชรบุรี
10.00 น. ถึง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี หมู่พระราชวังบนขุนเขาแห่งเมืองเพชรบุรี นั่งรถรางสู่ยอดเขาเพื่อเข้าชมหมู่พระที่นั่งที่สำคัญต่างๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ดังนี้
– พระตำหนักสันถาคาร พระตำหนักสำหรับเจ้านายฝ่ายใน และพระราชอาคันตุกะที่มาประทับบนพระนครคีรี ด้านหน้ามีมุขสำหรับทอดพระเนตรนาฏศิลป์ที่โรงมหรสพ
– พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ รัชกาลที่ 4 ทรงใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนาง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ เพื่อให้เป็นที่ประทับสำหรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ
– พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ พระที่นั่งสองชั้น ลักษณะคล้ายเก๋งจีน ชั้นบนเป็นห้องบรรทม ห้องโถง และห้องแต่งพระองค์ ของรัชกาลที่ 4
– พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นอาคารทรงปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์ 5 ยอด ภายในประดิษฐานพระบรมรูปหล่อสำริดรัชกาลที่ 4 ฉลองพระองค์แบบใหม่ที่มีพระราชดำริขึ้น ประทับยืนภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร
จากนั้นเดินเท้าไปยัง พระธาตุจอมเพชร พระเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นทับพระเจดีย์โบราณของวัดอินทรคีรีซึ่งชำรุดทรุดโทรม พร้อมชม วัดพระแก้วน้อย พุทธสถานประจำพระราชวังพระนครคีรี ด้านในประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ดังนี้ พระพิหารน้อยหรือพระวิหาร พระสุทธเสลเจดีย์ หอระฆัง และพระปรางค์แดง
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านอาหารพวงเพชร
13.00 น. เดินทางไปยัง วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร
13.20 น. เข้าชม วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร วัดสำคัญที่รัชกาลที่ 4 เคยเสด็จมาพักอยู่เมื่อครองเพศบรรพชิต และโปรดฯ ให้ทรงบูรณะซ่อมแซมเมื่อครั้งให้สร้างพระนครคีรี ชมจิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นด้วยเทคนิคการเขียนภาพแบบเพอร์สเปกทีฟอย่างตะวันตก ซึ่งแสดงมิติความใกล้ไกลของภาพ โดยเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น ภาพการไปนมัสการพระพุทธบาทที่สระบุรี ภาพการเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ รวมถึงภาพพระราชวังบนเขามไหศวรรย์ (เขาวัง) เพชรบุรี นอกจากนี้ยังแทรกเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นไว้อีกด้วย
14.00 น. เดินทางต่อ จากนั้นเปลี่ยนเป็นรถคันเล็กขึ้นสู่ ถ้ำเขาหลวง
14.30 น. ถึง ถ้ำเขาหลวง ตั้งอยู่บนเขาหลวง โดยสถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักผ่านวรรณคดีที่สำคัญ เช่น นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ และนิราศเขาหลวง ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยขุนวรการในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูป พระเจดีย์ และรอยพระพุทธบาทภายในถ้ำแห่งนี้ ชมพระพุทธรูปประจำแผ่นดินทั้งหมด 4 องค์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 1-3 และของส่วนพระองค์ พระพุทธรูปแต่ละองค์มีจารึกพระปรมาภิไธยที่ฐาน และที่ผ้าทิพย์ประดับตราพระบรมราชสัญลักษณ์ของแต่ละรัชกาล ทั้งนี้ใกล้กับพระพุทธรูปเหล่านี้มีระฆังโลหะที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นคู่หนึ่งสำหรับถ้ำเขาหลวงโดยเฉพาะ แต่ปัจจุบันพบหลักฐานเพียงใบเดียวเท่านั้น
15.30 น. เดินทางไปยัง อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
17.00 น. รับประทานอาหารเย็น ที่ร้านปลาทู เรสเตอรองท์
18.00 น. เดินทางไปยังที่พัก
18.30 น. ถึงที่พัก IBIS HUA HIN รับกุญแจห้องพัก จากนั้นให้ทุกท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย
วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561
07.30 น. รับประทานอาหารเช้า ณ ห้องอาหารของที่พัก
08.30 น. เดินทางไปยัง วัดห้วยมงคล
09.00 น. ถึง วัดห้วยมงคล เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทวดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก แต่เดิมใช้ชื่อว่า “วัดห้วยคต” ต่อมารัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานนามใหม่จากห้วยคต เป็นห้วยมงคล เนื่องจากครั้งที่เสด็จมายังวัดนี้ได้มีดำริให้สร้างถนนใหม่ จากถนนดินเป็นถนนลาดยาง โดยพระราชทานนามให้เช่นเดียวกับชื่อวัด โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร เททองหล่อองค์หลวงพ่อทวด เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2547 และพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดสร้างอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ ส.ก. ขึ้นประดิษฐานที่หน้าองค์รูปหล่อองค์หลวงพ่อทวดองค์นี้
09.30 น. เดินทางไปยัง เจดีย์ทุ่งเศรษฐี
10.10 น. ถึง เจดีย์ทุ่งเศรษฐี โบราณสถานสำคัญซึ่งตั้งอยู่ติดเขานางพันธุรัต ชมฐานของสถูปในวัฒนธรรมแบบทวาราวดีที่ยังหลงเหลือยู่พร้อมย้อนอดีตภูมิหลังของชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรในสมัยโบราณ
10.45 น. เดินทางไปยังเมืองเพชรบุรี
12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. เดินทางไปยัง พระรามราชนิเวศน์
13.10 น. ถึง พระรามราชนิเวศน์ หรือที่เรียกกันว่า พระราชวังบ้านปืน เป็นพระราชวังที่ประทับฤดูฝนของรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนี ผู้เคยออกแบบวังบางขุนพรหม วังวรดิศ และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ เป็นผู้ออกแบบ โดยพระที่นั่งได้ใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบบาโรค (Baroque) และแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) หรือที่ภาษาเยอรมันเรียกว่า ‘จุงเกนสติล’ (Jugendstil) ซึ่งจะเน้นที่ไม่มีลายปูนปั้นที่วิจิตรพิสดารเหมือนอาคารในยุคสมัยเดียวกัน
14.30 น. แวะซื้อของฝากของเมืองเพชรบุรี
15.00 น. เดินทางไปยัง วัดกุฎิ
15.30 น. ถึง วัดกุฎิบางเค็ม วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่มีโบสถ์ไม้สักแกะสลักทั้งหลังเป็นเรื่องทศชาติชาดก อีกทั้งยังมีเรื่องราวจากวรรณกรรมจีนชื่อดังอย่าง “ไซอิ๋ว” ซึ่งมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทยอีกด้วย
16.30 น. เดินทางกลับกรุงเทพฯ
20.00 น. ถึง มติชนอคาเดมี โดยสวัสดิภาพ
***กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า***